การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยเตียง

0
5728

จากเหตุการณ์ที่มีผู้ป่วยตกเตียงในขณะเคลื่อนย้าย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงขึ้น และนำมาซึ่งการเรียกร้องความรับผิดชอบจากโรงพยาบาล เหตุการณ์ในลักษณะนี้น่าจะสามารถป้องกันได้นระดับหนึ่ง โดยการปฏิบัติงานที่มีความรัดกุมมากขึ้น

Association of Surgical Technologists (AST) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำแนวปฏิบัติที่ดีที่ช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยเตียง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ตรวจสอบสภาพของเตียงว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ขาเตียง ราวกั้น ล้อ เข็มขัดรัดผู้ป่วยสามารถล็อคได้จริง
  • เอาราวกั้นเตียงขึ้นทุกครั้ง ในขณะเคลื่อนย้าย
  • คาดเข็มขัดรัดผู้ป่วยกับเตียงให้เรียบร้อย
  • ตรวจสายน้ำเกลือ สายสวนปัสสาวะ สายระบาย (drain) และสายชนิดอื่นๆ ว่าวางถูกต้องและยึดติดกับตำแหน่งอย่างแน่นหนา ขวดเก็บของเสียและถุงปัสสาวะให้แขวนอยู่ห่างจากศีรษะผู้ป่วย
  • มั่นใจว่าศีรษะ แขน และขา ได้รับการปกป้องจากการถูกกระแทก โดยผู้ป่วยยังคงรู้สึกสบายตามสมควร
  • ในขณะเข็นเตียง ควรให้เท้าของผู้ป่วยนำไปข้างหน้า หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในช่วงเลี้ยว เพื่อป้องกันการตกเตียงและการทำให้ผู้ป่วยเวียนศีรษะ
  • ผู้เข็นเตียงควรอยู่ด้านศีรษะของผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งจากการที่ผู้ป่วยอาการทรุดลงขณะเคลื่อนย้าย หรือการมีสิ่งกีดขวางระหว่างทาง ถ้ามีผู้เข็นเตียง 2 คน คนที่สองควรอยู่ด้านเท้าผู้ป่วย
  • ไม่ใช้เตียงดันประตูห้องให้เปิด เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • กรณีใช้ลิฟต์ ควรล็อคประตูลิฟต์ขณะเข็นผู้ป่วยเข้าไป และควรนำศีรษะผู้ป่วยเข้าไปก่อน
  • มีการสื่อสารกับผู้ป่วยเป็นระยะ และคลุมผ้าให้ผู้ป่วยตลอดเวลา เพื่อป้องกันการเผยร่างกายส่วนต่างๆ ที่อาจสร้างความอับอายให้ผู้ป่วย

Photo by Hush Naidoo on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here