หน้าที่หลักขององค์กรแพทย์ คือช่วยเหลือผู้ป่วย

0
12110

หน้าที่หลักขององค์กรแพทย์ คือ ช่วยเหลือผู้ป่วย

“ ความจริงผมเกษียณแล้วจากตำแหน่งอธิบดี ” นพ.ปัญญา สอนคม เริ่มเล่าด้วยรอยยิ้ม

“ แต่บังเอิญว่าในขณะที่เป็นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ผมคิดว่าการที่จะทำแลปหรือว่าห้องปฎิบัติการ อาหาร ยา เครื่องสำอาง สมุนไพร อะไรต่างๆ      ถึงแม้ว่าจะเป็นหน้าที่ของกรมก็จริง แต่เมื่ออุตสาหกรรมเหล่านี้มันขยายใหญ่ขึ้น กรมก็จะทำไม่ไหว เพราะฉะนั้นกรมก็ควรจะผ่องถ่ายหน้าที่ไปให้องค์กรเอกชน และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็จะเป็นผู้ควบคุมมาตรฐานของห้องปฎิบัติการเหล่านั้นอีกทอดนึ่ง จากความคิดอันนี้เราก็เลยติดต่อ ต่างประเทศและพยายามสร้างมาตรฐานขึ้นมาเพื่ออบรม คนในกรมวิทย์ให้คุ้นเคยกับมาตรฐานก่อน  ผมทำอย่างนี้ประมาณปีกว่า ก็เกษียณอายุราชการ”

“ตอนนั้นเรามีศิษย์เก่าของกรมซึ่งไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศและบางคนก็สำเร็จแล้วได้ทำงานอยู่ที่นั้น  ก็กระตือรือร้นอย่างมากที่จะมาช่วย ก็ติดต่อ องค์กร  FDA เพราะว่าในอเมริกานั้น FDA เค้าทำแลปเอง  ควบคุมเอง ไม่เหมือนของเราซึ่งจะเป็น อย. ตอนนั้นผมทำงานเป็นผู้ดูแลห้องปฏิบัติการของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เป็นห้องปฎิบัติสาขาโรงพยาบาลเทพธารินทร์ อาจารย์เทพ ซึ่งเป็นเจ้าของ แกเป็นคนหัวก้าวหน้า แกเชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศแคนดามาช่วย   ปรับปรุงคุณภาพของโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ซึ่งมีชื่อเสียงมากในการรักษาโรคเบาหวาน ในการประชุมครั้งนั้นผมจึงได้เจอ คุณหมออนุวัฒน์ และในที่สุดก็ได้มาทำโปรเจคนี้ร่วมกัน”

และนั่น คือจุดดเริ่มต้น ของโปรเจคนี้

“ช่วงนั้น  เราต่างก็ยังไม่รู้เรื่องอะไรกันเลย เราก็แลกเปลี่ยนกัน เชื่อมั้ย ว่าตั้งแต่เราแลกเปลี่ยนกันใช้เวลา 4-5 ชั่วโมงเลย ผมซึ่งไม่มีความรู้ทางด้านเภสัชมาก่อนก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์ธิดา  ผมเองก็มีแต่ความรู้ทางด้านบริหารโรงพยาบาล ไม่ใช่ Back Office ก็เลยให้  “ปรมินทร์” มาช่วยทางด้าน Back Office อีกคนคือคุณเกษม ซึ่งทำงานอยู่ในโรงพยาบาลเทพธารินทร์ของอาจารย์ธิดา นั่นคือต้นตอความรู้ เทรน กันมารุ่นแรกเลย ”

“ตอนนั้นต้องเรียนตามตรงว่าเราเองก็ยังไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เราทำมันจะได้ผลกว้างขวางไปเท่าไหร่เราเพียงแต่คิดว่าน่าจะทำได้  ก็คิดว่าจะลองดูก่อน แล้วก็ตอนนั้นอาจารย์อนุวัฒน์ ก็นำความคิดไปเขียนโปรเจคเพื่อนขอทุนวิจัย โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะทดลองใน 35 โรงพยาบาล   เขียนเป็น project เลย ขอทุนงานวิจัยถามว่ามั้นใจมั้ย คือไม่! แต่ว่าตั้งใจ อาจารย์อนุวัฒน์ ก็รวบรวมสิ่งที่เราทำไปเยี่ยมโรงบาลต่างๆ เขียนเป็นหมวดๆ แล้วก็เอาตัวอย่างจาก ออสเตรเลีย จากประเทศอื่นๆ มาเป็นแบบร่างของมาตรฐานสำหรับประเทศไทยพอได้มาแล้ว ก็เวียนให้นักวิจัยของโรงบาลต่างๆ   เราก็ทำกันใน 35โรงพยาบาล มีปัญหามาก เพราะ หมอเราก็ไม่ยอมรับ”

เหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่ แต่สุดท้าย นพ.ปัญญา  สอนคม ก็ผ่านปัญหาจุดนั้นมาได้โดยใช้หลัก  “กัลยาณมิตร”

“คือ อาจารย์จรัศ สุวรรณเวลา ที่เราเชิญเค้ามาเป็นประธานบอร์ดตั้งแต่รุ่นแรกท่านมองการณ์ไกลมาก มองเรื่องกัลยาณมิตรไว้เป็นหลัก ทำให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กรตรงนั้นให้ได้  กัลยาณมิตรหมายถึงเราต้องสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นอันดับแรก  สองคือต้องทำตัวให้น่ารัก ต้องทำตัวให้เป็นที่นับถือ แต่ถามว่ามันได้ผลมั้ย?  ช่วงแรกก็ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง  แต่ว่าสุดท้ายแล้วเวลาผ่านไปหลายปี ก็ดีขึ้น”

ไม่น่าเชื่อว่าจากสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ แต่เพราะทุกคนที่เกี่ยวข้อง ได้ฝ่าฟันจนกระทั่งทุกอย่างประสบความสำเร็จในวันนี้ วันนี้เรามองเห็นความภูมิใจนั้นในแววตาของ นพ.ปัญญา สอนคม ก่อนท่านจะทิ้งท้ายได้อย่างน่าฟังว่า

“ ส่วนมากผมจะพูดเป็นทำนองว่าคุณภาพนั้นไม่ต้องนึกถึง สรพ. ให้นึกถึงสังคมที่ทุกท่านอยู่ ท่านจะเป็นที่พึ่งของเขาอย่างมีคุณภาพได้อย่างไร ไม่มีใครบังคับหมอได้ ไม่มีใครมาบังคับเปลี่ยนแปลงหมอ หมอดีอยู่แล้ว  เพียงแต่ว่าหมอจะเอาความดีนั้นมาเป็นประโยชน์แก่สังคมนั้นได้อย่างไร ถ้าถามผมว่าแพทย์หรือพยาบาลมีองค์กรขึ้นมาองค์กรนั้นเขาจะทำเพื่ออะไรเพื่อใคร บางคนเข้าใจผิดคิดว่าองค์กรทำหน้าที่รักษารักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของวิชาทางการแพทย์พยาบาล   ไม่ถูก..องค์กรแพทย์สร้างมาเพื่อผู้ป่วย คุณจะยากดีมีจนหรือเสียชื่อเสียงก็อยู่ที่ผู้ป่วย ไม่ใช่อยู่ที่องค์กร ”

นพ.ปัญญา สอนคม
#QualityTheSeries

Add Friend
Add Line Friend:@hathailand

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here