คุยเรื่อง digital mindset กับคนโรงพยาบาลเขาทำกันอย่างไร
นพ.บดินทร์ ทรัพย์สมบูรณ์ ในชีวิตการทำงาน สิ่งที่ยากคือ การให้คนมาช่วยกันทำงาน และการทำงานเป็นทีม เนื่องจากแต่ละคนมี Mindset ที่แตกต่างกัน เหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้น ในการที่ทำให้สนใจศึกษา มีโอกาสได้จัดทำ workshop บรรยาย และถูกเชิญมาเป็นวิทยากรในครั้งนี้
การเรียนรู้ของมนุษย์มี รู้ตน รู้คน รู้งาน หากจะเปลี่ยนเรื่อง Mindset ต้องทำให้คนเรา รู้ตน ที่ผ่านมาเราเรียนรู้งานเป็นหลักซึ่งไม่ผิด แต่เมื่อเอาคนมาทำงานร่วมกันแล้วพบว่ามีปัญหาต่างๆ มากมาย ในบางครั้งส่งผลให้งานไม่เสร็จ ดังนั้น การรู้ตน จะเป็นตัวส่งเสริมการทำงาน
Mindset มีคำอธิบายที่หลากหลายเช่น กรอบความคิด ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม พฤติกรรม การตัดสินใจ เป็นต้น จากโลกที่เปลี่ยนไป เราใช้งานอุปกรณ์ เทคโนโลยี ต่างๆ จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ในทางการแพทย์เราจะพบว่ามีสถานการณ์ Digital health เช่น ช่วงนี้ที่เรามี คำว่า New Normal, Work Form Home หรือ Application หมอพร้อม เหล่านี้เป็น Digital health ที่เพิ่มเติมมาจาก การติดตั้งคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่าง การดูภาพฉายรังสีทางคอมพิวเตอร์ ที่มีมานานแล้ว เป็น Digital health ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อชีวิต ล้วนผ่านการคิดของพวกเรา ว่าอยากทำ ไม่อยากทำ ทำไมต้องทำ อาจจะสนุกสนาน ท้าทายหรือ ลำบาก เหล่านี้เป็น Mindset ที่เกี่ยวข้องกับระบบ Digital หรือ Digital Mindset ในภาคของรัฐบาล มีนโยบาย Electronic Government ของภาครัฐบาล กำหนดให้มีการพัฒนา กรอบแนวคิดทักษะ digital ที่สำคัญในการทำงาน เพื่อปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาล Digital ไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะ ประสบการณ์ ความรู้
ซึ่งในหนังสือประกาศ เน้นย้ำเรื่องเพื่อให้มีกรอบความคิด ในการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้มีทักษะเฉพาะที่เพิ่มขึ้น
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจาก Mindset ทั้งหมด ส่งผลให้มีการวัด DQ: digital quotient ซึ่งจะพบว่าเป็นคำ
ในเชิงนามธรรม เช่น มีรายละเอียดข้อหนึ่ง คือ การยับยั้งชั่งใจ ใจเขาใจเรา เข้าใจสิทธิส่วนตัว ซึ่งไม่ใช่ skill แต่เป็น Mindset
Digital Health ส่งผลให้มีการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งความรู้ ทักษะ รวมถึง ทัศนคติ สถานการณ์ Covid -19 ที่ผ่านมาได้เรียนรู้คือ ว่าอะไรที่คิดว่าทำไม่ได้ ความจริงทำได้ ซึ่งหากไม่มีสถานการณ์จริงเราจะสอนยาก เพราะเราไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร
