การจัดการระบบบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลคุณภาพ

0
9056
การจัดการระบบบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลคุณภาพ

ระบบบำบัดน้ำเสีย ควบคุมกำกับด้วยกฎหมาย/ ระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม  ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ ผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้ ตรวจสอบระบบเป็น รายงานและแก้ไขปัญหาได้

ชยาวีร์ หวังเจริญรุ่ง (กรมควบคุมมลพิษ) ปัญหาด้านมลพิษมีหลายด้าน แต่ปัญหาน้ำเสียก็เป็นปัญหาหลักด้วยเช่นกัน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ปัญหาน้ำเสียเกิดจากชุมชนมากกว่าภาคอุตสาหกรรม

สถานการณ์และแนวทางการจัดการน้ำเสียชุมชนของประเทศไทย ในปี 2564 พบว่าคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งอยู่ในเกณฑ์ดีมากเพียงร้อยละ 3, เกณฑ์ดีร้อยละ 47 พอใช้ร้อยละ 40 เสื่อมโทรมร้อยละ 7 และเสื่อมโทรมมากร้อยละ 3 โดยคุณภาพน้ำทะเลส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ถึงดี  และตั้งแต่ ปี 2559 – 2564 มีแนวโน้มคงที่อย่างต่อเนื่อง สารปนเปื้อนในน้ำเสียชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ตัวชี้วัดที่ใช้สำหรับบ่งชี้การปนเปื้อนที่สำคัญ คือ ค่าของแข็งแขวนลอย(TSS), ค่าสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ (BOD) สารอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส(TKN,NO3 และ TP) และเชื้อโรค (Fecal coliform)

กฎหมายและมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับการระบายน้ำทิ้งจากโรงพยาบาลภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ประกอบด้วย 1.ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ประกาศเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 2.ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ประกาศเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 3.ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่องการคำนวณพื้นที่ใช้สอยจำนวนอาคารและจำนวนห้องของอาคารหรือกลุ่มอาคารวิธีการเก็บตัวอย่างน้ำ ประกาศเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 4.ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) ประกาศเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้อาคารประเภท ก ข และค เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม มีการกำหนดให้มีพารามิเตอร์ควบคุมคุณภาพน้ำทิ้ง เช่น ความเป็นกรดและด่าง บีโอดี สารแขวนลอย ตะกอนหนัก แบคทีเรีย คลอรีน เป็นต้น ซึ่งคณะทำงานปรับปรุงมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทอาคาร ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 กำหนดความหมายของสถานพยาบาล คือ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล แบ่งประเภท ออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภท ก หมายถึง สถานพยาบาลที่มีเตียงรับไว้ค้างคืนตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไป, ประเภท ข  หมายถึง สถานพยาบาลที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 10 เตียงแต่ไม่เกิน 30 เตียง

ดังนั้น หน้าที่ของแหล่งกำเนิดมลพิษ ประกอบด้วย 1.จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ หรือส่งเข้าระบบบำบัดน้ำเสียรวมหากอยู่ในพื้นที่ให้บริการ 2.อำนวยความสะดวกให้กับเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษในการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียและการระบายน้ำทิ้ง (มาตรา 85) รวมทั้งจัดให้มีจุดตรวจสอบน้ำทิ้งตามกฎหมายควบคุมอาคาร
3. ควบคุมการระบายน้ำทิ้งให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด 4.จัดทำบันทึกข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียรายวัน และจัดส่งสรุปข้อมูลรายเดือน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นประจำทุกเดือน 5.ไม่ลักลอบปล่อยน้ำเสียหรือละเว้นไม่บำบัดน้ำเสีย บทลงโทษต้องเสียค่าปรับรายวันในอัตรา 4 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำวันสำหรับการเดินระบบบำบัดน้ำเสียการบังคับใช้กฏหมายและบทบาทหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ มีหน้าที่ของเจ้าพนักงานฯ ในการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย ในการออกคำสั่งทางปกครอง และตรวจสภาพการทำงานระบบบำบัดมลพิษ

ขั้นตอนการตรวจสอบและดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย 1.ตรวจสอบข้อมูล/รูปแบบและรายละเอียดระบบบำบัดน้ำเสีย โดยตรวจสอบผังการรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่ง เป็นบ่อเกรอะ – บ่อกรองไร้อากาศและบ่อซึม การติดตั้งและดูแลถัง/บ่อดักไขมัน 2.ตรวจสอบปริมาณและลักษณะน้ำเสีย ต้องรู้ปริมาณน้ำเข้าระบบ และตรวจสอบสภาพของน้ำเข้าระบบ 3.ตรวจสอบความสามารถในการรองรับของระบบบำบัดน้ำเสีย 4.ตรวจสอบการเดินระบบและอุปกรณ์เครื่องจักรกล 5.การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข 6.การฆ่าเชื้อ จากการศึกษาการเติมคลอรีนในน้ำเสียหลังการบำบัดเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสโควิด 19 โดย ดร.บงกชรัตน์สุยะหมุด และ อ.ดร.เจนยุกต์ โลห์วัชรินทร์ สามารถทำได้โดยใช้ค่าการสัมผัสคลอรีนขั้นต่ำหรือค่า Ct value, จะต้องมีปริมาณ คลอรีนที่เหมาะสม ซึ่งเชื้อโคโรน่าสายพันธ์เดิม สามารถกำจัดด้วยคลอรีนอิสระที่ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ด้วยระยะเวลาสัมผัสที่ 10 นาที หรือคลอรีนอิสระคงค้างที่ 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตรยับยั้งเชื้อในน้ำเสียได้ 100%

กมลรัตน์ สุวรรณวัฒน์ (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) ชนิดระบบบำบัดน้ำเสียในสถานพยาบาลภาครัฐ ข้อมูลการสำรวจระบบบำบัดปี 2563 – 2565 จำนวน 940 แห่ง พบว่า ส่วนใหญ่  ใช้ระบบตะกอนเร่ง (AS) (29.7%) รองลงมา เป็นระบบเอสบีอาร์ (AF) (16%) อันดับที่ 3 ระบบคลองวนเวียน (OD) (14.3%) อันดับ 4.ระบบบึงประดิษฐ์ โดยระบบที่ใช้น้อยที่สุด เป็นระบบบ่อกรองไร้อากาศ (ซึ่งในโรงพยาบาลไม่แนะนำให้ใช้ระบบนี้ ) แต่ละระบบจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน โรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้งานของระบบบำบัดน้ำเสียมีอายุเกินกว่า 20 ปี สูงถึง 476 แห่ง มีเพียง 208 โรงพยาบาลเท่านั้นที่มีระบบบ่อบำบัดที่อายุการใช้งานน้อยกว่า 10 ปี และพบว่าความสามารถในการรองรับน้ำเสีย/สภาพโครงสร้างของระบบบำบัดน้ำเสีย ยังมีความเพียงพอจำนวน 58.7% และมีแนวโน้มเต็มพิกัด 10.4% และพบว่า Over load /ชำรุด คิดเป็น 12.7% ซึ่งข้อมูลนี้เป็นปัญหาทำให้การบำบัดน้ำเสียไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

ปัญหา งานระบบบำบัดน้ำเสีย 1.สถานพยาบาลขยายการให้บริการ 2.ปริมาณน้ำเสียเพิ่มขึ้น 3.ระบบบำบัดน้ำเสีย Over Load จากการขยายการให้บริการ ชำรุด จากอายุการใช้งานที่ยาวนาน 4.ผู้ปฏิบัติงานประจำระบบบำบัดน้ำเสียขาดองค์ความรู้ 5.ระบบบำบัดน้ำเสียไม่เหมาะสมกับการใช้งานของโรงพยาบาล

ทิศทางการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียในสถานพยาบาลภาครัฐ มีการออบแบบระบบบำบัดน้ำเสียใหม่ ให้เหมาะสม

แนวทางการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียในสถานพยาบาลภาครัฐ ประกอบด้วย 1.การสร้างคน จัดตั้งกลุ่มงานระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งแวดล้อม เพิ่มบุคลากรด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 2.สำรวจข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสียและท่อรวบรวมน้ำเสียของสถานพยาบาลภาครัฐในปัจจุบัน 3.วิเคราะห์ข้อมูล จัดลำดับความสำคัญในการให้การสนับสนุน พัฒนาแก้ไข ออกแบบ 4.ประสานความร่วมมือกับสภาวิศวกร และมหาวิทยาลัย ร่วมวางแผนการพัฒนา นำส่งข้อมูลไปยังผู้ตรวจราชการ ในการสนับสนุนการออกแบบ 5.ออกแบบ ดำเนินการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้กับสถานพยาบาลให้ได้มาตรฐานวิชาชีพและเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามที่ผู้ตรวจราชการระบุ สถานพยาบาลที่มีความจำเป็นเร่งด่วน การสนับสนุนในการให้คำปรึกษา และแนะนำการไขปัญหาระบบ

 การเตรียมความพร้อมขอรับสนับสนุนงบประมาณ 1.ความพร้อม มีกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขนาดพื้นที่ก่อสร้าง แบบแปลนตามรายการตรวจสอบ การเลือกใช้แบบแปลนที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ 2.กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พรบ.ควบคุมอาคาร กฎกระทรวงผังเมืองรวม ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง 3.โครงการ วัตถุประสงค์เพื่อทดแทน หรือก่อสร้างใหม่ จำนวนผู้มารับบริการ อัตราการครองเตียงความคุ่มค่า/ประโยชน์ที่ได้รับความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างใหม่ (ปริมาณน้ำเสียและขนาดระบบปัจจุบัน, ชำรุด, อายุ การใช้งาน เป็นต้น) 4.รายงานการลงพื้นที่ แนบรายงานการลงพื้นที่สำรวจวิเคราะห์ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียจากผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงสาธารณสุข

ดร.เกียรติดำรงค์ จันทร์พิพัฒน์กุล (คณะแพทยศาสตร์ ม.นวมินทราธิราช) โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ฯ มีพื้นที่ประมาณ 32 ไร่ มีอาคารเก่ามากกว่า 10 อาคาร มีระบบบำบัดน้ำเสีย 2 ระบบ อยู่ภายใต้การดูแลของฝ่ายวิศวกรรมบริการ คือ 1.ระบบปิด (แบบ SBR) รองรับอาคารเพชรรัตน์ ขนาด 480 ลบ.ม./วัน 2.ระบบเปิด (แบบ AS) รองรับทุกอาคาร ขนาด 1,200 ลบ.ม./วัน ขณะที่มีอาคารใหม่ทุกอาคารมีระบบบำบัดน้ำเสียในตัว

ปัญหาและการแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสีย ตั้งแต่ปี 2562 ถึง ปี 2564 ปี 2562 ปัญหา ค่า BOD, SS,TKN,COD Total Coliform, Fecal Coliform ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แก้ไข โดยเพิ่มการเติมอากาศ 100 %, ปรับตั้งค่า Timer, ซ่อมแซมปั้มและลูกลอย ปี 2563 ปัญหา TKN, fecal Coliform ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แก้ไข ซ่อมระบบไฟฟ้าของปั้ม และมีแผนพัฒนาระยะสั้น เดินท่อน้ำทิ้งไปบำบัดซ้ำที่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมปี 2564  ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียอาคารเพชรรัตน์ และระบบบำบัดน้ำเสียอาคารพัชรกิติยาภา และอาคารทีปังกรฯ แก้ไขตามแผนพัฒนาระยะสั้น นำน้ำทิ้งไปบำบัดซ้ำที่ระบบบำบัดน้ำเสียรวม ไม่ปล่อยออกสู่ท่อสาธารณะ สำหรับอาคารที่ออกแบบมากกว่า 10 ปี ทำให้คุณภาพน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน นั้น แก้ไขโดยการเดินท่อที่ระบบบำบัดน้ำเสียรวม

การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย โดยใช้แนวคิด 3 P  ดังนี้ 1.วัตถุประสงค์( Purpose) วางแผนปรับปรุงซ่อมแซม ดูแลบำรุงรักษา และประสิทธิภาพในการบำบัดให้มีคุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด การดำเนินงาน สารปนเปื้อน ที่ไม่มีประสิทธิภาพ จนทำให้คุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด 2.การดำเนินงาน (Process) ติดตาม ตรวจสอบ และควบคุม การทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ทุกวัน การรายงานตรวจสอบ ถ่ายรูปใน Group Line เป็นต้น 3.ผลลัพธ์ (Performance) การพัฒนาและปรับปรุง (Act/ Improve) การปรับปรุงระบบบำบัดอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงห้องปั๊ม ระบบเติมอากาศ ระบบควบคุมการจ่ายคลอรีนและอ่านค่า pH และการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งตามข้อกำหนดเป็นรายวัน/รายเดือน มีผลการตรวจคุณภาพน้ำทิ้งผ่านเกณฑ์ทุพารามิเตอร์ตามที่กฎหมายกำหนด

ปัจจัยที่นำมาสู่ความสำเร็จ 1.ผู้บริหารองค์กร กำหนดนโยบาย จัดสรร งบประมาณ 2. ให้ความสำคัญกับ “คน” บุคลากรปฏิบัติงาน ติดอาวุธให้หน้างาน 3.มีที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมที่มีความรู้ 4.วางแผนและดำเนินการ เข้าใจปัญหาและ เรียนรู้สิ่งใหม่ 3.มีระบบการรายงานข้อเท็จจริง

ผู้ถอดบทเรียน ณัฐสุดา อั้งโสภา หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล      โรงพยาบาลปทุมธานี

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here