คุณภาพที่สังคมสัมผัสได้

0
2696
คุณภาพที่สังคมสัมผัสได้
คุณภาพที่สังคมสัมผัสได้

คุณภาพที่สังคมสัมผัสได้

“ถ้าโรงพยาบาลผมจะเจ้ง เพราะผมต้องดูแลคนไข้ในมาตรฐานอันควร ผมไม่ลังเล”                                                                                                                          นพ.เกรียงศักดิ์ เอกพงษ์ 

การพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาล เป้าหมายที่สูงสุด คือ การทำให้ประชาชน ผู้รับบริการได้รับการบริการที่ปลอดภัย  มีมาตรฐาน มีระบบการจัดการที่ดี โดยคำนึงถึงคุณค่ าและความหมายที่จะส่งมอบให้กับผู้รับบริการในฐานะของความเป็น

นพ. กิติศักดิ์ เกษตรสินสมบัติ แนวคิดเรื่องการพัฒนาคน เพื่อให้คนพัฒนางานเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองและรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือความท้าทายที่โรงพยาบาลต้องเผชิญ โดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบันของระบบบริการสุขภาพ เพราะ “คน” เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้โรงพยาบาลเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ได้ แต่โดยวิสัยทั่วไปของคนส่วนใหญ่มีความรู้ รู้ว่าสิ่งใดดี แต่ส่วนใหญ่อีกเช่นกันที่ไม่สามารถนำความรู้ที่มีไปสู่การเปลี่ยนแปลง แก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมได้ จึงต้องมีแนวทางในการพัฒนาคน โรงพยาบาลปัว ดำเนินการพัฒนาคนในโรงพยาบาลโดยการฝึกทักษะการฟัง และสร้างโอกาสให้คนมีความสามารถได้แสดงความสามารถ นอกจากนี้ได้จัดอบรมเรื่อง งาน พลังกลุ่ม และความสุข ใช้งานที่เห็นค่า ความเป็นทีมและความสุขเป็น driver ที่สำคัญ เพราะการจะพัฒนาเพื่อให้คนเป็นพลังขับเคลื่อนนั้นต้องพัฒนาคนทุกคนในองค์กร หรือในโรงพยาบาลอย่างเท่าเทียม แม้ว่าคนๆ นั้นจะเป็นกลุ่ม Back office ซึ่งเปรียบเสมือนสวนหลังบ้าน เป็นฟันเฟืองตัวน้อยๆ ต้องเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน เพื่อให้ทุกคนเห็นคุณค่าตนเอง และงานที่ตนเองทำซึ่งจะทำให้คนทำงานมีความสุข นอกจากนี้โรงพยาบาลปัวได้จัดอบรม เรื่อง สติในองค์กร (Mindfullness in Organization) เพื่อให้คนในโรงพยาบาลนำมามาเป็นเครื่องมือในการเรียกสติ ระลึกถึงคุณค่าของงาน เมื่อเกิดปัญหา อุปสรรคจากการทำงาน เกิดความท้อใจ

พญ.ผกาพันธุ์ เปี่ยม การเป็นคนเก่งเพียงคนเดียวในโรงพยาบาลไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้การทำคุณภาพสำเร็จได้ แต่ต้องมีทีมซึ่งเป็นทีมที่มีเป้าหมายเดียวกัน เดินไปด้วยกัน ผู้นำต้องมีความกล้า ขจัดความกลัว ทำตนเองให้มีพลังเชิงบวก เมื่อเริ่มขึ้นมาเป็นผู้นำองค์กรในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล พบว่าการพัฒนาโรงพยาบาลให้เจริญก้าวหน้าต้องทำให้คนทำงานมีพลัง ดังนั้น จึงเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงตนเอง เรียนรู้เรื่องของ SHA และแนวคิดจิตปัญญาเพื่อให้เปลี่ยนแปลงจากภายในมี Growth mindset  และ mindset แรกที่ต้องเปลี่ยนคือ การเป็นผู้นำที่เป็นผู้ให้ ไม่ใช้อำนาจในการนำ ใช้เมตตาในการนำ ขณะเดียวกันดังได้กล่าวแล้วการทำงานต้องมีทีม โดยเฉพาะทีมนำ เป็น Chang agent ต้องเปลี่ยนทีมนำให้เป็นผู้มีหัวใจของความเป็นพี่ของทุกคนในรงพยาบาล แนวทางและวิธีการที่โรงพยาบาลจอมนำมาใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาให้เกิดคุณภาพ

นพ.เกรียงศักดิ์ เอกพงษ์  ถ้าจะทำคุณภาพให้สัมผัสได้ ต้องทำด้วย SHA (Sustainable Health Promotion and Hospital Accreditation) ทำด้วยใจที่ปรารถนา ทำด้วยความสามารถจึงจะทำสำเร็จ การทำด้วยใจที่ปรารถนาต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่ตนเองซึ่งมีหลายวิธีการแต่ที่เลือกใช้ คือใช้การวัดระดับจริยธรรมของตนเองว่าเรากำลังทำสิ่งนั้นเพื่อใคร หากทำเพื่อตนเองเป็นจริยธรรมระดับต่ำสุด แต่หากเมื่อใดเป็นการทำเพื่อคนไทยทั้งมวล ทำเพื่อมนุษยชาติแสดงถึงความมีจริยธรรมในระดับสูง ทั้งนี้เพื่อให้ตัวเราระลึกรู้ว่าควรต้องยกระดับจิตใจของเมื่อใด การทำด้วยความสามารถ คือการเปลี่ยนแปลงผู้อื่นโดยใช้เหตุผล สื่อสารเพื่อทำให้ทุกคนรับรู้เป้าหมายเดียวกัน ผู้นำต้องทำเป็นตัวอย่าง ใช้บารมีให้มาก ใช้อำนาจน้อยลงเพื่อให้คนรอบข้างเปลี่ยนตามด้วยใจ และจากประสบการณ์กลุ่มคนที่ควรเปลี่ยนให้ได้ก่อนคือ กลุ่มทีมนำ หรือระดับ QMR สำหรับโรงพยาบาลกุมภวาปีเพิ่มการเปลี่ยนวิสัยทัศน์โรงพยาบาล เพื่อให้วิสัยทัศน์เป็นเป้าหมาย เป็นตัวตั้ง และเป็นการบอกว่าไม่ใช่ทำเพื่อชื่อเสียงโรงพยาบาล แต่ทำเพื่อประชาชนทุกคน และหากเมื่อใดคนทำงานมีปัญหาระหว่างกัน ให้ทุกคนสะท้อนคิดจากวิสัยทัศน์ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของโรงพยาบาล

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี คุณภาพที่สังคมสัมผัสได้

ถอดบทเรียน ขวัญจิตร เสียงเสนาะ

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอู่ทอง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here