การจัดการสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อการเยียวยา (Healing Environment)

0
5227
การจัดการสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อการเยียวยา (Healing Environment)

การจัดการสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อการเยียวยา (Healing Environment)

Making healing As important As curing – ให้ความสำคัญกับการเยียวยามากเท่ากับการรักษา”
นพ.ธีระวัฒน์ ศรีนัครินทร์

 “ธรรมชาติ เป็นพลังพิเศษในการเยียวยา ให้ผลลัพธ์ที่ดีเสมอต่อร่างกายและจิตใจ”
คุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์

“ออกแบบ Healing ENV ไม่ใช่เรื่องยาก แค่ทำในสิ่งที่เราเป็น สิ่งที่เรามี สิ่งที่ธรรมดาและเรียบง่าย”
คุณชัชนิล ซัง

สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (Healing Environment) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการดูแลผู้ป่วยด้วยมิติจิตวิญญาณ (Spiritual care) และได้รับความสนใจเริ่มมีการพัฒนาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผนวกกับมีงานวิจัยจำนวนมากที่ช่วยยืนยันแนวคิดนี้ว่าสามารถช่วยลดจำนวนวันนอน ลดความทุกข์ทรมาน หรือ แม้กระทั้งการเพิ่มคุณภาพชีวิต (Quality of life) ที่ดีขึ้นของผู้ป่วยรวมถึงญาติ จนในปัจจุบันได้ถูกนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานทั้งของไทยและต่างประเทศ การจะพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (Healing Environment) นั้น ต้องรับรู้และนำความต้องการของผู้ป่วยและ ผู้รับผลงาน (รวมทั้งญาติและ staff) มาบูรณการร่วมกับองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรม เพื่อนำมาสู่การออกแบบที่ตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว session นี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ บทบาทของผู้นำ บทบาทของผู้ออกแบบ รวมทั้งการค้นหาความต้องการด้านมิติจิตวิญญาณ ที่จะนำมาสู่การออกแบบด้านกายภาพที่จะช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย สะดวกสบาย ปลอดภัยและมีบรรยากาศที่อบอุ่น โดยใช้องค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมมาช่วยทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมบรรยากาศดังกล่าว

นพ.ธีระวัฒน์ ศรีนัครินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลราชพฤกษ์ “ราชพฤกษ์” เป็นโรงพยาบาลในนิยามใหม่ “รมณียสถาน” เป็นตัวอย่างที่ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อการเยียวยา (Healing Environment) ที่ชัดเจน มองโรงพยาบาลว่าเกิดขึ้นมาเพื่อรักษาคนไข้ ไม่ได้เกิดมาเพื่อมุ่งหมายเงินเป็นเป้าหมายสูงสุด  มองโรงพยาบาลให้ลึกกว่านั้น มองคนไข้เป็นคนไข้ไม่ใช่ลูกค้า ไม่เบี่ยงเบนความเป็นแพทย์ เน้นการสร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างแพทย์กับคนไข้ นำไปสู่ความเชื่อใจ ไว้วางใจที่จะให้การรักษาดูแลคนไข้เป็นไปตามมาตรฐานและได้รับการรักษาที่ดี

เดิมเป็นโรงพยาบาลขนาด 50 เตียง จำเป็นต้องขยายบริการ เนื่องจากปริมาณคนไข้เพิ่มอย่างมาก บริการอย่างเต็มศักยภาพ แต่พื้นที่ไม่สามารถรองรับได้ จึงตัดสินใจสร้างโรงพยาบาลใหม่ โดยทีมที่ไม่เคยสร้างโรงพยาบาลเลย ถึงแม้จะเคยทำงานในโรงพยาบาลมาทั้งชีวิต ก็ยังไม่เคยเข้าใจหรือสัมผัสโรงพยาบาลอย่างแท้จริง ทุกคนในทีมจึงเกิดกระบวนการคิดนอกกรอบ สร้างฉันทะในการสร้างสิ่งที่ดี ความเป็นโรงพยาบาล ตามความมุ่งหมายของโรงพยาบาลอย่างแท้จริง ทำให้ทีมมี passion และจุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยกระบวนการทำ Research เรื่องต่าง ๆ เป็นปี จนสามารถออกแบบให้สามารถตอบโจทย์การใช้งาน (Function) และงบประมาณในการลงทุน (finance) อย่างสมดุล โรงพยาบาลจะต้องอยู่รอดได้ เก็บค่ารักษาพยาบาลที่อัตราที่เป็นไปได้ ไม่ได้มองผู้ป่วยเป็นลูกค้า จนได้คำตอบของการออกแบบให้โรงพยาบาลที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อการเยียวยาผู้ป่วย (Healing environment)

