วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรก 2018 มีนาคม

จดหมายเหตุรายเดือน มีนาคม 2018

บทส่งท้าย “19th HA Forum”

คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงประทานไว้ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ.2525 ความว่า  “.....การจะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้น เสมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้ว...

ปีหน้าพบกันใน Theme

  ในยุค Thailand 4.0 ที่จะมีการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ การขับเคลื่อนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพเป็นอย่างมาก เราจึงต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างรู้เท่าทัน รวมทั้งต้องกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดนวัตกรรมของการจัดการ กระบวนงาน และสิ่งประดิษฐ์ และทำงานเชื่อมโยงประสานกันเป็นเครือข่ายเพื่อรองรับงานบริการสุขภาพที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคมได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ทำให้ต้องมีการพัฒนาระบบที่จะช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในลักษณะ long term care และ home care ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ต้องอาศัยนวัตกรรม และความร่วมมือของภาคีเครือข่าย เพื่อการบรรลุเป้าหมายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ดีขึ้น การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการทำงานในลักษณะเครือข่าย...

Quality End of Life Care/Hospice care

การบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้าย (Hospice care) เป็น “การให้การดูแลรักษาแบบประคับประคอง (Palliative care) แก่ผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่มีการจัดไว้อย่างเหมาะสมด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตทางสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัวครอบคลุมช่วงระยะท้ายของชีวิต (Terminal phase) รวมถึงในช่วงเวลาระยะแรกภายหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วย (Bereavement phase)” กรอบแนวคิดของการบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้ายในบริบทของระบบการดูแลสุขภาพของไทย   การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย สิ่งสำคัญคือการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยระยะท้าย ถึงแม้ว่าการพูดคุยจะเป็นวิธีการที่เป็นธรรมชาติ แต่บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่พร้อมที่จะพูด วิธีที่น่าสนใจในการนำมาใช้ค้นหาความต้องการดังกล่าว คือการ “คุยผ่านภาพ” ที่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระลึกถึงเรื่องราวในอดีตและบอกเล่าความต้องการที่แท้จริงได้ และทำให้ผู้ป่วยพร้อมเตรียมพร้อมที่จะจากไป ประเด็นสำคัญในการดูแลผู้ป่วย end of life ให้บรรลุเป้าหมาย...

Integrated AMR Management in Hospital

ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม (รามาฯ), ดร.พิริยาภรณ์ จงตระกูล (ศิริราชฯ), ภก.รศ.ดร.วิชัย สันติมาลีวรกุล (ม.ศิลปากร), พญ.เพชรดี โอฬารริกสุภัค (รพ.น่าน)   เวลาพูดถึงเชื้อดื้อยา ทุกคนก็จะนึกถึง Infectious control หรือไม่ก็ RDU แต่ในความเป็นจริงแล้วการจัดการเชื้อดื้อยาต้องอาศัยความร่วมมือในหลายๆ วิชาชีพ เพราะกระบวนการดื้อยาของเชื้อเกี่ยวข้องกับแพทย์ผู้สั่งใช้ สิ่งแวดล้อม และบุคลากรการแพทย์อื่นๆที่สัมผัสเชื้อ ดังนั้น ปัจจัยความสำเร็จในการป้องกันเชื้อดื้อยา...

Q care poll “19th HA Forum”

Designed by Katemangostar  

Gamification เกมวิทยา สู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

รัตติกร วุฒิกร (บ.คลับ ครีเอทีฟ จำกัด), จุฑาธิป อินทรเรืองศรี (สรพ.) เชื่อว่าทุกท่านที่ทำงานในระบบสุขภาพ เคยประสบปัญหา การพยายามจัดกิจกรรม สอน ให้ความรู้ เพื่อมุ่งหวังให้กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดีขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง แต่เมื่อจัดกิจกรรมเสร็จ การเปลี่ยนแปลงก็จบ วนซ้ำกลับสู่พฤติกรรมแบบเดิม  บทความนี้อาจเป็นทางออกในการออกแบบกิจกรรม ให้เข้มแข็งขึ้น ทรงพลังมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยโน้มน้าว กลุ่มเป้าหมายและเหนี่ยวรั้งให้เกิดทัศนคติใหม่ หรือพฤติกรรมใหม่ที่แข็งแรงมากขึ้น     Nike...เปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นนักวิ่งมืออาชีพ โดย...

