การพัฒนาชุดอุปกรณ์และรูปแบบการสอน การฝึกผ่าตัดส่องกล้องจำลอง

0
4344

พิธีกร

 

 

การพัฒนาชุดอุปกรณ์และรูปแบบการสอนการฝึกผ่าตัดส่องกล้องจำลองของ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ การพัฒนาในครั้งนี้จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ และสิ่งที่ รพ.ได้รับจากการพัฒนาผลงานชิ้นนี้ คืออะไร มีการวัดผลและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างเราไปชมผลงานชิ้นนี้กันเลยครับ
พิธีกร สวัสดีครับ  เราจะพูดคุยในส่วนของการพัฒนาอุปกรณ์แล้วก็รูปแบบการพัฒนาการผ่าตัดในการส่องกล้องในรูปแบบต่างๆ ที่ รพ.รามาธิบดีคิดค้นผลงานชิ้นนี้ขึ้นมา ครับผมอยากทราบในส่วนของเป้าหมายและตัวชี้วัดของผลงานชิ้นนี้ครับ
 

นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส

 

 

สำหรับเป้าหมายและตัวชี้วัดที่สำคัญของการพัฒนาอุปกรณ์ชิ้นนี้คือ การที่แพทย์ประจำบ้านนะครับได้ฝึกการผ่าตัดส่องกล้องจำลองที่มีความเสมือนจริงนะครับ ทำให้เค้าเนี้ยสามารถได้รับการเรียนรู้แล้วก็ทักษะที่เป็นพื้นฐานในการผ่าตัดส่องกล้องจำลองนะครับ ซึ่งอาจจะพัฒนาให้เค้ามาเป็นแพทย์ผ่าตัดส่องกล้องจำลองที่ดีในอนาคตได้ครับ เพราะฉะนั้นตัวชี้วัดที่สำคัญของเราก็คือการที่แพทย์ประจำบ้านนะครับได้ผ่านการเรียนรู้นะครับ ทุกคนที่ได้ผ่านการเรียนของคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดีครับ แล้วก็มีการพัฒนาความพึงพอใจนะครับ แล้วก็พัฒนาเรื่องของทักษะต่างๆ ที่เค้าจำเป็นจะต้องได้รับจากการผ่าตัดส่องกล้องครับผม
พิธีกร ก่อนหน้านี้กระบวนการวิธีการ การเรียนการสอนเป็นอย่างไรบ้างครับ
 

นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส

 

การเรียนการสอนในจุดนี้นะครับ ส่วนใหญ่แพทย์ประจำบ้านนะครับมีโอกาสน้อยมากที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริงในการผ่าตัดส่องกล้องนะครับ เพราะว่ามีความซับซ้อน แล้วก็อุปกรณ์ต่างๆ มีราคาแพงครับผม เพราะฉะนั่นการพัฒนาตรงจุดเนี้ยทำให้แพทย์ประจำบ้าน สามารถจะเข้าถึงและได้เรียนรู้การผ่าตัดส่องกล้องนะครับ ผ่านการผ่าตัดส่องกล้องจำลองนะครับที่ทำเสมือนจริง ทั้งรูปแบบและก็อุปกรณ์นะครับ โดยที่เราพัฒนาอุปกรณ์มาเนี้ย จากอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีราคาย่อมเยานะครับ แล้วก็สามารถที่จะหาโดยง่ายนะครับ
พิธีกร เป็นการผลิตเองใช่มั้ยครับ ภายในประเทศ
 

นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส

 

ก็จริงๆ อุปกรณ์ต่างๆ เราเนี้ยก็สืบหาแล้วก็ราคาที่สามารถจับต้องได้ ราคาจากต่างประเทศก็จะมีราคาสูงนะครับ แล้วก็ต้องมีค่าที่ต้องบำรุงรักษาอีก แต่ถ้าเกิดเราจะพัฒนาใช้อย่างยั่งยืนและสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญเราก็จะต้องผลิตขึ้นมาเองครับ
พิธีกร ที่เราดำเนินการมาเราได้มีการเรียนการสอน การทดลองไปแล้วเป็นอย่างไงบ้างครับอาจารย์ครับ
 

นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส

 

