Change agent: Quality and Safety Research

0
3294
Change agent: Quality and Safety Research
Change agent: Quality and Safety Research

Change agent: Quality and Safety Research

“งานพัฒนาคุณภาพโดยตัวเองก็เป็นวิจัยในระดับหนึ่ง ถ้าเราใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาคุณภาพก็จะกลายเป็นงานวิจัย แต่ต้องพิถีพิถันในการตั้งคำถามและวิธีการ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่เราได้มาเป็นของจริง ไม่ได้เกิดจากความลำเอียง” รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์

คุณภาพและความปลอดภัย เป็นผลลัพธ์ที่สำคัญของการดูแลผู้ป่วย สิ่งหนึ่งที่พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยได้ คือ องค์ความรู้ ซึ่งวิธีการในการสร้างองค์ความรู้ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การวิจัย หัวข้อนี้นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพและความปลอดภัยใน 3 มุมมอง ได้แก่ มุมมองภาพกว้างของการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพที่นานาชาติให้ความสนใจ มุมมองและทิศทางการพัฒนางานวิจัยเชิงระบบเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยที่ สวรส. ให้ความสำคัญ และการใช้วิจัยในการพัฒนาคุณภาพในด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient safety)

รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ การพัฒนาคุณภาพหากมีการทบทวน ศึกษาข้อมูล ติดตามอย่างเป็นระบบ จะทำให้ได้คำตอบที่เป็นองค์ความรู้ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนางานอีกมาก ซึ่งประเทศไทยยังต้องการข้อมูลอีกมากว่าเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ (AE) มาจากไหน, มากน้อยเพียงใด, เกิดผลอะไรบ้าง, ส่งผลอย่างไรต่อการใช้ทรัพยากรและค่าใช้จ่ายและการป้องกันให้ได้ผลและคุ้มค่า ควรใช้วิธีการอะไร ยกตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่ารักษาโดยการใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) พบว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นในโรงพยาบาล จะทำให้ต้นทุนในการรักษาเพิ่มขึ้น 50% คือ จากเดิมรายละประมาณ 8,000 บาทเป็น 12,000 บาท ซึ่งต่อให้ได้จำนวนวันนอนที่เพิ่มขึ้น จากการคำนวณ DRG ก็ไม่คุ้มค่า หรือในต่างประเทศ ที่ศึกษาการใช้คำสั่งการรักษาทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Computerised Psysician Order Entry (CPOE) ซึ่งประเทศไทยยังต้องการองค์ความรู้เหล่านี้อีกมาก

นพ.นพพร ชื่นกลิ่น มุมมองและทิศทางการพัฒนางานวิจัยเชิงระบบเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย (Quality and Safety) ในประเทศไทยที่ สวรส. ให้ความสำคัญ ปัจจุบันนอกจากการวิจัยเชิงระบบสาธารณสุข (Healthy system research) แล้ว สวรส. ยังได้ขยายกรอบไปยังการวิจัยทางคลินิก (Clinical research) และนวัตกรรมด้วย ซึ่งการวิจัยเชิงระบบสาธารณสุข ร้อยละ 80 เป็นการวิจัยมุ่งเป้า คือ สวรส. มีการตั้งกรอบการวิจัยไว้ 4 ด้านว่าการวิจัยจะมุ่งไปทางใด เช่น อยู่บนพื้นฐานการปฏิรูปประเทศ พื้นฐานยุทธศาสตร์ของประเทศ หรือบนพื้นฐานปัญหา หากมีงานวิจัยที่ตอบคำถามกรอบเหล่านี้ก็จะได้รับการสนับสนุนจาก สวรส. ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีโครงร่างวิจัยที่ดี เพียงแค่มีคำถามการวิจัยที่ดี สามารถมาร่วมกับ สวรส. ในการพัฒนาเพื่อให้เกิดการวิจัยได้ การวิจัยควรมีประโยชน์ 3 ด้าน ได้แก่ สามารถแก้ปัญหา พัฒนางาน หรือประหยัดทรัพยากร แต่ในการทำงานย่อมมีปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เราจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง (change) และต้องสร้างความร่วมมือ (collaboration) ในการแก้ปัญหา

รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ ประสบการณ์การนำงานวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติงานจริง งานวิจัยจากงานประจำ R2R การทำ Safety แบบเป็นระบบ จากนิยามของคำว่า Patient Safety จะพบว่า เป็นวิธีการที่ผ่านการวิจัยและพิสูจน์มาแล้วว่าใช้ได้ และเป็นเรื่องของระบบไม่ใช่ปัญหาของบุคคล ซึ่งวิทยากรเคยมีประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงานในต่างประเทศที่ประทับใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วย คือ เมื่อมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (AE) จะมี patient safety round โดยให้แพทย์เล่าเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (AE) ที่เกิดขึ้น และมีการตั้งคำถามแก่ทุกคนว่า ถ้าตัวเราเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์นั้นจะมีโอกาสเกิดเหตุการณ์แบบนั้นหรือไม่ ซึ่งทำให้เกิดความตระหนักว่าทุกคนมีโอกาสผิดพลาด/ ระบบจะอย่างไรไม่ให้เกิดหตุการณ์ในลักษณะนี้อีก จาก patient safety round ในครั้งนั้น ส่งผลมีการออกแบบระบบใหม่เพื่อป้องกันความผิดพลาดซ้ำ ซึ่งมีประสิทธิภาพกว่า การบันทึกเหตุการณ์ที่ผู้เกี่ยวข้องรับรู้ แต่ก็มีโอกาสจะเกิดความผิดพลาดอีกเนื่องจากไม่มีการปรับปรุงระบบ

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Change agent: Quality and Safety Research

ถอดบทเรียน นงนุช สมประชา

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสวนผึ้ง

Photo by National Cancer Institute on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here