ธนาคารเวลา กับ จิตอาสาการดูแลผู้มีอายุยืน

0
7299
ธนาคารเวลา

ธนาคารเวลา “วาระแห่งชาติ” เพื่อผู้สูงอายุ

  “แก่อย่างเดียวดาย”

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอัตราเร่ง ในปี 2564 เราจะมีผู้สูงอายุ 20% และ 28% ในปี 2574 ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อสูงอายุ เช่น ภาวะสมองเสื่อม ความเสื่อมถอยทางร่างกาย ภาวะพึ่งพิงตนเองได้ลดลง มีความเปราะบางทางจิตใจ แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวลำพังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่ออัตราการพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้น โดย 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุที่หกล้มและกระดูกหักจะไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก การฆ่าตัวตายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการศึกษาของ TDRI พบว่าปัจจัยสำคัญที่บ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาว ได้แก่ ระดับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในแต่ละวัน จำนวนบุคคลที่สามารถพึ่งพิงได้ ดังนั้นการผลักดันให้ผู้สูงอายุมีบุคคลที่สามารถพึ่งพาได้ และการมีสังคมจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวขึ้น โดย ธนาคารเวลาสำหรับการดูแลผู้สูงอายุประเทศไทย เป็น 1 ใน 6 ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนทุกวัย ในระเบียบวาระแห่งชาติ (ปี 2562-2564)

  ธนาคารเวลา คือ การสะสมเวลาในรูปแบบของบัญชีส่วนบุคคล โดยสามารถเบิกถอนเวลามาใช้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ” ซึ่งใช้หลักคิด “Give and take”  หลังจากฝากเวลา ด้วยการบริการ ช่วยเหลือ พัฒนา  ธนาคารเวลา จะมีผู้รับรองและแปลงเวลาให้เป็นเครดิต ซึ่งอาจดำเนินงานผ่าน website หรือ มีสมุดฝาก เมื่อต้องการ ถอน เพื่อรับผลตอบแทน เช่น รางวัลชื่นชม การเยี่ยมเพื่อน  จะมีการบริหารจัดการโดย มีการประเมินความต้องการ จับคู่ (Matching) การจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับที่ต้องการ

คุณค่าของ ธนาคารเวลา 

 เป็นเครื่องมือ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด ขึ้นอยู่กับชุมชนหรือองค์กร เช่น ลดความเหงาซึมเศร้าของผู้สูงอายุ สร้างสัมพันธภาพของเพื่อนบ้าน เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายในชุมชน แลกเปลี่ยนทักษะประสบการณ์ ช่วยเหลือเกื้อกูล ลดความอ้างวาง โดดเดี่ยว อาการซึมเศร้า ตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของตนเอง กล้าขอความช่วยเหลือเพราะไม่ได้รับอยู่ฝ่ายเดียว (Give and Take) สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น เห็นคุณค่าของผู้อื่น ทุกคนเท่าเทียม

ความยั่งยืนของ ธนาคารเวลาประเทศไทย 

  ประเทศไทยมีพลังสังคมด้านบวกสูง เป็นสังคมแห่งการเอื้ออาทร มีความสนใจเรื่องจิตอาสาและต้นแบบอาสาสมัคร มีสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน และมีต้นทุนงานในระดับพื้นที่โดยเฉพาะธนาคารความดีที่สามารถต่อยอดประยุกต์ใช้ได้ มีโอกาส ได้แก่ นโยบายสนับสนุนแนวคิคธนาคารเวลา  การกำหนดมาตรการนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ แต่ก็มีแรงต้านในมุมมองการยอมรับแนวคิดธนาคารเวลาซึ่งเป็นเรื่องใหม่และมีความซับซ้อน ขาดระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ การบูรณาการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาวะคุกคามจากผลกระทบต่อระบบจิตอาสาที่ไม่มีการตอบแทนใดๆ และความเสี่ยงภาพลักษณ์ของการดำเนินงาน หากมีการละเมิดความรุนแรงอาจเกิดกับผู้สูงอายุที่รับบริการ 

ตัวอย่างต้นแบบของธนาคารเวลาในประเทศไทยได้แก่ 1) สสส. ซึ่งได้ดำเนินโครงการนำร่องในระดับภูมิภาคชุมชนท้องถิ่น 42 แห่งกรุงเทพมหานครและเครือข่ายภาคประชาสัมคมคนรุ่นใหม่  2) กรมกิจการผู้สูงอายุ ได้ดำเนินโครงการ จัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานในพื้นที่นำร่องและสมุดบันทึกเวลา เปิดรับสมัครเป็นอาสาสมัครธนาคารเวลาผ่านเว็ปไซต์กรมกิจการผู้สูงอายุ 

เครื่องมือธนาคารเวลาเป็นสิ่งที่มีความท้าทายในการบูรณาการนำหลักการและต้นแบบจากหลายประเทศมาใช้ในบริบทของสังคมไทยเพื่อเตรียมพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงจากสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here