ทำไมโรงพยาบาลถึงได้ AHA

0
1415
ทำไมโรงพยาบาลถึงได้ AHA

มีเป้าหมายร่วมแล้ว
“ทำด้วยใจ ทำให้ดี ทำด้วยกัน”

  • A-HA เปรียบดั่งต้นไม้อันแข็งแรงสมบูรณ์ ประกอบด้วย
  1. รากที่แผ่ขยายกว้างสำหรับหาน้ำและปุ๋ย คือมี Extended Evaluation Guide ที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติและประเมินตนเองเพื่อหาโอกาสพัฒนา
  2. Empowerment Evaluation คือมีลำต้นที่แข็งแรง ดุจดังทีมบริหารและผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการเสริมพลังให้มีความสามารถในการประเมินตนเองและกำหนดประเด็นการพัฒนาด้วยตนเอง
  3. มีดอกผลอันอุดมสมบูรณ์ ดุจดังระบบคุณภาพที่มี maturity สูง และมีผลการดำเนินการที่ดีทุกด้าน นั่นคือมี Higher maturity , Higher score ,EI3O
  • ลักษณะสำคัญของโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรอง AHA
  1. การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยถูกชี้นำโดยผู้บริหารระดับสูง มีการใช้ core values ในการชี้นำการปฏิบัติในองค์กร
  2. มีการออกแบบกระบวนงานที่ดี และสามารถปฏิบัติได้จริง
  3. มี CQI หรือ innovation ในกระบวนงานสำคัญ
  4. งานบริการโดยทั่วไปมีแนวโน้มผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และงานบริการที่สำคัญตามยุทธศาสตร์มีผลลัพธ์ที่โดดเด่นกว่า
    ค่าเฉลี่ย เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลในระดับเดียวกัน
  • องค์ประกอบสำคัญของสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรอง AHA
  1. Performance driven improvement: การมีระบบและใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อการพัฒนาคุณภาพ โดยต้องพัฒนา performance สำคัญให้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น และพัฒนา performance โรคสำคัญให้อยู่ในระดับ Top Quantile
  2. Systematic process design & implementation: มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ คือ ขั้นตอนชัดเจน ทำซ้ำได้ วัดผลได้ และคาดการณ์ผลลัพธ์ได้ โดยครอบคลุมมาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย
    9 ประเด็น และครอบคุลม 2P ,3P Safety ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล ทั้งนี้ทีมนำมีบทบาทในการกำหนดนโยบาย จัดตั้งทีมรับผิดชอบ สนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินการและติดตามกำกับ ส่วนทีมนำระบบสำคัญ มีบทบาทในการออกแบบระบบ ซึ่งต้องมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลของโรงพยาบาลและกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ มีการวัด compliance เพื่อดูว่าระบบที่ออกแบบไว้ดีหรือไม่
    ตลอดจนติดตามอุบัติการณ์ หากพบอุบัติการณ์ที่มีความรุนแรงระดับ E up ต้องนำมาวิเคราะห์ RCA และจัดทำแผนปรับปรุง/พัฒนาระบบต่อไป
  3. Quality improvement, Learning, Innovation: มีการค้นหาโอกาสพัฒนาและดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปลูกฝังการเรียนรู้เข้าไปในการทำงาน และมีนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ ระบบ กระบวนการ สิ่งประดิษฐ์ เป็นต้น
  4. Core values driven organization: มีการขับเคลื่อนด้วยค่านิยมของ รพ. ร่วมกับค่านิยม 17 ตัวของ สรพ. ตลอดจนพฤติกรรมของบุคลากร และวัฒนธรรมองค์กร ทั้งนี้ AHA จะให้ความสำคัญมากกับ Visionary Leadership โดยผู้นำต้องเห็นโอกาสพัฒนาจากบริบท เห็นโอกาสจากปัญหา และมี passion ในการนำค่านิยมชี้นำการตัดสินใจ ส่วนค่านิยมตัวอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่
  • Systems Perspective มองภาพรวมขององค์กร มีการ Alignment เป้าหมาย แผนงาน กระบวนการ ตัวชี้วัดให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน และต้องมี Integration เชื่อมโยงแนวคิด องค์ประกอบและระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน
  • Focus on Results มีการใช้ตัวชี้วัดเชิงกระบวนการและเชิงผลลัพธ์ร่วมกันเพื่อติดตามผลการดำเนินการ และปรับปรุงผลลัพธ์
  • Management by fact มีการวัด วิเคราะห์ การจัดการความรู้ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงระบบ
  • เรียนรู้จากประสบการณ์จริงว่าเราจะเริ่มต้นและต่อยอดอย่างไรให้ยั่งยืน เห็นผล? 

