ทีมหมอจะเปลี่ยน สุข (ภาพ) ชุมชนสร้างได้ ผ่านกลไก R2R

0
3266
ทีมหมอจะเปลี่ยน สุข (ภาพ) ชุมชนสร้างได้ ผ่านกลไก R2R
ทีมหมอจะเปลี่ยน สุข (ภาพ) ชุมชนสร้างได้ ผ่านกลไก R2R

ทีมหมอจะเปลี่ยน สุข (ภาพ) ชุมชนสร้างได้ผ่านกลไก R2R

“เปลี่ยนจากทางตันส่วนบุคคล เป็นทางออกโดยเครือข่ายชุมชน                                                                                               (นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์)

ตัวอย่างของ R2R ที่น่าสนใจ ของโรงพยาบาลชุมชน ผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้เห็นวิธีการนำ R2R ไปใช้ให้เห็นว่า R2R มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการ “เปลี่ยนชีวิต พลิกระบบ” ได้จริง..ยังต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผ่านกระบวนการที่เรียกกันว่า “งานวิจัย” ในลักษณะที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ และนำไปสู่คุณภาพงานที่ดีขึ้น ซึ่งหมายถึงการที่ประชาชนได้รับบริการและมีสุขภาพที่ดีขึ้นนั่นเอง งานวิจัยที่ยกระดับคุณภาพงานประจำให้ดีขึ้นนี้คนยุคปัจจุบันเรียกว่า R2R การได้ทำงานโดยมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นความสุขอย่างหนึ่งของผู้คน ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนเหล่านั้นให้มีกำลังกายและกำลังใจในการทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย จนนำไปสู่ความสำเร็จของงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์กรมีชีวิตและสามารถปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์                                                                                                          เมื่อพูดถึงคำว่าวิจัยสิ่งที่จะลอยมาที่สมองตลอดเวลาคือคำว่า “Methodology คำถามวิจัย มันใช่หรอ? มันแน่หรอ? รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว การทำงานชุมชุมงานสุดท้ายที่จะเลือกทำ คือ งานวิจัย ถ้าอยากทำงานวิจัย เราไปอยู่มหาลัยนานแล้ว ที่มาอยู่ชุมชนเพราะคิดว่า ไม่ต้องทำงานวิจัย” นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกุฉินารายณ์ โรงพยาบาลประจำอำเภอ จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าว จริงๆ ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหนก็ตาม เราเข้าสู่โหมดของการเรียนรู้ ทุกพื้นที่มีคำถามวิจัย ทุกที่มีปัญหาให้เราเรียนรู้ตลอด สิ่งที่ทำให้เกิดอุปสรรค คือ 1.บริบท (Context) 2.กระบวนการทางความคิด(Mindset)

นพ.อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร                                                                                                      ต้องบริจาคเงินอีกเท่าไร จึงจะแก้ปัญหาสาธารณสุขได้อย่างยั่งยืน นพ.อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ได้เสนอแนวคิดเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขท้องถิ่นผ่านการร่วมเป็นเจ้าของ ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน จึงริเริ่มโครงสร้างโรงพยาบาลในรูปแบบใหม่ ปฏิรูปโรงพยาบาลชุมชนโดย 1. ปฏิรูปวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ 2. ปฏิรูปโครงสร้าง 3. ปฏิรูปการเงินการคลัง 4. ปฏิรูปกำลังคน ประชาชนมีสุขภาพดี (สร้างนำซ่อม) ชาวสาธารณสุขทำงานอย่างมีความสุข (กระจายบริการ) และระบบมีความยั่งยืน มีคุณภาพ บริบาลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

สภาพปัญหาสาธารณสุขไทยที่มีความแออัด รอนาน เมื่อเจ็บป่วยอยากที่จะนอนรักษาตัวในห้องพิเศษ แต่หากไปโรงพยาบาลเอกชนก็จะเสียเงินเป็นหมื่น “หลังจากระดมสมองชาว อ.อุบลรัตน์ หลายสิบรอบ พบว่าชาวบ้านอยากได้โรงพยาบาลที่ไม่ต้องถึงกับฟรี แต่ไม่ต้องหมดเป็นหมื่นเป็นแสน ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องถึงกับเสร็จภายใน 30 นาที  แต่อย่าให้คิวยาวเหมือนในปัจจุบัน” นพ.อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ผอ.โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เล่าถึงที่มาของแนวทางพัฒนาโรงพยาบาล

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี ทีมหมอจะเปลี่ยน สุข (ภาพ) ชุมชนสร้างได้ ผ่านกลไก R2R

ถอดบทเรียน วรรษวรรณ กระต่ายจันทร์

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก) สถาบันโรคผิวหนัง

Photo by Luis Melendez on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here