การประยุกต์ใช้แนวคิด 3C PDSA ในการจัดทำแผนพัฒนาตามข้อเสนอแนะจากการเยี่ยมสำรวจ
วันนี้เคล็ดลับคุณภาพขอเสนอแนวทางการจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพ หัวข้อการประยุกต์ใช้แนวคิด 3C PDSA ในการจัดทำแผนพัฒนาตามข้อเสนอแนะจากการเยี่ยมสำรวจเมื่อโรงพยาบาลผ่านการรับรอง แล้วทำอย่างไรจึงจะเกิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพ ที่ต่อเนื่องและตรงประเด็น กลยุทธ์หนึ่งในการพัฒนาต่อเนื่องหลังจากการรับรอง HA แล้ว คือ การวางแผนการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล แต่ท่านผ่านมามักประสบปัญหาหลายประการ เช่นการเปลี่ยนทีมผู้ประสานงาน การไม่เข้าใจข้อเสนอแนะ ทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถวางแผนและนำสู่การปฏิบัติจริงได้ และเกิดผลกระทบต่อมาจนถึงการต่ออายุการรับรอง
วันนี้เคล็ดลับคุณภาพ ขอเสนอการใช้แนวคิดคุณภาพขั้นพื้นฐานที่คุ้นเคย มาใช้ในการวาแผนการพัฒนาจากข้อเสนอแนะ ดังนี้
- ถอดรหัสมาตรฐานที่ตรงตามข้อเสนอแนะ เป้าหมาย คุณค่า ใครทำ ใครได้ ต้องทำอะไร เพราะผู้เยี่ยมให้ข้อเสนอแนะตามหมวดมาตรฐาน ขอให้เปิดดูเป้าหมายของมาตรฐานและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ว่ามีอะไรบ้าง ทำอะไร เชื่อมโยงกับใครบ้าง เพื่อทำให้ทิศทางการวางแผนของ รพ.ชัดเจนมากขึ้น และเห็นคุณค่าของสิ่งที่กำลังจะทำ
- รับรู้สถานการณ์ บริบท ปัญหาที่เกี่ยงข้อง รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง จากทีม /SAR ของรพ. รวมทั้งสถานการณ์ที่ผู้เยี่ยมพบ ณ ขณะนั้นเป็นอย่างไร ทีมควรจะแลกเปลี่ยนเพื่อให้เห็นสถานการณ์ที่ชัดขึ้น
- วิเคราะห์ เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล และสถานการณ์แล้วควรนำมาร่วมกันวิเคราะห์ ปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของแต่ละประเด็น ตรงนี้มีเครื่องมือคุณภาพหลากหลายทีมสามารถนำมาใช้ในการจัดลำดับความสำคัญได้ เช่น Matrix การใช้บัตรคำ การระดมความเห็น เป็นต้น
- ตั้งเป้า วาดภาพสิ่งที่อยากเห็น เปลี่ยน Concept ให้เห็นตัววัดให้ชัดเจน ตรงนี้มิติคุณภาพต้อเข้ามา ทำให้ทีมเข้าใจตรงกันว่าเราจะมุ่งไปที่ใด จะมุ่งไปที่ความรวดเร็ว ทันเวลา Safety หรือ Appropriate แล้วกำหนดตัววัดให้ตรงตามมิตินั้น
- เฝ้าดู หา baseline ของตัววัดที่กาหนด แล้วติดตามต่อเนื่อง เชื่อมโยงมาจาก ข้อที่ 4 การกำหนดตัววัดและเป้า ต้องใช้ข้อมูล evidence base และการเทียบเคียงที่เหมาะสม มีข้อมูลของตนเองพอจะนำมาใช้บอกแนวโน้มได้
- ออกแบบ วางแผนการปรับปรุง อาจใช้แนวคิด HFE เป็นการร่วมคิดกระบวนการ ให้ทีมใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกมาให้มากที่สุด Facilitator จึงสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ หรือถ้าคิดไม่ออกอาจจะใช้ SPA หรือ SPA in action เป็นแนวทางในการปรับปรุงได้
- สื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจในสิ่งที่จะทำ กระบวนการที่จะปรับปรุง โดยกำหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาที่ชัดเจน
- ปฏิบัติ นำแผนสู่การปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
- ติดตามโดยการกำหนดวิธีการติดตาม ใช้เวที เครื่องมือ ระยะเวลา และตัวชี้วัดในการติดตามอาจจะนำ Scoring guideline เพื่อประเมินผลจากการพัฒนาและใช้เป็นแนวทางต่อยอดการพัฒนาได้อีกด้วย
- ปรับปรุง นำสิ่งที่พบจากการติดตามเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง หรือทบทวนบทเรียนจากการปรับปรุง โดยตอบ SAR ใหม่ หรือจัดทำเป็นสรุปรายงานความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพแต่ละข้อให้ชัดเจน
ดังนั้นแนวคิดคุณภาพสามารถใช้แบบประยุกต์กับกระบวนการทำงานได้ทุกกระบวนการ งานประจำและงานคุณภาพจึงเป็นเรื่องเดียวกัน เรามาทำงานประจำให้มีคุณภาพกันนะคะ “พัฒนางาน พัฒนาคน เพื่อประโยชน์ของผู้รับผลงาน” ดูน้อยลง