กลยุทธ์การสร้างความประทับใจและความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลภายใต้ขีดจำกัดโครงสร้างอาคารสถานที่

0
131
กลยุทธ์การสร้างความประทับใจและความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลภายใต้ขีดจำกัดโครงสร้างอาคารสถานที่

โรงพยาบาลเป็นสถานที่ให้บริหารแก่ผู้ป่วย ญาติ ประชาชน และบุคลากรของโรงพยาบาลจำเป็นต้ยได้รับการดูแลบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี มีความปลอดภัย เอื้อต่อการเยียวยารักษาผู้ป่วย ซึ่งสถานที่และสิ่งแวดล้อมเป็นความท้าทายที่สำคัญยิ่งในปัจจุบันภายใต้ข้อจำกัดด้านโครงสร้าง อาคารสถานที่ที่เริ่มชำรุดทรุดโทรม มีความแออัดไม่สามารถขยายพื้นที่ให้เพียงพอกับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ผู้นำและบุคลากรของโรงพยาบาลต้องมีการปรับเปลี่ยนมุมมองปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นโอกาสในการพัฒนาด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าโรงพยาบาลเป็นสถานที่ให้บริการดูรักษาผู้ป่วยผู้มารับบริการให้มีคุณภาพและปลอดภัย

“งานบรรลุผล คนมีความสุข สนุกกับงาน”

นพ.ไชยสิทธิ์ เทพชาตรี นำเสนอกลยุทธ์สร้างความประทับใจและความปลอดภัย 4 ข้อ คือ
1) Think positively การคิดเชิงบวก และมองทุกอย่างเป็นโอกาสสามารถพัฒนาได้
2) Team การทำงานเป็นทีม หรือ team work เป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการปรับสภาพแวดล้อม
โรงพยาบาล โดยที่ผ่านมา ทางรพ. ได้มีการดำเนินงาน เช่น ทีมงานในการสอดส่องสิ่งแวดล้อม เช่น มีการ round สถานที่ต่างๆ ภายในโรงพยาบาลทุกสัปดาห์ เพื่อรายงานผล ส่วนผู้อำนวยการต้องมี round อาคารสถานที่ 1 ครั้ง
ต่อเดือน ตรวจดูสภาพแวดล้อมตามหน้างาน ข้อจำกัดทางโครงสร้าง สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรม เพื่อมาสู่การปรับปรุง
ดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี มีความปลอดภัย และสอดคล้องกับแบบประเมินโครงสร้างอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและหน่วยงานสำคัญในสถานพยาบาล (Environmental Checklist) ตามแนวมาตรฐานHAและกฏหมายกำหนด โดยที่ผ่านมาได้มีการการปรับปรุงสภาพแวดล้อม OPD ICU OR ห้องพักพิเศษ ห้องพักสำหรับแพทย์ให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเครื่องมือใหม่และทันสมัย ปรับภูมิทัศน์ให้อย่างเหมาะสม
กับผู้มารับบริการ เช่น จุดพักคอยของผู้ป่วยและญาติ ร้านค้าและสวัสดิการ
3) Trust การสร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจให้กับทีมงาน บุคลากร และผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล โดยการจัดและสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานและบรรยากาศที่เอื้อต่อสวัสดิภาพ สุขภาพ และความปลอดภัย รวมถึงการใช้ข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็น ความต้องการ ข้อเสนอแนะ ของบุคลากรเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งนำไป
ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เอื้อให้บุคลากร เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีความสุขในการทำงาน และส่งผล
ต่อผู้เข้ารับบริการได้รับบริการที่ดีด้วย สอดคล้องกับการทำงาน “งานบรรลุ คนมีความสุข สนุกกับงาน”
4) Treasure การจัดสรรทรัพย์สินของโรงพยาบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผลลัพธ์ของการดำเนินงานทำให้
โรงพยาบาลหาดใหญ่ให้เป็นศูนย์กลางของการให้บริการสุขภาพให้กับประชาชนภาคใต้ และในปี 2565 โรงพยาบาลหาดใหญ่ ติดอันดับ 30 โรงพยาบาลที่ดีที่สุดในประเทศไทย

“Leadership is an action not
a position.”

รศ.อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ เราจะมีกลยุทธ์ (strategy) ที่สำเร็จได้อย่างไร? เราควรแยกกลยุทธ์ออกจากระบบปฏิบัติการ โดยนิยามของกลยุทธ์ คือ เป็นเส้นทางในการทำให้องค์กรพัฒนาไปสู่เป้าหมายขององค์กร ซึ่งการเลือกกลยุทธ์ควรคำนึงความเป็น unique[1] สอดคล้องกับบริบทโรงพยาบาล, การหารากเหง้าของ valuable position และมองว่าทุกคนคือพันธมิตร ที่ไหนทำอะไรได้ดี เราสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้ เพื่อให้องค์กรพัฒนาต่อเนื่องและยั่งยืน สามารถส่งต่อวัฒนธรรมองค์กรจากรุ่นสู่รุ่น โดยองค์ประกอบสำคัญในการสร้างกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ 7 ข้อ[2] ดังนี้ 1) Vision ชัดเจน 2) Mission: รู้ว่าเราเป็นใคร มีหน้าที่อะไร 3) Core values ที่เป็น DNA ขององค์กร 4) การวิเคราะห์ SWOT 5) Long-term objectives 6) การตั้งเป้าหมายแต่ละปี 7) แผนปฏิบัติงาน

สำหรับโรงพยาบาลวชิระและมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ที่ผ่านมาได้มีการปรับสภาพแวดล้อม โดยเริ่มจาก
การศึกษาประวัติศาสตร์, การทำ Master Plan สำหรับการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อม มีการทบทวนแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางมาตรฐาน HA โดยเน้นเรื่อง Environment care สำหรับ patient people personal ครอบคลุมทุกประเด็น การบริหารจัดการบุคลากรเจ้าหน้าที่ กำหนด KPI, ตั้งเป้าหมายและมีแผนปฏิบัติงาน, บันทึกประวัติศาสตร์ของหน่วยงาน, เน้นทำงานด้าน health และ non-health,จัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการเฉพาะ เพื่อสนับสนุนการปรับสภาพแวดล้อมโรงพยาบาลให้มีสภาพที่ดี และร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพื้นที่ รวมถึงพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกับชุมชนโดยรอบ เช่น การจัดกิจกรรมดนตรีในสวนพักผ่อน บำบัดจิตใจ ปรับสภาพตลาด จัดการขยะมูลฝอย และจัดการแมวและสุนัขจรจัด ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนรอบโรงพยาบาล นำไปสู่ความยั่งยืนของการพัฒนา ตามแนวคิด “Leadership is an action not a position.”
ปัจจัยที่นำมาสู่ความสำเร็จของการบริหาร
1. วิสัยทัศน์(Vision)ของผู้บริหารองค์กร การกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงาน
2. การใช้ข้อมูลด้านงบประมาณบัญชีรายรับรายจ่ายของโรงพยาบาลมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแผนการทำงาน
และมีการ set priority ที่เหมาะสมในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงองค์กร
3. การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งในโรงพยาบาลและผู้มาใช้บริการ
4. การพัฒนาแบบยั่งยืน เช่น การขยายการพัฒนาไปยังชุมชนรอบโรงพยาบาล

ผู้ถอดบทเรียน นางสาวธีราพร ไชยมาลา
นักวิชาการ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here