    การขับเคลื่อนระดับ Organization

  1. เริ่มจากวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน โดยใช้ OKRs ในการตั้งค่าเป้าหมาย และใช้วัฒนธรรมองค์กร ค่านิยมของ AHA เป็นตัวขับเคลื่อนความสำเร็จ
  2. มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานคุณภาพให้เหมาะสม
  3. Core Values มีการกำหนดค่านิยมเพื่อขับเคลื่อนองค์กร และง่ายต่อการสื่อสาร คือ Think “TRANSFORMS” ประกอบด้วย
    • TRAN = Transform
    • S = Spirit of THAMMASAT สอดคล้องกับ HA Core Value ในประเด็น Customer Focus ตัวอย่างเช่น โครงการ discharge ผู้ป่วยก่อนเที่ยง การลดระยะเวลารอคอยที่ OPD
    • FOR = Focus on Results มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้วยการใช้ OKRs ตั้งค่าเป้าหมายที่ท้าทาย และใช้ OKRs เป็นเครื่องมือแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงไปถึงทุกหน่วยงาน มีการสื่อสารไปถึงระดับงานและบุคคล
    • M = Management by fact
    • S = System Perspective ตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบ Logistic ของโรงพยาบาล
  4. การกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยที่ชัดเจน โดยกำหนดมาตรการปฏิบัติเกี่ยวกับ 2P Safety/มาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย 9 ข้อ และเรื่องที่เป็นจุดเน้นสำคัญ
  5. การวางรากฐานการพัฒนาคุณภาพด้วยการส่งมอบคุณค่าแก่ผู้รับบริการ
  6. กำหนดวิธีการวัดเพื่อสะท้อนเป้าหมายที่ชัดเจน โดยเป็นตัวชี้วัดที่สื่อสารง่าย และเห็น alignment ทั้งหมด
  7. ขับเคลื่อนการพัฒนาด้วย Best Practice โดยใช้ TQM เป็นเครื่องมือ พบว่าสถิติการส่งผลงานเพื่อขอรางวัล TQM (Best-practices & Progressive Learners) ระหว่างปี 2563-2565 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 1 ผลงานในปี 2563 เป็น 39 ผลงานในปี 2565

การขับเคลื่อนระดับ Unit มีการขับเคลื่อนด้วย Concept หน่วยงานเราพร้อม เก่ง ปลอดภัย

  • หน่วยงานเราพร้อม: ระบบพื้นฐานสำคัญต้องไม่หลุด และพร้อมขับเคลื่อนตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์โรงพยาบาล
  • หน่วยงานเราเก่ง: ค้นหาผลงาน/ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ
  • หน่วยงานเราปลอดภัย: ป้องกันความเสี่ยง/ลดอุบัติการณ์