หัวใจของ Healing environment คือเรื่องของชีวิต “ชีวิตทุกคนอยู่มาถึงทุกวันนี้ได้ จริง ๆ มันเกิดจากความสามารถในการเยียวยาตนเองตลอดเวลา ทั้งร่างกายและจิตใจ” ในทางวิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์แล้วว่า ร่างกายเรามีการซ่อมแซมตัวเองอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีการตายของเซลล์ตลอด จึงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น Making Healing as Important as Curing” ควรให้ความสำคัญกับการเยียวยา (Healing) มากเท่าๆกับการรักษา บางครั้งเรามองไปที่การรักษามากเกินไป แต่จริง ๆ แล้วแม้แต่ Curing นั้นยังต้องอาศัย Healing ตลอดในคนที่ป่วย
องค์ประกอบ 4 ด้านของ Optimal healing environment framework มีความสำคัญมาก ดังนี้1) Internal  (Healing Intention, Personal wholeness) ความคิดคุณค่าในตนเอง ความเต็มเปี่ยมในคุณค่าของชีวิต 2) Interpersonal (Healing relationships & Healing organizations) เป็นหัวใจใหญ่สุดของการเยียวยา ความเป็นกัลยาณมิตรในองค์กร การสื่อสารที่เป็นปิยวาจา ความจริงใจใส่ใจดูแลกันในองค์กร ปฏิสัมพันธ์ของผู้ให้การเยียวยาระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ป่วย และระหว่างผู้ป่วยกับครอบครัว ครอบคลุมในเชิงวัฒนธรรมองค์กรด้วย 3) Behavioral (Healthy lifestyles & Integrative care) พฤติกรรมสุขภาพและกระบวนการดูแลสุขภาพ   4) External (Healing space & Ecological Resilience) การออกแบบโครงสร้างทางกายภาพและส่งเสริมกระบวนการฟื้นตัว ดังนั้น Healing Environment ไม่ใช่เพียงแต่มองโครงสร้างทางกายภาพเท่านั้น ต้องมองให้ลงลึกซึ้งมากกว่านั้น

คุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์ สถาปนิก บริษัทโพเมโล่ สตูดิโอ จำกัด
จุดเริ่มต้นที่สำคัญ คือ ผู้นำองค์กรมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน โดยการมองผู้ป่วยเป็นผู้ป่วย ไม่มองเป็นเพียงลูกค้า และจุดเด่นของทีมออกแบบ คือ การทำความเข้าใจความเป็นมนุษย์ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อม และสภาพบริบท หรือรากเหง้าของผู้คนได้ดี แต่ไม่มีประสบการณ์การออกแบบโรงพยาบาล ซึ่งเป็นจุดอ่อน และยังติดกรอบความเข้าใจต่อโรงพยาบาลที่มีในปัจจุบันในหลายด้าน จึงต้อง “เข้าใจตนเองและทลายกรอบ” โดยการ Research ข้อมูลและไปศึกษาดูงานโรงพยาบาลต้นแบบในประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน จากนั้นกลับมาดูโรงพยาบาลในประเทศไทย จากการศึกษาดูงานที่หลากหลายนั้นเป็นส่วนช่วยให้ทลายกรอบรูปแบบโรงพยาบาลดั้งเดิมที่อยู่ในหัวเราไปได้อย่างมากมาย

