ในระบบยาของมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4 ได้มีการเพิ่มประเด็นใหม่ เกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพ โดยกำหนดไว้ว่า
“องค์กร (โดย PTC) ดำเนินการแผนงานใช้ยาสมเหตุผล (Rational Drug Use Program) และแผนงานดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Stewardship Program) ด้วยมาตรการร่วมกันหลายประการ เพื่อส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพและยาอื่นๆอย่างเหมาะสม”
กลยุทธ์ที่น่าจะนำมาใช้ เพื่อส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ได้แก่
- การกำหนดนโยบายเรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพเป็นลายลักษณ์อักษร โดยนโยบายดังกล่าวมุ่งสร้างกรอบการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างเป็นระบบและบูรณาการ
- พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ
- กำหนดมาตรการที่สำคัญในเรื่อง
- การกำหนดเชื้อดื้อยาที่ต้องเฝ้าระวัง เช่น Baumannii และการวางกระบวนงานเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา
- การจัดวางระบบและกระบวนงานจัดการด้านยาต้านจุลชีพ ที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับข้อบ่งชี้ทางคลินิก ในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล ในระยะเวลาที่เพียงพอต่อการรักษาโรคนั้น และเกิดความคุ้มค่าสูงสุดทั้งต่อตัวผู้ป่วยและต่อสังคม
- การแยกผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ
- การบูรณาการการจัดการเชื้อดื้อยาระหว่างห้องปฏิบัติการกับผู้ดูแลผู้ป่วย
- มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในสถานพยาบาล