การประเมินผู้ป่วย และการอธิบายผลการตรวจวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วย

0
5730
การประเมินผู้ป่วย และการอธิบายผลการตรวจวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วย
การประเมินผู้ป่วย และการอธิบายผลการตรวจวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วย

ในมาตรฐานฉบับใหม่ในเรื่องการประเมินผู้ป่วย มีการเพิ่มเติมในประเด็น

การประเมินผู้ป่วย และการอธิบายผลการตรวจวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วย
การประเมินผู้ป่วย และการอธิบายผลการตรวจวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วย

– ควรมีการประเมินความชอบส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อให้ทีมงานสามารถจัดบริการได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย การตอบสนองความชอบส่วนบุคคลมักจะทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายกับบรรยากาศที่ต้องมาอยู่ในโรงพยาบาลมากขึ้น ตัวอย่างความชอบส่วนบุคคล เช่น การเรียกคำแทนตัวผู้ป่วย เสื้อผ้า อาหารเครื่องดื่ม มื้ออาหาร การให้คนเข้าเยี่ยม แต่เรื่องนี้ ไม่ได้คาดหวังว่าโรงพยาบาลจะต้องไปสร้างแบบฟอร์มใหม่ ให้เป็นภาระของเจ้าหน้าที่ในการกรอกข้อมูล แต่มุ่งหวังให้เจ้าหน้าที่มีความไวมากขึ้นในการรับรู้ความต้องการของผู้ป่วย

– การให้ความสำคัญกับการลดความผิดพลาด/ ความล่าช้า ในการวินิจฉัยโรค เนื่องจากประเด็นนี้กระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และยังเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาล คลินิก และงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยควรมีการทบทวนเหตุการณ์ความผิดพลาด/ ความล่าช้า ในการวินิจฉัยโรค โดยทีมงานที่ประเมินผู้ป่วยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาโอกาสในการพัฒนากระบวนการประเมินผู้ป่วยให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วมากขึ้น

ในบท การประเมินผู้ป่วย หัวข้อ การส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค ข้อ 4. ได้กำหนดว่า

“มีการอธิบายผลการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วย. มีการพิจารณาการส่งตรวจเพิ่มเติมเมื่อพบว่าผลการตรวจมีความผิดปกติ”

การอธิบายผลการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารที่ทำให้ผู้ป่วยรับรู้ว่า ผลการตรวจไม่ว่าจะปกติหรือผิดปกติ มีความหมายว่าอย่างไร สอดคล้องกับประวัติผู้ป่วยและผลการตรวจร่างกายหรือไม่ และจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ทั้งนี้ ข้อความในมาตรฐานกำหนดขึ้นบนฐานความเชื่อที่ว่า การประเมินความต้องการและปัญหาสุขภาพอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเหมาะสม ต้องการการมีส่วนร่วมรับรู้และตัดสินใจจากผู้ป่วยและญาติ

ตัวอย่างเช่น เมื่อผลการตรวจเอกซเรย์ปอดหญิงอายุ 80 ปี พบก้อนที่ปอดข้างซ้ายขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร ซึ่งโตขึ้นกว่าผลเอกซเรย์ปอดปีก่อนประมาณ 1 เซนติเมตร แต่ผู้ป่วยไม่มีอาการ แพทย์ได้อธิบายผลการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคว่าก้อนนี้อาจเป็นมะเร็ง โดยทฤษฎีจึงน่าจะทำ CT scan และ bronchoscope เพื่อตัดชิ้นเนื้อไปตรวจยืนยัน แต่ผู้ป่วยและญาติคิดว่า สภาพผู้ป่วยยืนและเดินไม่ได้ เป็นโรคหัวใจ และการจะตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากการตรวจ จึงปรึกษากับแพทย์และตัดสินใจไม่ตรวจเพิ่มเติม

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here