การจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะวิกฤติและความท้าทายในอนาคต

0
4198
การจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะวิกฤติและความท้าทายในอนาคต
การจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะวิกฤติและความท้าทายในอนาคต

การจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะวิกฤติและความท้าทายในอนาคต

ความท้าทายของการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะวิกฤติ ประกอบด้วยงานสำคัญ 3 ส่วน คือ การมีเครื่องมือเพียงพอ พร้อมใช้ และได้มาตรฐาน

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีระบบบริหารงานเป็นอิสระ (Public Agency) อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และให้เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของชาติให้สอดคล้องกับระบบมาตรวิทยาสากล โดยมีพันธกิจสำคัญคือการพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดต่างๆ ในประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาแก่สังคมไทย เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรวิทยา อีกทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

บทบาทสำคัญทางด้าน Healthcare คือ การสร้างความมั่นใจในการวัด ด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาล กระบวนการสร้างความมั่นใจในเครื่องมือวัด มี 3 หลักการสำคัญ คือ ควบคุม สอบเทียบ/ทวนสอบ บำรุงรักษา

นอกจากนี้ สถาบันมาตรวิทยายังมีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ ผ่านงานสำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ 1. การสร้างความร่วมมือกับสถาบันมาตรวิทยาของต่างประเทศ เพื่อดำเนินการสนับสนุน ให้การช่วยเหลือหน่วยงานทางการแพทย์ให้มีเครื่องมือแพทย์ที่เพียงพอ พร้อมใช้ ได้มาตรฐาน
2. จัดตั้งหน่วยบ่มเพาะและรับรองความสามารถทางวิชาการด้านมาตรวิทยาทางการแพทย์ ให้ความรู้กับหน่วยงานที่ต้องการขอการรับรองด้านมาตรฐานเครื่องมือแพทย์

ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ คือ การที่ผู้บริหารมองเห็นความสำคัญในการจัดการเครื่องมือแพทย์ ให้การสนับสนุนในการทวนสอบเครื่องมือให้เป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งการส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ที่ถูกต้อง

บริษัท อาร์เอฟเอส จำกัด ภายใต้การกำกับดูแลของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นหน่วยงานที่ประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในช่วงของการระบาดของโรค Covid-19 แต่สามารถผ่านวิกฤติได้ ด้วยการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ดังนี้

  1. ประเมินความเพียงพอ ความพร้อมใช้ของเครื่องมือแพทย์ให้เป็นปัจจุบันเสมอ
  2. อุปกรณ์ประกอบที่สำคัญ โดยเฉพาะอุปกรณ์ประกอบเครื่องช่วยหายใจต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็น single use เช่น filter ต่างๆ พิจารณาในเรื่อง รุ่นที่สามารถใช้งานร่วมกันหรือทดแทนกันได้ จำนวนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ถ้าต้องสั่งซื้อเพิ่มเติมต้องคำนึงถึงระยะเวลาของเวชภัณฑ์ที่จะเข้ามา ปริมาณที่ต้องสั่งซื้อเพิ่ม รวมถึงระยะเวลาที่สามารถใช้เวชภัณฑ์ตามจำนวนที่มีอยู่ได้
  3. จัดทำคู่มือการใช้อุปกรณ์ เพื่อสื่อสารกับบุคลากร ด้วยความร่วมมือของทีม IC โรงพยาบาล
  4. อบรมการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ให้กับเจ้าหน้าที่เครื่องมือแพทย์ โดยหน่วยงานอาชีวอนามัย
  5. เตรียมความพร้อมระบบ Gas ทางการแพทย์ โดย
    • ประเมินสถานการณ์รายวัน
    • ติดต่อกับ Supplier และหาสำรองไว้หลายๆ แห่ง ให้แต่ละแห่งแจ้งปริมาณที่สามารถส่งมอบได้ตามที่ตกลง
    • ทดลองจับเวลาระยะเวลาการส่งมอบในสถานการณ์ต่างๆจัดทำรายการทะเบียนเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ใน Case EID (Emerging Infectious Diseases) แยกอุปกรณ์ที่ใช้ ไม่ใช้ปะปนกับผู้ป่วยทั่วไป
  6. จัดทำ scenario สถานการณ์ที่เป็น worse case กรณีที่มีผู้ป่วยเข้ามารับบริการมากขึ้น
  7. สำรองอุปกรณ์ให้เพียงพอสำหรับโรงพยาบาลในเครือทั้งหมด รวมทั้ง cohort ward และโรงพยาบาลสนาม
  8. รายงานความพร้อมใช้ ของเครื่องมือและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ

ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะวิกฤติ
1.เวลา เป็นตัวกำหนดสำคัญในการบริหารจัดการ ทุกอย่างต้องแข่งกับเวลา
2.ข้อมูล ต้องใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในการตัดสินใจ ซึ่งข้อมูลที่มีจะต้องเป็นข้อมูลที่สะท้อนภาพความเป็นจริงในช่วงเวลาที่ผ่านมาก ต้องมีการเก็บข้อมูลประจำวันอย่างสม่ำเสมอ
3.การตัดสินใจ ผู้บริหารต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพื่อจัดหาทรัพยากร หรือทำนวัตกรรมต่างๆ ให้ทันต่อสถานการณ์

คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่สามารถฝ่าฟันเรื่องการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในช่วงภาวะวิกฤติได้เป็นอย่างดี ด้วยการผสมผสานแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐาน การมีส่วนร่วมของบุคลากร ชุมชน และนวัตกรรม มีการบริหารจัดการ ดังนี้

ด้านความเพียงพอ

  1. การบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะปกติ ใช้กรอบแนวคิดตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ
  2. กำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ เพียงพอ พร้อมใช้ ได้มาตรฐาน
  3. ในภาวะวิกฤติ แบ่งหน้าที่ให้ผู้บริหารระดับสูงแต่ละฝ่ายเข้ามาประสานงานด้วยตนเอง ทำให้รวดเร็วขึ้น
  4. การรับบริจาค เนื่องจากมีผู้บริจาคอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้บางชนิดเกินความจำเป็น จึงกำหนดประเภทของอุปกรณ์และเครื่องมือที่จะรับบริจาคถ้าเพียงพอแล้ว จะขอรับบริจาคเป็นเงิน เพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์ประเภทอื่นๆ ที่จำเป็น
  5. สำรวจอุปกรณ์ทั้งโรงพยาบาล พบว่า แท้ที่จริงแล้วเครื่องมือไม่ได้ขาดแคลน แต่กระจายอยู่ตามหอผู้ป่วยต่างๆ จึงปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารเครื่องมือเป็นแบบ centralization เพื่อให้มองเห็นการเคลื่อนไหวของการใช้อุปกรณ์ทั้งหมดภายในโรงพยาบาล
  6. จัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มตามแผนที่วางไว้
  7. จัดทำอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้บางชนิดและทำการสอบวัดเองภายในโรงพยาบาล เพื่อแก้ปัญหาอุปกรณ์ขาดแคลน

ด้านความพร้อมใช้

  1. ส่งเจ้าหน้าที่เครื่องมือแพทย์จากส่วนกลางเข้าไปตรวจสอบภายในหน่วยงานที่ให้บริการผู้ป่วย Covid-19 ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด
  2. จัดตั้งโรงล้างอุปกรณ์ชั่วคราว โดยให้แผนก IC โรงพยาบาลเข้ามาช่วยควบคุมด้านการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อ
  3. ตรวจสอบเครื่องมือแพทย์สม่ำเสมอ ให้ได้มาตรฐาน

ด้านมาตรฐาน

  1. จัดอบรม Equipment personnel (EQPP) เป็นพยาบาลที่เป็นตัวแทนของแต่ละแผนกมีหน้าที่ verify ดูแลเครื่องมือเบื้องต้น และมีหน้าที่ประสานงานกับนักวิทยาศาสตร์เครื่องมือแพทย์ ถ้ามีเครื่องใหม่เข้ามา พยาบาลกลุ่มนี้จะเข้ามาเรียนรู้การใช้เครื่องมือก่อน จากนั้นจะช่วยถ่ายทอดให้กับพยาบาลคนอื่นๆในแผนก
  2. จัดทำ Video clip สอนการใช้เครื่องมือผ่าน QR code ที่ติดไว้ที่เครื่องมือ

ปัจจัยความสำเร็จการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ 1. ผู้บริหารลงมือด้วยตนเอง 2.ตัดสินใจลงมืออย่างรวดเร็ว

บทสรุปการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะวิกฤติ การบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะวิกฤตินั้น ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญขึ้นอยู่กับ การจัดการข้อมูล ซึ่งแต่ละองค์กรต้องมีการเก็บข้อมูลที่เป็น daily report
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะการตัดสินใจของผู้บริหารต้องทำภายใต้ข้อมูลที่มีคุณภาพ ในภาวะวิกฤติต้องการผู้นำที่ลงมือทำจริง หรือควบคุมกำกับอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผู้ถอดบทเรียน จุฑาธิป อินทรเรืองศรี ผู้จัดการแผนกบริหารคุณภาพ โรงพยาบาลนมะรักษ์
เฉพาะทางศัลยศาสตร์มะเร็ง ขนาดเล็ก

ภาพถ่ายโดย Tara Winstead จาก Pexels


ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here