เราอาจเคยได้ยินว่า Fixed Mindset คือ มีกรอบความคิดแบบปิดตาย หลีกเลี่ยงปัญหายากๆ ต้องดูฉลาดในสายตาคนอื่น ไม่สนใจคำแนะนำที่มีประโยชน์ และ Growth Mindset คือ ไม่ย่อท้อ พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา ความสำเร็จของผู้อื่น คือแรงบันดาลใจ เพื่อหาโอกาสพัฒนา ในการนำมาประยุกต์ทำกิจกรรมพัฒนาบุคลากร เราอาจใช้ประเด็นคำถามง่าย แล้วให้คำตอบว่า เราเป็น Fixed หรือ Growth Mindset การเพิ่ม Growth mindset ในองค์กร คือ No blame culture หรือวัฒนธรรมไม่ตำหนิ
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาแนวคิดการเรียนรู้ที่ได้ผลมากที่สุดคือ transformative learning skill หรือการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นศาสตร์ ที่สามารถพัฒนา Mindset ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากหนังสือ เคี่ยวคน 5% เห็นผลทั้งองค์กร บอกว่าหากคุณปลุกไฟพนักงาน 5%ให้พนักงานในองค์กร ไฟนั้นจะลุกลามทั้งองค์กร ถ้าคุณอ่านใจคนได้ร่วมกับถ่ายทอดความตั้งใจจริงและเชาว์ปัญญา เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมใครได้ ดังนั้น ต้องเปลี่ยนทัศนคติ ที่ส่งผลติอพฤติกรรม พฤติกรรมทำให้เกิดผลลัพธ์ ผลลัพธ์ทำให้เกิดความสำเร็จ
มนุษย์มี Mindset แบบดั้งเดิม คือ เรื่องคุณค่า ความรัก เมตตา กรุณา ตั้งแต่เราเกิด การเปลี่ยน Mindset ความจริงแล้วคือเรากลับไปที่ Mindset เดิม คือ ความรัก ถ้าอยากเปลี่ยน Mindset ใคร ใหใช้ความรักนำทาง
พญ.อนงค์พร ผาภูมิ ความสุขของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน เช่น การได้ไปเที่ยว การได้อยู่กับครอบครัวที่มีสุข การมีเงิน การได้ออกกำลังกาย ศาสนา องค์ ดาไล ลามะ ได้ลี้ภัยจาก ธิเบต ไปอินเดีย ท่ามกลางความสูญเสีย เนื่องจากประชนชนและผู้ติดตามได้เสียชีวิตจำนวนมาก และท่านต้องจากบ้านเมือง ไปใช้ชีวิตในที่ไม่คุ้นเคย แต่จากการไปสัมภาษณ์ ท่านกลับมีความสุข เพราะทัศนคติ บ้านคือทุกที่ที่อาศัย จะเห็นว่า ความสุขง่าย ๆ มากแค่มีความยืดหยุ่น หรือกรณียายยิ้ม เย้ยยาก ที่สร้างฝาย 16 ฝาย ยายบอกไม่เหนื่อย เพราะไปทำงานเหมือนไปทำบุญ นี่คือ ตัวอย่าง Mindset ที่มีผลต่อพฤติกรรมตอนเด็กเคยอยากเป็นศิลปิน ต่อมาเมื่อป่วยได้ไปหาหมอก็อยากเป็นหมอ วัยรุ่นอยากเป็นนักร้องจะพบว่าMindset เติบโตเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ตามปัญหาที่พบเจอ ต่อยอดจากเรื่องราวในอดีต สร้างขึ้นได้จากแรงบันดาลใจ
