ในปีพ.ศ. 2560 มีรายงานผู้ป่วย rheumatoid arthritis จำนวนหนึ่งที่ได้รับยา chloroquine ต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี แล้วเกิดผลข้างเคียงคือ maculopathy จนถึงระดับ blindness ซึ่งพยาธิสภาพยังคงดำเนินไปต่อเนื่องแม้จะหยุดยาไปแล้ว ซึ่งผลข้างเคียงจากการให้ยาในระยะยาว ยังเกิดขึ้นได้กับยาตัวอื่นๆอีกหลายตัว เช่น เช่น warfarin, Dilantin
ในทางปฏิบัติ มีโอกาสที่แพทย์จะสั่งใช้ยาต่อเนื่องในระยะยาว โดยไม่ทันได้นึกถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เพราะคิดว่าได้สั่งยาในขนาดเดิมที่ผู้ป่วยเคยได้รับอยู่ และที่ผ่านมาผู้ป่วยก็ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แนวทางที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการใช้ยาต่อเนื่องในระยะยาว ได้แก่
- ผู้บริหารโรงพยาบาลควรวางระบบการสั่งจ่ายยาโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computerized Prescriber Order Entry – CPOE) ให้มีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน มีการแจ้งเตือนผลข้างเคียงสำคัญของยาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และปฏิกิริยาระหว่างยาที่สั่งใช้
- แพทย์ผู้สั่งยาควรมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยาที่ตนสั่งจ่าย ทั้งในเรื่องขนาดยาที่ปลอดภัย ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ปฏิกิริยากับยาตัวอื่นหรืออาหารที่รับประทาน และขนาดยาที่ต้องปรับให้เหมาะสมเมื่อการทำงานของตับหรือไตเสื่อมลง
- แพทย์ผู้สั่งยาควรมีการทบทวนข้อบ่งชี้การใช้ยา และขนาดของยาที่มีการสั่งใช้มานาน เป็นระยะๆ และตรวจสอบเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีการให้ความรู้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนด้วย
- ทีมระบบยาควรมีการสุ่มทบทวนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในยากลุ่มที่มีการสั่งใช้มาต่อเนื่องยาวนาน
Photo by Sharon McCutcheon on Unsplash