ควันหลง HA 20th: ผลสำรวจ 10 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

0
9061

การสำรวจจากผู้เข้าร่วมประชุม HA National Forum ครั้งที่ 20: Change and Collaboration for Sustainability” มีผู้ตอบจำนวน 226 คน ส่วนใหญ่มาจากรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประมาณ 65% 

คำถามเป็นการประเมินตนเอง ใน 10 ประเด็น ที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้การพัฒนาคุณภาพ/การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล/องค์กร เป็นไปอย่างยั่งยืน ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามจะให้คะแนนองค์กรของตนเอง จาก น้อยที่สุด = 0 คะแนน จนถึงมากที่สุด = 3 คะแนน ในคำถามแต่ละข้อดังนี้

1.       ทุกคนมีส่วนในการเปลี่ยนแปลง รู้สึกเป็นเจ้าของในกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ และแสดงความเห็นได้อย่างเสรี (engagement)

2.       ผู้นำสามารถใช้ทักษะการพัฒนาคุณภาพ ร่วมกับการสร้างสัมพันธ์ระดับบุคคล เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (leadership)

3.       มีการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงโดยเชื่อมโยง activities, outputs และ outcomes ให้เกิดการเรียนรู้อย่างครบวงจร (evaluation)

4.       ผู้นำเข้าใจวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมคนในองค์กร (culture)

5.       คนในองค์กรเข้าใจถึงปัญหาที่ต้องการเปลี่ยน มีส่วนร่วมในการออกแบบ และทดสอบการเปลี่ยนแปลง (change management)

6.       ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน (real time data) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา (measurement)

7.       มีการรับฟัง+ตอบสนองต่อเสียงของทีมงาน ผู้ป่วย และผู้ดูแล เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  (empowerment)

8.       มีการหาสาเหตุที่แท้จริงของความผิดพลาด และออกแบบระบบใหม่ที่สามารถป้องกันความผิดพลาดนั้น (human factors)

9.       มีการสร้างความรู้จากการศึกษาวิจัย ประสบการณ์ และการปฏิบัติของทั้งผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ (knowledge into action)

10.   มีการใช้ innovation ที่แสดงถึงประโยชน์ได้ชัดเจน สามารถนำมาปรับใช้และขนายผลได้รวดเร็ว (innovation)

(คำถามแต่และข้อ ประยุกต์มาจาก 10 Key factors for the spread and sustainability of quality improvement in healthcare)

 

ผลการสำรวจ พบว่า ปัจจัยที่ได้รับคะแนนสูงสุด 4 ด้าน (คะแนนเฉลี่ยรวมทุก รพ.) คือ leadership (2.06 คะแนน), culture (2.00 คะแนน), empowerment (1.99 คะแนน), และ engagement (1.98 คะแนน) ตามลำดับ

ส่วนปัจจัยที่ได้รับคะแนนน้อยที่สุด คือ innovation (1.69 คะแนน), knowledge into action (1.71 คะแนน), measurement (1.79 คะแนน) และ change management (1.81 คะแนน) ตามลำดับ ผลการสำรวจ จำแนกตามสังกัดโรงพยาบาล เป็นดังนี้

จะเห็นได้ว่าความท้าทายร่วมกันของทุก รพ. คือการสร้าง หรือนำ innovation มาใช้ ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างชัดเจน การวัดความสำเร็จของงานด้วยข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน รวมถึงการสังเคราะห์และถ่ายทอดความรู้ จากการปฏิบัติงาน ให้เกิดการเรียนรู้ต่อยอดเพื่อให้เกิดการพัฒนา ทั้งในองค์กรของตน และหน่วยงานอื่น อาจเนื่องจากภาระงานประจำซึ่งเป็นงานเชิงบริการเป็นหลัก จึงเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถสร้างแนวคิดในการพัฒนางานประจำ หรือถ่ายทอดความรู้ที่ตนเองมีสู่ผู้อื่นได้ 

องค์กร และทีมนำจึงควรจัดโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการนำ innovation มาใช้ และวัดผลจากข้อมูลที่เป็น real-time รวมทั้งจัดช่องทางการสื่อสารถ่ายทอดความสำเร็จในการทำงาน โดยพิจารณาปฏิบัติตาม recommendations ในประเด็นต่อไปนี้

Innovation

1.ใช้ทัศนคติเพื่อพัฒนา (Attitude to improvement) ในการตั้งคำถามต่องานประจำที่ทำอยู่ เช่น “มีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้หรือไม่ ?” จุดประกายสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลง เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ

2.สร้างโอกาส และสนับสนุนความคิดใหม่ ๆ (Opportunities to innovate) เพื่อให้ทีมงานกล้าคิด กล้าทำ กล้าทดลองเพื่อพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

3.แลกเปลี่ยนความคิด ความสำเร็จของนวตกรรม เพื่อการเรียนรู้ ต่อยอด และการดำเนินการที่ไม่ซ้ำซ้อน (Avoiding duplication of effort)

Knowledge into action

1. หมั่นบททวนงานประจำ (Closing the loop) เราสามารถเรียนรู้ได้ทุกวันโดยปฏิบัติให้เป็นกิจวัติประจำ

2.ให้ความสำคัญความรู้ ที่สอดคล้อง และปรับเปลี่ยนตามบริบท (Adapting the change)

3.อัพเดตความรู้ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา (Keep knowledge up to date)

Measurement

1.เก็บข้อมูล (data collection) โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย เพื่อเลือกสิ่งที่จะวัดให้สอดคล้อง และต้องเก็บข้อมูล ก่อนการพัฒนา (baseline data) ออกแบบการเก็บข้อมูลให้ง่าย มีความหมาย และควรคำนึงถึงภาระงานประจำของผู้ปฏิบัติงานด้วย

2.แลกเปลี่ยนข้อมูล (sharing the data) ไม่เก็บข้อมูลไว้เฉพาะผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาร่วมกัน

3.นำเสนอข้อมูล (displaying the data) อย่างถูกต้อง มีความหมาย เข้าใจง่าย เช่น run charts

4.นำข้อมูลไปใช้ (using the data) เพื่อการพัฒนา

 

การประเมินตนเองจาก ปัจจัยทั้ง 10 ด้านดังกล่าว เป็นเพียงการมองภาพรวมขององค์กรจากประสบการณ์ และความเห็นของผู้ตอบเอง ซึ่งอาจไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงขององค์กรได้ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม องค์กร ควรเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และนำ 10 ปัจจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนต่อไป

 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://www.qihub.scot.nhs.uk/media/596811/the%20spread%20and%20sustainability%20ofquality%20improvement%20in%20healthcare%20pdf%20.pdf

และ

http://www.qihub.scot.nhs.uk/media/835521/spread%20and%20sustainability%20study%20review%20(web).pdf

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here