ถ้าจะพัฒนาอะไรให้ เริ่มคิดแล้วทำเลย
“ผมก็เห็นความดีใจและความเสียใจของผู้คนที่ได้รับการ promote การแต่งตั้งรับตำแหน่งผู้บริหารเนี่ยล่ะครับ”
ตอนนั้นเราก็เป็นเด็กมาทำงานเป็นระดับหัวหน้าฝ่าย พอเราเห็นทั้งความดีใจและความเสียใจ เราก็รู้สึกว่าชีวิตเราไม่น่าขึ้นอยู่กับคนอื่น เราไม่น่าจะให้อำนาจของคนอื่นมาทำให้เรามีความสุขหรือว่ามีความทุกข์ เราน่าจะสามารถบงการชีวิตของตัวเราเองได้ ก็เลยไม่ได้สนใจว่าจะไปทางสายบริหาร แต่ว่าหันมาทำอะไรที่เราคิดว่ามันสามารถสร้างงานได้ด้วยตัวเราเอง ก็เลยมุ่งมาทำงานด้านวิชาการ
นพ.อนุวัฒน์…. เริ่มต้นเล่าอดีตของท่าน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสิ่งที่มีคุณค่าให้แก่วงการแพทย์ไทย “จุดเล็กๆนี้ก็ค่อยๆเติบโตขึ้นมา ซึ่งเป็นจุดที่เราไม่ต้องการพึ่งอำนาจคนอื่น”
อันที่สอง..พอเราเริ่มเห็นต่างประเทศทำอะไรต่างๆ เรา รู้ก็สึกว่าประเทศไทยก็ทำได้และก็น่าจะทำได้ไม่แพ้เขาถ้าเราเข้าใจมันอย่างลึกซึ้ง ซึ่งตอนนี้มันจะขัดกับความเชื่อในสมัยนั้น ตอนที่เราเริ่มทำ คนจะคิดว่า คือเราชอบทำอะไรเหมือนไฟไหม้ฟาง มีอะไรฮิตมาเราทำ ทำแล้วก็เลิกกันไป แล้วก็หันไปจับเรื่องใหม่ ซึ่งมันจะกลายเป็นความเสียเปล่า ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรแล้วเราก็ต้องมาเริ่มต้นใหม่ทุกที
อันนี้ก็เป็นหัวใจอันนึ่งที่เราทำมันต่อเนื่องแล้วก็เรียนรู้ค่อยๆ ปรับไปแล้วก็เห็นผล พอเราได้รับฟีตแบคมาเราก็จะปรับให้มันลงตัว แล้วเราก็ไม่รอที่จะต้องให้มันเพอร์เฟคก่อนค่อยลงมือทำ เราจะทำไปเรียนรู้ไป ซึ่งจริงๆแล้วมันตรงกับหลักที่เขาสรุปนะ ที่บอกว่า “ถ้าจะพัฒนาอะไรเนี่ย เราเริ่มคิดและลงมือทำเลย ทำเลยและก็เรียนรู้แล้วก็ปรับแล้วไม่ต้องรอนาน เพราะมันคือโอกาส”
ตอนที่เข้ามากระทรวงนี่ มันก็ฝึกฝนเรานะ พอเราเข้ามาอยู่ในกระทรวง เริ่มแรก เราไม่มีตำแหน่งอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันเลยอันนั้นเป็นการฝึกฝนให้เราต้องทำงานโดยขอความช่วยเหลือจากผู้คนเราก็ต้องหาวิธีว่า ทำยังไงคนถึงจะให้ความร่วมมือ
“แต่ปัญหาหนัก กลายเป็นปัญหาเรื่องคน ปัญหาเรื่องความร่วมมือ ปัญหาเรื่องความเข้าใจ” ซึ่งอันนี้เราก็ต้องใช้ความอดทนที่จะทนคนที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ทนน้ำเสียง ทนคำถาม คือ เราเข้าใจนะว่าจะมีทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุน แต่เราก็ทำให้มันค่อยๆ เห็นผลขึ้นมา เราไม่ได้เดินซ้ำแบบเดิม เราพยายามคิดต่าง และอันนี้เป็นความสนุกมันจะเข้าสู่สูตรเดิมก็คือไม่สำเร็จก็ไม่เสียหายอะไร เพราะมันเป็นเรื่องที่ไม่เคยมีคนทำ แต่เข้าไปเถอะตรงไหนก็ได้เข้าไปก่อน แล้วเดี๋ยวมันจะค่อยๆเห็นทางที่มีคนเขาเดิน แล้วมันมีช่องว่างที่จะเข้าไป แล้ววันหนึ่งเราก็พบว่าเราทำได้ ซึ่งต้องตระหนักในหน้าที่ของตนเองว่าตัวเองมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้มันสำเร็จ อันนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ซึ่งมันต้องไปเริ่มที่ Inner power ของแต่ละคนที่ต้องรู้สึกว่า ฉันสามารถ ฉันศรัทธาในตัวเอง
นพ.อนุวัฒน์…ยังพูดถึงเคล็ดลับในการทำงานอีกเรื่องหนึ่ง ที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ
“Together we can ตัวหลักอันหนึ่งที่เราน่าจะคิดถึง เรามีทั้งจุดแข็งจุดอ่อน แต่เราไม่ค่อยมองจุดอ่อนของตัวเรา ซึ่งตรงนี้ทำให้เวลาเจอปัญหาแล้วเราตีบตัน แต่ถ้าเรารู้จุดอ่อน เราจะรู้ว่าเราต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น แล้วเมื่อเราต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น เราจะนอบน้อมถ่อมตน เราจะขอความช่วยเหลือ เราจะไม่เอาความเห็นของเราเป็นใหญ่แต่เราจะพยายามให้คนอื่นเขารู้สึกว่ามีที่ยืน แล้วเขาพร้อมเข้ามายืนข้างๆเรา”
“มนุษย์ ต้องเห็นความวิเศษ ความมหัศจรรย์ในตัวเอง แล้วก็ต้องรักษาเนื้อรักษาตัว ทางด้านร่างกายจิตใจและสติปัญญาเพื่อเอาสิ่งเหล่านี้ไปทำประโยชน์ให้คนอื่น เราต้องไม่ยึดถือเป็นเจ้าข้าวเจ้าของเพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราทำเพื่อตัวเอง หวังแค่ผลตอบแทน หรือเราทำเพราะเราอยากดัง อยากเด่น อยากดี อยากได้รับประโยชน์ ไอ้ตัวนั้นมันก็จะกลับมาทำลายตัวเรา แต่ถ้าเราทำ แล้วเราก็รู้สึกว่าคนอื่นได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อ ก็เป็นความสุข แล้วสิ่งเหล่านี้ก็หล่อเลี้ยงใจเรา”
เรื่องราวดีๆ เรื่องราวพลังแรงบันดาลใจ
นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล
#QualityTheSeries
Add Line Friend:@hathailand