การออกแบบเพื่อให้เกิด Healing space นั้น ได้เน้นความเป็น “บ้าน” เป็น keyword สำคัญที่ฝังอยู่ในกระบวนการออกแบบมาตั้งแต่แรกและคงอยู่โดยตลอด เริ่มต้นจากการค้นหาแนวคิดด้วยคำถามง่าย ให้ทีมผู้ออกแบบและไม่ได้ออกแบบช่วยกัน Brain storm ว่า “โรงพยาบาลในฝันเป็นอย่างไร” กระตุ้นให้เกิดจินตนาการ แรงบันดาลใจที่จะนึกและคิดฝันต่อไป จนได้คำตอบที่ได้ชัดเจนตรงไปตรงมา คำตอบส่วนใหญ่เป็นเรื่องพื้นฐาน เช่น อยากให้โรงพยาบาลเป็นเหมือนบ้าน ไม่หลงทาง ไม่แออัด ไม่วุ่นวาย มีธรรมชาติ พื้นที่สีเขียว ภาพศิลปะ เป็นต้น แต่ไม่ค่อยทำให้เกิดขึ้นในโรงพยาบาล และคำตอบนำไปสู่เป้าหมายในการออกแบบโรงพยาบาล คือเป็นโรงพยาบาลที่ผู้รับบริการ แม้ว่า “กายป่วย แต่ใจต้องไม่ป่วย”

โดยมีเป้าหมายในการออกแบบโรงพยาบาล คือ 1. เป็นโรงพยาบาลที่สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา นอกจากศึกษาดูงานแล้วยังลงพื้นที่ศึกษาจังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนในพื้นที่
เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในมิติของชุมชน และสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะทำการออกแบบแล้วมาประยุกต์ใช้ Human scale ในการออกแบบทุกส่วน เลือกวัสดุ โทนสี ให้สะท้อนความเป็น “บ้าน” ออกมาเป็นอาคารสาธารณะขนาดใหญ่เพื่อให้บรรลุความเป็น “โรงพยาบ้าน” ให้ได้มากที่สุด เปลี่ยนโรงพยาบาลที่น่ากลัวเป็นบ้านที่ผู้คนคุ้นเคย เกิดความรู้สึกไม่แปลกแยก และให้เกิดความอบอุ่น เสมือนว่า อยู่ที่บ้าน “feel at home” เพื่อลดสภาวะตึงเครียด ลดความว้าวุ่นใจลง สร้างพื้นที่ธรรมชาติบำบัด มิตรภาพบำบัด การใช้สถาปัตยกรรมบำบัด และการมีพื้นที่จิตวิญญาณบำบัด  ไม่ว่าจะเป็นบ้านในสวนหรือสวนอยู่ในบ้าน ธรรมชาติให้ผลลัพธ์ที่ดีเสมอต่อร่างกายและจิตใจ ทั้งหมดเกิดจากค้นหาข้อมูลว่า อะไรมีผลต่อการฟื้นตัวหรือมีพลังเยียวยาสูง ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยเท่านั้น แต่ออกแบบสำหรับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์เราต้องดูแลทุกคน แล้วทุกคนก็กลับมาดูแลผู้ป่วยได้ดีในที่สุด