ก็แพทย์ประจำบ้านส่วนใหญ่ก็มีการตอบรับที่ดีว่ามีความพึงพอใจ แล้วก็รู้สึกว่าเข้าใจในการเรียนรู้ การผ่าตัดส่องกล้องจำลองที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นนะครับ เราจะเน้นให้แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีนะครับ ได้เรียนรู้นะครับ ทำให้เค้าสามารถที่จะเข้าใจตั้งแต่เค้าเป็นแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 2 3 และเข้าใจมากยิ่งขึ้น
พิธีกร ผลลัพธ์ที่ได้เป็นอย่างไรบ้างครับอาจารย์
นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส ซึ่งในจุดนี้ผมว่าเป็นความสำคัญอย่างมากให้แพทย์ประจำบ้านมีทักษะที่ดี ในระหว่างที่เค้าฝึกผ่าตัดกับผู้ป่วยจริงก็จะเกิดความปลอดภัย เค้าก็จะมีความมั่นใจ ทำให้เค้าที่จะสามารถพัฒนาการรักษาในจุดนี้ แล้วก็จะสามารถที่จะไปรักษาผู้ป่วยในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพครับผม
พิธีกร เอาแล้วครับตอนนี้ให้อาจารย์พาไปดูขั้นตอน กระบวนการของการสอนของกล้องจำลองของอุปกรณ์ชุดนี้เลยครับ
 

นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส

 

ครับก็จะสาธิตซัก 1 อุปกรณ์นะครับ ตัวนี้ก็จะเป็นตัวอย่างอุปกรณ์ที่จำลองมาจากเอ็นหมุนหัวไหล่นะครับ ให้แพทย์ประจำบ้านได้ฝึกเรื่องของการประสานระหว่างมือทั้ง 2 ข้าง การใช้มือกับสายตานะครับ แล้วก็การหยิบจับที่มีความแม่นยำนะครับ แล้วก็จะมีเรื่องของกระดูกเป็นเหมือนกระดูกเทียมนะครับผม ที่เราพัฒนาขึ้นมานะครับ ตัวหมุดตัวเนี้ยก็จะเหมือนเป็นการชี้วัดนะครับให้แพทย์ประจำบ้านไปค้นหา แล้วก็ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับขึ้นมา
พิธีกร แล้วประสิทธิภาพระหว่างอุปกรณ์ที่เรานำเข้ากับชุดจำลองที่เราผลิตเองเป็นนวัตกรรมของเราขึ้นมาเองมีความต่างใกล้เคียงกันอย่างไรบ้างครับ
 

นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส

 

คือจริงๆ แล้วต้องเรียนให้ทราบก่อนนะครับว่าในเรื่องของการผ่าตัดส่องกล้องจำลอง อุปกรร์ในการผ่าตัดส่องกล้องเนี้ยมีหลายระดับในเบื้องต้นพัฒนาทักษะพื้นฐานตัวนี้ได้ แต่ในการพัฒนาที่มันซับซ้อนจำเป็นจะต้องใช้การศึกษาก็มีการพัฒนา ที่ต่อยอดออกไปอีกทีหนึ่งครับผม แต่ถามว่าคุณภาพที่ทัดเทียมไม่ เราจะสามารถที่จะได้ภาพอุปกรณ์แล้วก็ความเสมือนจริงเนี้ยทัดเทียมกับอุปกรณ์มาตรฐานต่างประเทศเลยครับ
พิธีกร อาจารย์ครับแล้วในส่วนของการพัฒนาผลงานชิ้นนี้เกิดประโยชน์แล้วก็ให้คุณค่ากับใครบ้างครับ
 

นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส

 

 

ในเรื่องของผลงานชิ้นนี้นะครับที่แน่นอนเนี้ยมีนเป็นอุปกรณ์ด้านการศึกษาครับ สามารถที่จะให้แพทย์ประจำบ้านสามารถที่จะฝึกการผ่าตัดส่องกล้องจำลองแล้วก็ทบทวนในการเรียนรู้ได้ แต่มากไปกว่านั้นนะครับ ถ้าเกิดเราพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความเสมือนจริงแล้วก็สามารถมีอุปกรร์ที่มีลักษณะทางกายภาพที่มีความเสมือนจริงยิ่งขึ้นก็สามารถต่อยอด แล้วก็ทำให้แพทย์ผ่าตัดส่องกล้องเยนี้ยใช้ในการวางแผนในการผ่าตัดซึ่งเป็นแผนการพัฒนาต่อไปครับ
พิธีกร คุณผู้ชมครับการพัฒนาชุดอุปกรณ์นี้นะครับ เรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาทั้งด้านการเรียน การศึกษารวมถึงขั้นตอนในการรักษาในอนาคต เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ ความชำนาญกับแพทย์ผู้ให้การรักษานั่นเองนะครับ สำหรับในวันนี้ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์มากครับขอบคุณครับ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here