เริ่มต้นการทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล โดยต้องรับบทบาท นำโรงพยาบาล Re-Accreditation HA ทั้งที่ไม่มีความรู้ ซึ่งต้องยอมรับและขอโอกาสเรียนรู้ โดยการติดตามเรียนรู้จากหัวหน้าพยาบาล ส่วนตัวมองว่า HA เป็นกระบวนการที่ยาก ระหว่างกระบวนการ มีร้องให้เสียน้ำตา ซึ่งเมื่อผ่านมาได้ ก็เป็นความภาคภูมิใจร่วมกันกับทีม
มีครั้งหนึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ลงมาเยี่ยมที่โรงพยาบาล ที่มาถามว่าเคสไหนหนักสุด พบว่ามีคนไข้อายุ 106 ปี ชื่อยายแก้ว มาตยะ ที่ติดเชื้อมีอาการความดันโลหิตต่ำ นอนนิ่งมา 3 วัน ผู้ว่าไปเยี่ยมคนไข้ บอกว่าเป็นผู้ว่าเป็นพ่อเมือง คุยกับคนไข้ด้วยภาษาที่คนไข้เข้าใจและเข้าถึง ทำให้คนไข้ให้มีแรงลุกขึ้นมาคุยด้วย และสุดท้ายคนไข้รายนี้ก็สามารถกลับบ้านได้ในที่สุด ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจมากในขณะนั้น แสดงให้เห็นว่า มี trigger point ที่สำคัญหลังจากคนไข้รายนั้นกลับบ้าน ได้รายงานผู้ว่า ซึ่งท่านได้ให้คำแนะนำว่ารักษากายแล้วอย่าลืมรักษาใจคนไข้ด้วย
ซึ่งเป็นคำพูดที่เปลี่ยน Mindset ของตนเองมากในขณะนั้น โดยท่านผู้ว่าได้เกษียณไปแล้ว ในตำแหน่งปลัดกระทรวง และ ในช่วงที่เป็นหมอเด็กที่โรงพยาบาลชุมชนก็มีทารกน้ำหนักน้อย และมารดาไม่เอา จนเด็กสามารถกลับไปอยู่กับแม่ได้ ใน 6 เดือน และแม่ก็พามารับวัคซีน และกลับมาขอบคุณ
สิ่งที่ได้เรียนรู้ ในชีวิตการทำงาน ทีมเวิร์คจะส่งผลให้งานสำเร็จ อย่าถอดใจแม้ปัญหาจะใหญ่แค่ไหน จงเป็นประโยชน์ทุกที่ที่เราไปอยู่หาเพื่อนร่วมเดินทาง เพราะเราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ จงสร้างกำลังใจให้กันและกันทำทุกที่ให้เหมือนบ้านของเรา อย่าลืมตามความในของตัวเอง
Mindset ปัจจุบันที่ได้เรียนรู้ Systematic system กลับไป set รับในโรงพยาบาล Knowledge base
ไม่ทิ้งความรู้ Happiness base เมื่อมีความสุขเราจะอยากไปทำงาน No blame cultures Humanity approach พนักงานที่ตำแหน่งน้อยความ มีหลายๆ อย่าง ที่ทำได้ดีกว่าเรา Opportunity search เราต้องหาโอกาส และให้โอกาส Digital era working เราต้องปรับตัวให้เข้าสถานการณ์
อยากให้ทุกคนเรียนรู้แบบน้ำครึ่งแก้ว และจงใช้ชีวิตให้เบิกบาน ชีวิตไม่ได้ยืนยาวให้อภัยกันได้ก็สบายใจ ทำในสิ่ง
ที่รัก อะไรๆ ก็จะดี อย่างน้อยใจเราก็มีความสุข การลงทุนที่น้อยที่สุดคือรอยยิ้ม อย่าลืมขอบคุณ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์
ผู้เป็นลมไต้ปีก ที่ทำให้เรามีทุกวันนี้ และอย่าลืมขอบคุณคนข้างๆในวันนี้ ที่ทำให้เราไม่ต้องนั่งคนเดียว จะเห็นได้ว่า mind set เติบโต และเปลี่ยนไปตามอายุ แค่เปิดใจ ไม่หยุดเรียนรู้ ตามปัญหาที่พบเจอ สร้างได้จากแรงบันดาลใจ ปัญหาใหญ่ สามารถสร้าง mindset ที่หยั่งลึก
ผู้ถอดบทเรียน ยอด สุนนทราช พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา