“รากฐาน” นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล

0
1708
“สานต่อ” นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี
“สานต่อ” นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี

“รากฐาน” นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล

รากฐาน คือ กระบวนการคุณภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ (Accreditation is an Education Process) ไม่ใช่การตรวจสอบ ต้องเริ่มจากการประเมินตนเองและผู้เยี่ยมสำรวจนั้นเป็นผู้ที่ไปยืนยันการประเมินผลของโรงพยาบาล”

…บ่มเพาะมุ่งมั่นก่อราก บั่นบากก่อฐานการใหญ่ ทุ่มเทมุ่งมั่นตั้งใจ ต้นไม้คุณภาพประเทศไทยกำเนิดมา…

“กระบวนการคุณภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ (Accreditation is an Education Process) ไม่ใช่การตรวจสอบ ต้องเริ่มจากการประเมินตนเองและผู้เยี่ยมสำรวจนั้นเป็นผู้ที่ไปยืนยันการประเมินผลของโรงพยาบาล”

HA เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 ในนามโรงพยาบาลติดตาว โดยการริเริ่มของ นพ.บรรลุ ศิริพานิช อดีตรองปลัดกระทรวง โดยเรียนรู้มาจาก American Medical Association เพื่อจัดระดับความน่าเชื่อถือของโรงพยาบาลโดยประชาชน

ก่อนจะมาเป็น HA (ปี 2533-2540)

ในช่วงก่อนปี พ.ศ.2540 มี 3 กระแสหลักในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ได้แก่ มาตรฐานสถานบริการประกันสังคม (SSO Standards) TQM Project และการสร้างกลไกให้เกิดระบบคุณภาพโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) โดยมีการประชุมการเยี่ยมสำรวจ และพาไปศึกษาดูงานที่ประเทศแคนาดา

ในปี พ.ศ.2533  Aviva Ron ที่ปรึกษา ILO กล่าวไว้ว่า “เมื่อประกันสังคมเลือกที่จะจ่ายเงินด้วยระบบ Capitation ก็ต้องสร้างระบบ Quality Assurance (QA) ที่ดี” จึงมีการพัฒนา QA ในระบบประกันสังคม

ในปี 2536 เริ่มทำ TQM Project เป็นโครงการนำร่องในโรงพยาบาล 6 แห่ง และขยายผลไปสู่โรงพยาบาลในสังกัดกองโรงพยาบาลภูมิภาค โดยสื่อสารหลักการ TQM ด้วยคำขวัญที่จดจำได้ง่าย เช่น ลูกค้าสำคัญที่สุด จุดความฝันร่วมกัน เป็นต้น ได้เป็นองค์ประกอบ TQM 3 ด้าน  ได้แก่ 1) Unit Optimization  2) Vertical Alignment และ3) Horizontal Integration

ในปี 2538 ได้มีการบรรยายพิเศษ เกี่ยวกับ Accreditation for Healthcare Organization โดยวิทยากร Mr.John K. Lee (President, Adventist Health Care Service of Asia) ในวันที่ 25 มกราคม 2538
ณ ห้องประกายเพชร โรงแรมเอเชีย กทม. จุดประกายแนวคิดจาก ดร.ศิริพร ตันติพูลวินัย ผอ.วิทยาลัยพยาบาลมิชชั่น

ปี พ.ศ. 2537  นพ.ปัญญา สอนคม ได้แนะนำให้รู้จักกับ Mr.Anthony Wagemakers (Canadian consultant ซึ่งมาปฏิบัติงานที่ รพ.เทพธารินทร์ ภายใต้ร่ม CESO) ซึ่งต่อมาในวันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2538 ได้ สาธิตการเยี่ยมสำรวจ รพ.กระบี่ โดยการประสานงานของอาจารย์ดวงสมร บุญผดุง กองโรงพยาบาลภูมิภาค ทำให้ได้ข้อค้นพบว่า “กระบวนการเยี่ยมสำรวจนั้นเป็นกระบวนการเชิงบวก ไม่ Threatened ต่อคนที่อยู่ในโรงพยาบาล แต่ทำให้เกิดการยอมรับ(Respect) กระตุ้นให้เรามองตัวเองและอยากจะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น”