DHB & DHSA ก้าวต่อไปเพื่อคุณภาพชีวิต

“พชอ. เป็นอีกก้าวหนึ่งของการแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความเข้มแข็ง ให้มาบูรณาการความร่วมมือกัน ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ของประชาชนในพื้นที่ และการสร้างความเข้าใจให้กับทุกคนเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความร่วมมือดังกล่าว” DHB คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เป็นกลไกใหม่ ที่ใช้คนทำงานเดิม ใช้ต้นทุนเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ แต่มีวิธีการจัดการแบบใหม่โดยใช้ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีในการดำเนินงานที่ทำให้เกิดความยั่งยืน พชอ. ไม่ได้เกิดจากความคิดของคนส่วนกลาง แต่คนคิด คือนักวิชาการจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ ที่คิดปฏิรูปประเทศ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง “เรื่องชีวิต ไม่ใช่เรื่องหยูกยา ไข้ หมอ แต่เป็นการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่”...

ระบบบริการสุขภาพยุคใหม่เชื่อมสังคมไทยเป็นหนึ่งเดียว

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล วิทยากรได้กล่าวถึง ทฤษฎี ตัวอย่าง และความคิดเห็นส่วนตัว ต่อระบบบริการสุขภาพที่ควรจะเป็นของไทย เริ่มจากทฤษฏีใน หนังสือ Medicine’s Dilemmas: Infinite Needs Versus Finite Resources โดย William Kissick กล่าวถึง Iron Triangle of Health...

ศาสตร์แห่งพระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล (มูลนิธิชัยพัฒนา) ศาสตร์แห่งพระราชาคือศาสตร์แห่งชีวิต มีความหมายอย่างไร ที่ผ่านมาคนทั่วไปอาจจะ “เห็นแต่ไม่เคยมอง” “ได้ยินแต่ไม่เคยฟัง” เราเคยลองย้อนถามตัวเองหรือไม่ ว่าการได้เห็นพระองค์ท่านแต่ละครั้ง พระองค์ท่านกำลังเสด็จไปไหน ไปทำอะไร การได้ยินพระองค์ท่าน ได้ฟังสิ่งพระองค์ท่านได้สอนหรือไม่  การได้ตามถวายงานกับพระองค์ท่านเหมือนกับการได้เรียนงานกับท่านในทุกๆ วัน  ผ่านการ มองทุกอย่างที่ท่านทำอย่างพินิจพิเคราะห์ จดทุกสิ่งที่ท่านทำ และสรุปทุกอย่างที่ท่านคิด คือ วางแผนการป้องกันในอนาคตจากสิ่งที่ทำในปัจจุบัน พระราชดำรัส “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”...

คุณค่า ศูนย์คุณภาพในมุมมองของผู้นำ

นพ. พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ (รพ.หาดใหญ่) พ.ท. ธนรัฐ ลำจวน (รพ.ค่ายขุนจืองธรรมิกราช) อำพัน วิมลวัฒนา (วชิรพยาบาล) ความคาดหวังของผู้บริหารต่อศูนย์พัฒนาคุณภาพในอุดมคติ มีความคิดเชิงบวก ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก (“Can do” attitude) มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตน และทีมงาน มีความเพียร เชื่อมั่นในความสำเร็จร่วมกันขององค์กรอย่างยั่งยืน เข้าใจ ความต้องการของผู้บริหาร และบุคลากร มีมุมมองร่วมกัน กับผู้บริหาร และบุคลากรในองค์กรที่ตรงกันและถูกต้อง ...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS