การถอดบทเรียนผลการพัฒนาคุณภาพด้วยตนเอง

0
15074
การถอดบทเรียนผลการพัฒนาคุณภาพด้วยตนเอง
การถอดบทเรียนผลการพัฒนาคุณภาพด้วยตนเอง

การถอดบทเรียนผลการพัฒนาคุณภาพด้วยตนเอง
การถอดบทเรียนผลการพัฒนาคุณภาพด้วยตนเอง

ในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลนั้น เมื่อมีการดำเนินการไปถึงระดับหนึ่ง เราจะสามารถมองเห็นผลลัพธ์จาก   ตัวชี้วัดหรือผลการประเมินในรูปแบบต่างๆ แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นอาจไม่ได้สะท้อนผลการพัฒนาคุณภาพได้อย่างครบถ้วน “การถอดบทเรียน” จึงเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เห็นถึงผลการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งการถอดบทเรียนผลการพัฒนาคุณภาพนั้นสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยมีวิธีการ/ขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. รวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ถอดบทเรียนสนใจที่จะนำมาถอดบทเรียนหรือได้รับมอบหมาย ซึ่งได้มาจากการศึกษาค้นคว้า การสังเกต การฟัง การซักถาม หรือการใคร่ครวญ
  2. จัดกลุ่ม เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ผู้ถอดบทเรียนจะต้องนำมาจัดกลุ่มเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ เช่น วิธีการ วิธีคิด/แนวคิด/หลักคิด วลีสำคัญ (วลีฮุค) ต้นทุน ผลลัพธ์/ผลการประเมิน ปัจจัยหนุน/ต้าน หรือด้านอื่น ๆ ที่ผู้ถอดบทเรียนสนใจ
  3. สกัดหัวใจของเรื่อง ผู้ถอดบทเรียนอาจจับประเด็นสำคัญของเรื่องโดยการใช้กรอบแนวคิดต่าง ๆ เข้ามาช่วย เช่น Management Framework (การนำ ยุทธศาสตร์ การมุ่งเน้นลูกค้า การวัด/วิเคราะห์/การจัดการความรู้ กำลังคน กระบวนการ/ระบบงาน การบริหารความเสี่ยง ฯลฯ)
  4. สังเคราะห์บทเรียนที่มีคุณค่า (Value Statement) ผู้ถอดบทเรียนจะต้องมองหาคุณค่าของเรื่องที่ว่าคืออะไร ซึ่งควรจะต้องเป็นคุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่องาน
  5. ทบทวนเป้าหมายการถอดบทเรียน โดยใช้หลักการ 5W1H
    • What หัวใจของเรื่อง
    • Why มีคุณค่ากับอะไร
    • Who ใครเป็นผู้อ่าน
    • When อ่านเมื่อใด
    • Where อ่านที่ไหน
    • How จะเรียงเรียงเนื้อหาอย่างไร (โครงสร้างเนื้อหา)
  6. ออกแบบงานเขียน (Knowledge Capture Form) เป็นขั้นตอนของการวางแผนว่างานถอดบทเรียนนั้นจะมีรูปแบบเป็นอย่างไรบ้าง โดยจะต้องมีการกำหนดโครงสร้างงานเขียน นำเนื้อหามาเรียบเรียง วางแผนการปฏิบัติ (ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร)
  7. ปฏิบัติตามแผน เมื่อวางแผนและออกแบบแล้ว ผู้ถอดบทเรียนจะเริ่มร่างองค์ความรู้ โดยเมื่อร่างเสร็จแล้ว ควรต้องมีการส่งต่อให้ทีมงานตรวจสอบความถูกต้องในเบื้องต้น จากนั้นควรส่งให้กับผู้ให้ข้อมูลหรือผู้พูดได้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหาว่าตรงกับที่ผู้ให้ข้อมูลนั้นต้องการสื่อสารหรือไม่ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องส่งให้บรรณาธิการตรวจสอบความถูกต้องทั้งในภาพรวมทั้งความถูกต้องของเนื้อหา การใช้ภาษา หลักไวยากรณ์
  8. เผยแพร่ เมื่อองค์ความรู้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนการเผยแพร่เนื้อหา ซึ่งทีมงานถอดบทเรียนนั้นจะต้องเลือกรูปแบบว่าจะเผยแพร่ในรูปแบบใด เช่น หนังสือ e-book และเผยแพร่ช่องทางใดบ้าง เช่น การส่งเอกสารไปยังหน่วยงาน ในเว็บไซต์ หรือช่องทางอื่น ๆ ที่สามารถเผยแพร่ได้

จะเห็นได้ว่าการถอดบทเรียนนั้นมีขั้นตอนที่ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน แต่จำเป็นที่ผู้ถอดบทเรียนจะต้องมีทักษะในการจับประเด็น สังเคราะห์ข้อมูล แบบการเรียบเรียงเนื้อหาที่ดีเพื่อให้ผลการถอดบทเรียนนั้นมีคุณค่าและเกิดประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด เมื่อฝึกถอดบทเรียนจนชำนาญแล้ว เชื่อว่าการถอดบทเรียนก็จะเป็นอีกเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยให้ทุกองค์กรสามารถเข้าใจผลการพัฒนาคุณภาพจนนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

 

นายสุทธิพงศ์ คงชุม

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานพัฒนาคุณภาพการบริการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

นักถอดบทเรียน สรพ. รุ่น 3

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here