ในปี 2539 สวรส. รวมกับ Mr.Anthony Wagemakers ได้เดินทางไปเยี่ยมโรงพยาบาล 30-40 แห่ง อธิบายเกี่ยวกับ HA สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำกระบวนการ HA มาใช้ในโรงพยาบาล พบว่า ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ แต่ยังตกลงกันไม่ได้ว่าควรทำแบบสมัครใจ หรือเป็นภาคบังคับ จึงได้ดำเนินการในรูปแบบโรงพยาบาลนำร่อง 35 แห่ง โดยใช้ มาตรฐานโรงพยาบาลฉบับปีกาญจนาภิเษก(ฉบับที่1) ปรับให้มี Quality Improvement จากการไปศึกษาดูงานที่ประเทศแคนาดา

ในปี 2540 ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้รับแฟ้มเอกสารมาตรฐานโรงพยาบาล ฉบับปีกาญจนาภิเษก  และได้กล่าวไว้ใน “การสัมมนาผู้รู้เห็น HA” เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2541 ว่า “…เอกสารนี้ (มาตรฐานโรงพยาบาล) มีพลัง พลังของ Concept พลังของความหมาย…ถ้าเราทำตรงนี้ คุณภาพโรงพยาบาลดี แพทย์พยาบาลดี ประชาชนดีขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง…มันเป็น Value ที่ใหญ่มาก…และตรงนี้เป็น Value Management” หลังจากนั้นท่านได้ชี้นำและจับคู่ให้ ศ.นพ.จรัส  สุวรรณเวลา มาร่วมดำเนินการโดยให้ข้อคิดว่า “ถ้าจะทำอะไรให้สำเร็จ ต้องมีผู้อาวุโส ประกบกับชายฉกรรจ์ หรือ หญิงฉกรรจ์ ด้วยวัยฉกรรจ์นั้นมีพลังเยอะ แต่มักควบคุมตัวเองไม่อยู่ จึงต้องมีผู้อาวุโสซึ่งมีประสบการณ์สามารถชี้นำ ช่วยให้บรรเทาความรุนแรงและเชื่อมต่อกับผู้คนได้ดี และ…ต้องรีบ คือ ถ้าอยากจะทำอะไรแล้ว รอช้าไม่ได้ กาลเวลามันผ่านไปเร็ว เดี๋ยวความสนใจมันจะไปทางอื่น

จึงได้เริ่มโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงงพยาบาล เป็นโครงการนำร่อง ในปี 2540 โดยได้ริเริ่มทำสิ่งใหม่ เช่น  Risk Management ทีมสหสาขาวิชาชีพ องค์กรแพทย์ เป็นต้น โดยให้โรงพยาบาลทดลองทำ

ลองผิดลองถูกและเรียนรู้ไปด้วยกัน ซึ่ง ศ.นพ.จรัส  สุวรรณเวลา ได้กล่าวไว้ว่า “การไม่บอกตรงๆ ว่าต้องทำอะไรบ้าง ปล่อยให้โรงพยาบาลคิดกันเอง ตรงนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะว่าทำให้เกิดนวตกรรมต่างๆ ขึ้นในโรงพยาบาล การที่บอกกรอบกว้างๆ ทำให้โรงพยาบาลมีอิสระในการทำงาน

“กระบวนการคุณภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ (Accreditation is an Education Process) ไม่ใช่การตรวจสอบ ต้องเริ่มจากการประเมินตนเองและผู้เยี่ยมสำรวจนั้นเป็นผู้ที่ไปยืนยันการประเมินผลของโรงพยาบาล” เป็นหลักการที่ทันสมัยแต่ท้าทายมาก เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กระบวนการ HA ยังคงอยู่รอด เปรียบเสมือนเป็นไฟไหม้ฟางที่กองใหญ่มากที่ยังคงคุ ยังคงปะทุ ลุกโชติช่วง ให้ความร้อน ให้พลังกับโรงพยาบาลต่างๆ ในการขับเคลื่อน ส่วนหนึ่งเป็นรากฐานมากจากการใช้แนวคิดว่าการพัฒนาคุณภาพ เป็นกระบวนการเรียนรู้