การขับเคลื่อนระดับ Patient

  1. มีการกำหนดกลุ่มโรคสำคัญ และชวนแพทย์หรือทีมบุคลากรมาร่วมกันทำให้การดูแลผู้ป่วยดีขึ้น ด้วยการ Start up การพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านต่างๆ โดยองค์กรให้การสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงาน
  2. การใช้เครื่องมือ PDSC เพื่อสร้างรากฐานการดูแลผู้ป่วยก้าวสู่ Advance HA โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีการเชื่อมโยงระหว่างคณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาล โดยใช้ศูนย์คุณภาพเป็นตัวเชื่อมเพื่อให้เกิดการดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จ สรุปประเด็นสำคัญในการดำเนินการดังนี้
  1. มีการเชื่อมโยงจากวิสัยทัศน์ของคณะแพทยศาสตร์ “คณะแพทยศาสตร์เพื่อเพื่อนมนุษย์” แปลงเป็นวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ “โรงพยาบาลเพื่อเพื่อนมนุษย์” และใช้ OKRs เป็นตัวขับเคลื่อน
  2. กำหนดจุดเน้นการพัฒนา ได้แก่ 1) เพิ่มขีดความสามารถในการรักษาโรคยาก/ใช้เทคโนโลยีระดับสูง การสนับสนุนนวัตกรรมทางการแพทย์ 2) 3P Safety  และ 3) Safety Culture
  3. กำหนดวัฒนธรรมองค์กร ได้แก่ การมุ่งเน้นคุณภาพ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  4. กำหนด Core Competency ได้แก่ 1) การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมเป็น Active Learning 2) ระบบส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยและนวัตกรรม 3) ความเป็นเลิศในการรักษาพยาบาลขั้นเหนือกว่าตติยภูมิ และ 4) บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลในระบบงานสำคัญ
  5. ใช้กรอบการบริหารงานคุณภาพด้วย 3C-DALI และมี Training Risk เพื่อการดูแลผู้ป่วยด้วยความปลอดภัย โดยใช้ทักษะ ความรู้ความชำนาญในการออกแบบการดูแลผู้ป่วย
  6. กำหนดแผนการพัฒนาสู่ AHA ประกอบด้วย การพัฒนาคน พัฒนาระบบงาน กิจกรรม CQI พัฒนาภาควิชาเพื่อบูรณาการ 3 พันธกิจ กำหนดบทบาทของทีมบริหารในการชี้นำและการมีส่วนร่วมในเชิงรุก (ร่วมกำกับ ติดตาม สนับสนุน) โดยมี Focus on Action มุ่งเน้นที่การนำไปปฏิบัติจริง
  7. กำหนด Roadmap แนวทางปฏิบัติของทีมนำ ระบบงานสำคัญ และ CLT
  8. Management by Fact โดยกำหนดทีมรับผิดชอบในการวิเคราะห์ข้อมูล และส่งต่อให้ทีมที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดภาระของคนทำงานในการเก็บข้อมูลและได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
  9. พัฒนาการดูแลผู้ป่วยด้วยการรับรอง PDSC
  10. กำหนด Action Plan for Sustainability โดยพัฒนาการรับรอง PDSC ไปสู่เครือข่าย HNA และพัฒนา SHA เพื่อให้คนทำงานอย่างมีความสุข ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • ถอดบทเรียนปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key success factors)
  1. ผู้นำสูงสุดมี Vision และเป็นผู้นำที่ทุกคนในองค์กรรัก
  2. การนำในทุกระดับ ที่ยึด “เป้าหมาย” เดียวกัน
  3. การเรียนรู้ในทุกระดับ เข้าใจมาตรฐาน และเข้าใจแนวคิด AHA
  4. การสื่อสารที่หลากหลาย เพื่อให้บุคลากรรู้บทบาทของตนเองในการทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย
  5. ใช้ Gap analysis เพื่อรู้จุดอ่อนจุดแข็ง และใช้จุดแข็งพัฒนาไปข้างหน้า
  6. บุคลากรต้องมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และมีความภาคภูมิใจในองค์กร
  7. การกำกับติดตามโดยผู้นำ ทั้งผู้นำระดับโรงพยาบาล และผู้นำทีมคุณภาพ
  8. บรรยากาศการพัฒนาที่เป็นกัลยาณมิตร

บทสรุป  คุณค่าของ Growth Mindset ในการพัฒนาคุณภาพเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน นำไปสู่ High Living Organization, High Learning Organization , High performance Organization และ High Reliability Organization

ผู้ถอดบทเรียน นางธนิตา  พินิชกชกร
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here