  • เวลาเข้ามาโรงพยาบาล สิ่งแรกที่ทุกคนจะได้เห็น คือ “พื้นที่สีเขียว” ทำให้ตื่นจากความเจ็บป่วย และค่อยเข้าไปบำบัดรักษาเยียวยาต่อไป
  • มีการเตรียมสภาพแวดล้อมที่เห็นพื้นที่สีเขียวที่มีปฏิสัมพันธ์ มีคุณภาพ และมีการระบายอากาศที่ดี
  • ชั้นของการพักรอผู้ป่วยผ่าตัด หรือผู้ป่วย ICU ก็มีพื้นที่สีเขียวธรรมชาติเช่นกัน เพื่อบรรเทาทุกข์ทางใจ
  • ตัวอย่างหลายการศึกษาพบว่า
  • การเข้าไปอยู่ในพื้นที่สีเขียว ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ หรือแม้กระทั้งการให้ดูภาพธรรมชาติอยู่ในห้อง ก็ช่วยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเพิ่มความสามารถในการคิดและรู้สึกมีความสุขมากขึ้น
  • ธรรมชาติส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราโดยรวม ทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยการสังเกตผลการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนที่ทำกิจกรรมข้างนอก นักวิทยาศาสตร์เริ่มมั่นใจมากขึ้นจากการค้นพบผลกระทบของธรรมชาติ เช่น ถ้ำ เราพักพื้นอยู่ในห้องที่ติดหน้าต่าง จะช่วยให้ผู้ป่วยพื้นฟูได้เร็วขึ้น
    1. เป็นโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานและบริหารจัดการ สร้างระบบสัญจรภายในให้ pattern ง่ายที่สุด เช่น ER เข้าถึงได้ง่าย ทำให้คนที่มาไม่หลงทาง เหมือนกันเราที่ไม่เคยหลงทางในบ้าน ทำให้เราไม่เครียด เดินเป็นวงจร จะรู้ว่าอยู่ตรงไหนของโรงพยาบาล จะแบ่งโซนผู้ป่วยหนักออกจากผู้ป่วยเบา เพื่อจำกัดความหดหู่ให้เห็นกันน้อยที่สุด
    1. เป็นโรงพยาบาลที่สอดคล้องกับบริบท บริบทของอาศรมศิลป์มีความสนใจในเรื่องนี้ สร้างความเชื่อมโยงกับบริบทจังหวัดขอนแก่น เช่น 1) ใช้ต้น “ราชพฤกษ์” มาปลูกในโรงพยาบาล ตามนิยามต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ อายุมั่นขวัญยืนสุขภาพที่ดี 2) “ลายต๋าแหลว” ที่เอามาปักบนหม้อต้มยา จะเป็นหม้อยาที่วิเศษ ไล่ความอัปมงคลออกไป นำลายมาขยายออกแบบผสมผสานในส่วนต่างๆ เช่น พื้นที่พักคอยบริเวณไตเทียมนั่งสบายมีลมถ่ายเทดี 3) การใช้บ้านจั่วพระอาทิตย์ ซึ่งมองเห็นได้จากที่ไกลๆ คนขอนแก่นก็ต้องคิดว่าที่นี่ คือ โรงพยาบาลของเขา คือบ้านของเขา 4) นำลายผ้ามาทำลายจุดจำลองบนทางม้าลาย 5) ทำอาคารให้รับลมและเจอแดดน้อย นำธรรมชาติ ต้นไม้และน้ำเข้ามา ทำแบบจำลองพลังงาน เกิดเป็นโรงพยาบาลประหยัดพลังงาน เป็นต้น

    ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น โรงพยาบาลนี้ไม่ได้เกิดจากเราคนเดียว เกิดจากการออกแบบและผู้เชี่ยวชาญหลายด้านร่วมช่วยกัน สิ่งสำคัญคือ สิ่งต่าง ๆ ที่เราตระหนัก มันก็จะเกิดขึ้นได้ หากเราไม่ตระหนัก มันจะไม่เกิดขึ้น”

    คุณชัชนิล ซัง สถาบันอาศรมศิลป์ ผู้ดูแลการออกแบบภูมิสถาปัตย์โรงพยาบาลต่างๆ
    โรงพยาบาลราชพฤกษ์ เป็นต้นแบบในการที่จะไปทําในโครงการอื่นๆ การทํางานก็คือ ต้องทํางานร่วมกันทั้งหมด เพราะว่าเราพูดถึง Healing Environment มันจะไม่ใช่แค่อาคาร อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ว่ามันหมายถึงสภาพแวดล้อมทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบรวม ซึ่งมีความสําคัญ มีตัวอย่างโรงพยาบาลราชพฤกษ์ และมีหัวข้อสําคัญที่เราเอามาใช้ในการ ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือ วิถีชีวิตของความเป็นอยู่ของเราทั่วๆ ไป สามารถไปปรับใช้ที่บ้าน บ้านก็ถือเป็น Healing Environment อันแรกที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้ร่างกายเรามีสุขภาพที่ดี


    ออกแบบ หัวใจของ Healing ENV นั้น ก่อนการออกแบบ สิ่งแรกคือจะมีความกลัว ข้อเสียอะไร เกิดคำถามก่อน >> การเข้าใจ healing ENV เป็นธรรมชาติที่เราเคยอยู่ เกิดขึ้นในชีวิตเรา เราอาจละเลยและหายไปจากตัวเราและสังคมโดยรอบ ทำในสภาวะแวดล้อมที่เราเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ใส่ใจในสิ่งที่อยู่รอบข้างเรา เราต้องเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมนั้นจะย้อนกลับมาหาเรา ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ ทำในสิ่งที่เราเป็น สิ่งที่เรามี สิ่งที่ธรรมดา ความเรียบง่าย

    เรื่องของ Healing Environment เป็นส่วนที่จะนำไปสู่ Well being คือความเป็นอยู่ที่ดี โลกทั้งโลกใบนี้ก็มองในเรื่องของ Well being หรือ Wellness ในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิด Wellness หรือ Well being

    ประเด็นของเรื่อง Healing Environment ที่สำคัญ คือทําอย่างไร ที่บอกมิตรภาพบําบัด Interpersonal Healing / Environment Relationship สําคัญมากที่จะเป็นตัว Healing ซึ่งกันและกันจริงๆ ตอนนี้ปัญหาก็คือว่า คนทํางานโรงพยาบาลมันเครียด Overload มาก  ทําให้บางครั้งเขาเรียกว่าเป็น Compassion fative มัน กรุณาปราณีจนมันล้าอะไรอย่างนี้ พวกเราที่ทํางาน ต้องพยายามเห็นอกเห็นใจกันให้กําลังใจกัน ทั้ง Staff และคนไข้ คือหัวใจของ Healing Environment แล้วก็จะนําไปสู่ Well being

    Space ที่เป็นส่วนภายนอกเป็นแค่องค์ประกอบ จะสวยไม่สวยสําคัญน้อยกว่า แล้วก็ที่สําคัญที่สุดก็คือทุกคนทราบว่า Space เป็นตัวที่ทําให้ Healing process ในร่างกายเรามี เพราะฉะนั้น Internal Healing Environment ของทุกๆ คน Individualy แต่ละคนจะต้องทํายังไงให้ตัวเองใช้ชีวิตทํางาน เป้าหมายของชีวิต เป้าหมายของงาน ชัดเคลียร์ แล้วก็ทําอย่างไรให้ตัวเองไม่เครียดในแต่ละวันให้ได้

     ประเด็นที่แลกเปลี่ยนในห้องประชุม

    Q: ทำอย่างไรให้ Healing Environment อยู่ได้นาน มีระบบการดูแลอย่างไร ให้เหมือนเดิมอย่างต่อเนื่อง

    A: การดูแลให้มันยังสามารถแสดงพลังของตัวมันเองในการเยียวยา ถือว่าเป็นเรื่องสําคัญ

    1) การดูแลสวน: ไม่ต้องดูแลมาก ระบบการออกแบบดีมาตั้งแต่ต้น และ คนสวนสําคัญมาก “เขารู้ว่าเขาทําสวน เพื่ออะไร เข้าใจ Purpose ของการดูแลส่วนต้นไม้ใบหญ้า ส่งผลไปสู่ใครบ้าง เขาไม่ได้ดูแลสวนเพื่อเงินเดือน เขารู้ว่างานเขามีคุณค่าต่อคนอื่น”

    2) เชิงอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม : ช่างประปามีความสำคัญต่อการดูแลงานระบบที่ดีในโรงพยาบาล เนื่องจากมันมีความสําคัญต่อความเป็นอยู่และชีวิตการดูแล ชีวิตคนไข้ด้วย อาจจะผิดพลาดและก็ทําให้การดูแลชีวิตร่างกายมีปัญหา คนทำงานเข้าใจคุณค่าของงาน แล้วก็ของตัวเขาเอง แล้วก็มีเป้าหมายในงานที่ชัดเจน

    Q: ประสบปัญหาเรื่องสัตว์หรือแมลงรบกวนไหมครับ

    A: เป็นโรงพยาบาลต้นแบบ Healing Environment ก็จะมีทั้งข้อดีและมีข้อด้อย

    ข้อด้อย คือ ช่วงแรกยุงเยอะ ส่วนใหญ่จะมาเป็นปัญหา ตอนกลางคืน มีวิธีการไปควบคุม จัดการมัน คือดูแลไม่ให้น้ำขัง ตามท่อระบายน้ำต่างๆ ภายในโรงพยาบาล ต้องมีการไหลเวียนของน้ำตลอด ก็ไม่ค่อยได้ฉีดไล่ยุงเท่าไร ปัญหาใหญ่ของห้อง Open space คือเรื่องของ PM 2.5 คือโรงพยาบาลออกแบบในเชิงของ Healing Environment Space ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องพลังงาน เรื่องของสารเคมีอะไรต่างๆ จะต้องไม่มี มีการควบคุมพลังงานให้ดีเป็นระบบไฮบริด

    ผู้ถอดบทเรียน นพ.ปืนไทย เทพมณฑา ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมทางการแพทย์                            สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here