ในปี 2541 ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้ให้แนวคิดว่า เราไม่ควรใช้อำนาจ แต่เราควรใช้ความรู้เป็นฐานในการทำงานและควรให้ผู้มีอำนวจ (คือกระทรวงสาธารณสุข) เข้ามาเรียนรู้กับพวกเราด้วย จึงก่อตั้งภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล  “ภาพลักษณ์ของกระบวนการนี้เป็นภาพของการพัฒนา ไม่ใช่การตัดสินว่าสอบได้หรือตก” จากการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิโครงการ HA (13 มีนาคม 2541) และ   “หัวใจคือการปรับปุรงคุณภาพโรงพยาบาล เรื่องการรับรองเป็นของแถม” ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา กล่าวสรุปไว้ในการประชุมภาคีความร่วมมือ HA
(13 ตุลาคม 2541) ดังนั้นเราไม่ควรมุ่งที่ตัวของแถมแต่ควรมุ่งที่กระบวนการพัฒนาคุณภาพ

 ก่อนจะมาเป็น…สถานบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์กรมหาชน) ในปี 2542 ได้ก่อตั้งเป็นสถานบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.) ภายใต้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข โดยมีอาจารย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ ซึ่งเป็นผู้รู้รอบรู้ลึกถึงปัญหาในระบบราชการและรู้ว่าจะใช้กฎหมายให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไรเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการจัดตั้งสถาบันนี้ ทำให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวและมีความเป็นทางการมากขึ้น

ในช่วงปี 2542-2551 สถานบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.) ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพโดยเริ่มการจัดประชุม HA National Forum การพัฒนามาตรฐาน การประเมินยกย่องการรับรองและแรงจูงใจ การส่งเสริมการประเมินตนเองและกระบวนการเรียนรู้  ความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย (Patient Safety) การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) และการพัฒนาด้านจิตปัญญา

ในปี 2543 พัฒนามาตรฐานโรงพยาบาล ฉบับบูรณาการ (ฉบับที่2) จากการที่แพทย์สภาได้ออกข้อกำหนดให้โรงพยาบาลที่จะเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง ต้องผ่าน HA เป็นปัจจัยที่ทำให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่เป็นสถาบันฝึกอบรมเข้าสู่กระบวนการ HA  ในเรื่องนี้ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้กล่าวในการสัมมนาผู้รู้เห็น HA วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 ว่าได้ไปศึกษาดูงานพบว่าประเทศแคนาดามีการทำ HA มา 50 ปีแล้ว จึงกลับมาขับเคลื่อนการทำ HA ผ่านกรรมการแพทย์สภา
“ถ้า HA ดีจริง ก็ไปตั้งบริษัทมาแข่งกับ ISO” เป็นคำพูดที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนมาตรฐาน HA จนมีโรงพยาบาล HA เพิ่มขึ้น จาก 64,120,543 และ961 แห่ง

ในปี 2544 มีโครงการ “ครูเยี่ยมศิษย์” ศ.นพ.อรุณ  เผ่าสวัสดิ์ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
กล่าวไว้ว่า “คำว่า ‘โครงการครูเยี่ยมศิษย์’ …เป็นความชาญฉลาดมากที่ใช้คำนี้ ครูเยี่ยมศิษย์ ทำให้การทั้งหลายทั้งปวงได้รับการพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นกันเอง และราบรื่น”

ในปี 2544 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารสุขในขณะนั้น ได้กล่าวไว้ว่า “โรงพยาบาลที่จะรับผู้ป่วย UC ควรต้องมีคุณภาพดี” จึงนำสู่การพัฒนาบันได 3 ขั้นสู่ HA และได้รับการสนับสนุนจาก สปสช.ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ทำให้มีโรงพยาบาลเข้าสู่กระบวนการคุณภาพและผ่านการรับรองบันได 3 ขั้น มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ในปี 2546 ยังได้พัฒนา HPH Accreditation

ปี 2547 โครงการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพโดยโรงพยาบาลด้วยกระบวนการ HA (สสส.ให้การสนับสนุน)
เป็นการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพเข้าไปในงานประจำ

ปี 2549 HA/HPH Standards ประกาศใช้มาตรฐานโรงพยาบาลฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ
60 ปี (ฉบับที่3) เป็นมาตรฐานที่มีการบูรณาการ 3 มาตรฐาน ได้แก่ HA, HPH และ TQA เข้าไว้ด้วยกัน

ปี 2550 เริ่มทำโครงการ Thailand Hospital Indicator Project (THIP) เป็นกระจกวิเศษที่ทำให้การพัฒนาโรงพยาบาล “รู้ว่าอยู่ตรงไหน เพื่อขยับให้ดีขึ้น” และ ขับเคลื่อน Humanized Healthcare

ปี 2551 ประกาศใช้ Patient Safety Goals ฉบับที่ 2 และขับเคลื่อน Lean in Healthcare

ปี 2552 ดำเนินงาน SHA Program (Sustainable Healthcare & Health Promotion by Appreciation & Accreditation)   โดยมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ Dream ได้แก่ Spirituality, Sustainable  Content ได้แก่ Humanized Healthcare, HPH (Health Promoting Hospital), HA (Hospital Accreditation) และ Method ได้แก่ Appreciation, Accreditation นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ได้นำแนวคิดด้านมานุษยวิยามาขับเคลื่อน นำสู่แนวคิดการพัฒนา SHA & HA สมดุลของการพัฒนาสามแนวทาง ได้แก่ Heart Head Hand

ในปี 2552 ประกาศเป็นสถาบันรับรองคุณภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สรพ.

ในปี 2553 พัฒนาโดยยึด 4 วง 3 เส้นทาง 8 การตามรอย

ในปี 2554 นพ.บุญยงค์  วงศ์รักมิตร ได้มอบหนังสือเม็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ ให้ในวันที่ 18 สิงหาคม 2554 พร้อมบอกว่า “หมอเอาหนังสือเล่มนี้ไปศึกษา น่าจะนำไปทำประโยขน์ในวงกว้างได้” หลังจากนั้นเกิดน้ำท่วมใหญ่ แต่ สรพ.ไม่ได้หยุดลงพื้นที่ แต่ยังคง Work from Anywhere

ในปี 2555 การประชุม National HA Forum ถูกจัดขึ้นโดยบูรณาการความเป็นกระบวนการของชีวิต ทำให้งานกับการพัฒนาด้านในของชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกัน ใน Theme “The Wholeness of Life : เรียนรู้บูรณาการงานกับชีวิต” และในปีเดียวกันนั้นเริ่มขับเคลื่อน Community of Practice(CoP) นำร่อง 4 หน่วยงานความเสี่ยงสูง และProvincial KM เพื่อการต่ออายุ บันไดขั้นที 2 สู่ HA

ในปี 2556 ขับเคลื่อน Advanced HA, Program and Disease Specific Certification, SPA in Action สรพ.ได้ยกระดับสู่มาตรฐานสากลทั้งในด้านมาตรฐาน HA องค์กร และการพัฒนาผู้เยี่ยมสำรวจเข้ารับการรับรองจาก ISQua โดยได้รับการรับรองทุก 4 ปี ผ่านการรับรองทุกองค์ประกอบ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานตลอดระยะเวลา 20 กว่าปี คือ หลัก Head Heart และ Hand

Head คือ Principle : การรับรองคือกระบวนการเรียนรู้  Knowledge : การติดตามความรู้ต่างๆ ให้ทันโลก และ Test : นำความรู้ที่ได้มาทดสอบ ทดลองใช้

Heart คือ Respect การที่เราให้ความเคารพต่อทุกคน ยอมรับนับถือทุกคน และสร้าง Trust ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก และต้องใช้เวลา และต้องแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นประโยชน์ต่อโรงพยาบาลจริง

Hand คือ ต้องทำในเชิงปฎิบัติมากๆ (Pragmatic) และมีความสุขกับสิ่งที่ทำ (Enjoy)

การประชุม National HA Forum ทุกครั้งที่ผ่านมา มีคุณค่าและยังคงมีความทันสมัย สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์อีก จึงได้เก็บรวบรวมไว้ในฐานข้อมูล บันทึกบทเรียน HA  : HA Archive เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในอนาคต

ผู้ถอดบทเรียน รุ่งนภา ศรีดอกไม้ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here