ความปลอดภัยในขณะส่งต่อผู้ป่วยด้วยรถพยาบาล

0
3710

ในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4 กำหนดว่า

“ยานพาหนะที่ใช้ในการส่งต่อผู้ป่วยได้มาตรฐานความปลอดภัย มีอุปกรณ์การแพทย์และเวชภัณฑ์ที่พร้อมตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย”

ความปลอดภัยของยานพาหนะที่ใช้ในการส่งต่อผู้ป่วยต้องครอบคลุมทั้งความปลอดภัยของ ผู้ป่วยและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยขณะส่งต่อ ซึ่งใน SIMPLE 2018 ในส่วนของ Personnel Safety ได้มีการกล่าวถึงความปลอดภัยของรถพยาบาลและขั้นตอนการรับส่งต่อผู้ป่วยไว้ โดยมีรายละเอียดสำคัญ คือ

– สำหรับรถพยาบาล มีข้อแนะนำว่า ตัวถังรถ เตียงผู้ป่วย เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีการยึดตรึงให้สามารถทนแรงทุกทิศทางได้ 10 G (แรงขนาด 10 เท่าของน้ำหนักของวัตถุนั้นๆ)

– มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน

– การจัดวางอุปกรณ์การแพทย์ต้องเอื้อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ต้องถอดเข็มขัดนิรภัย เพื่อเอื้อมไปหยิบอุปกรณ์ต่างๆ

– การปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกผู้คน เช่น การสร้างแนวเบี่ยงจราจร โดยการวางกรวย ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อเป็นสัญญาณชะลอความเร็ว, การจอดรถคันแรกที่ไปถึง ณ ที่เกิดเหตุ เพื่อสร้างแนวกันชน, การจอดรถพยาบาลในตำแหน่งที่ปลอดภัย, การใส่ชุดปฏิบัติงานที่มีแถบสะท้อนแสง, การงดใช้แสงสว่างที่หันทิศทางไปรบกวนการมองเห็นของผู้ขับขี่ที่อยู่บนถนนสายเดียวกัน

– แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับพนักงานที่ขับรถพยาบาล เช่น ไม่ดื่มแอลกอฮอล์หรือกินยาที่ทำให้ ง่วงนอน, เคารพกฎจราจร ไม่ฝ่าสัญญาณไฟแดงในทุกกรณี, จำกัดความเร็วรถไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง, ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่, พักทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือระยะทางทุกๆ 150 กิโลเมตร, กรณีเดินทางไกลกว่า 400 กิโลเมตร ควรมีพนักงานขับรถ 2 คน

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here