นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต

0
4483
นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต

นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต

“มนุษย์เราดำรงได้ 2 สถานภาพ คือ เราจะนำการเปลี่ยนแปลง หรือจะให้การเปลี่ยนแปลงนำเราไปจนเราต้องยอมจำนนกับการเปลี่ยนแปลงนั้น” นพ.สมจิตต์ ชี้เจริญ

“นวัตกรรมไม่ใช่สิ่งที่เข้าถึงยาก จริงๆ แล้วเป็นการนำสิ่งง่ายๆ และใกล้ตัวมาใช้ในการแก้ปัญหา และปัญหาต่างๆ จะแก้ได้ด้วยนวัตกรรมและการร่วมใจกัน” พ.อ.นพ.ชูศักดิ์ ลิ้นทอง 

“เราต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ สิ่งสำคัญ คือ การดูแลคนที่ทำงานกับเราให้มีความสุข” เบ็ญจา สบายใจ

“นวัตกรรมเกิดจากวิธีคิด มี 50 อย่างที่บอกว่าเราไม่ควรจะเปลี่ยน แต่มีความคิดเพียง 4-5 อย่างที่บอกว่าเราควรจะเปลี่ยน ซึ่งความคิด 4-5 อย่างนี้จะนำพาพวกเราไปไกลแสนไกล” นพ.สมจิตต์ ชี้เจริญ

เมื่อกล่าวถึงคำว่า “นวัตกรรม” เรามักจะนึกถึงเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ต่างๆ หรือต้องเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ในความเป็นจริง นวัตกรรม ไม่ได้หมายถึงสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนเท่านั้น อาจไม่ใช่สิ่งที่แปลกพิศดาร บางเรื่องอาจต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงแต่บางเรื่องไม่จำเป็น บางครั้งเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความกล้าที่จะทำ ดังนั้น ในทางปฏิบัติ นวัตกรรมจึงหมายถึงกระบวนการที่จะแปลความคิดจากการทำงานปกติให้กลายเป็นแนวทางหรือบริการที่สร้างคุณค่าให้แก่ผู้รับบริการในมุมมองของผู้รับบริการ

ในเชิงทฤษฎี มีการแบ่งประเภทของนวัตกรรมแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างขององค์กรที่มีการใช้นวัตกรรมประเภท Product innovation คือ สิ่งที่ผลิตขึ้น อาจจะปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเดิมหรือคิดค้นใหม่ ก่อให้เกิดประโยชน์และและสร้างคุณค่าใหม่แก่ผู้รับบริการ และ Process innovation คือ การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานรูปแบบใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยองค์กรทั้ง 3 แห่งนี้ได้ใช้นวัตกรรมในการพัฒนางาน พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย องค์กรของรัฐ 1 แห่งที่พัฒนา Product innovation และโรงพยาบาล 2 แห่งที่พัฒนาทั้ง Process innovation และ Product innovation

นพ.สมจิตต์ ชี้เจริญ                                                                                                    Change คือ การเปลี่ยนแปลง ส่วน Transformational Change เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง ซึ่งต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับการคิด เมื่อวิธีคิดเปลี่ยน โครงสร้างของสิ่งที่จับต้องได้จะเปลี่ยนแปลงไป ส่วนนวัตกรรม เป็นการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูงหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย ขอเพียงมีความกล้าที่จะเปลี่ยนก็สามารถทำให้เกิดนวัตกรรมได้ เราต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่เสมอ เพราะคุณภาพที่ไม่แน่นอน ความต้องการของผู้รับบริการที่เพิ่มขึ้น อันตรายที่รับไม่ได้ และ ความต้องการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้จะกดดันเราอยู่เสมอ และมาตรฐานโรงพยาบาล ฉบับที่ 4 นั้นได้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมมาได้จาก 3 ทาง คือ 1. ระบบการวัด 2. ระบบการจัดการความรู้ ซึ่งจากการนำเสนอพบว่า ทั้ง 3 องค์กรพัฒนานวัตกรรมโดยใช้การจัดการความรู้เป็นส่วนใหญ่ 3. โอกาสเชิงกลยุทธ์ ซึ่ง รพ.มะขามเตี้ย มีการใช้โอกาสเชิงกลยุทธ์จำนวนมาก นอกจากนี้ ทั้ง 3 ท่านได้แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรม เกิดจาก การมองเข้าไปในเชิงลึก แล้วพยายามมองหาโมเดลที่ต้องการจะทำ แล้วกล้านำเสนอโมเดลนั้นให้เป็นต้นแบบ ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถตอบโจทย์สังคมได้

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญ ซึ่งจาก 10 อันดับแรกของทิศทางนวัตกรรมทางสุขภาพในปี พ.ศ. 2562 (TOP 10 Health care innovations for 2019) พบว่า ลำดับที่ 3-10 เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ลำดับที่ 2 คือ นวัตกรรมที่เกี่ยวกับการรักษาที่ตรงคน ตรงเป้าหมาย การวินิจฉัยและรักษาโรคทางยีน ลำดับที่ 1 คือ นวัตกรรมที่เกี่ยวกับการประสานเชื่อมโยงกันในลักษณะของการดูแลของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ทั้งหมดนี้คือทิศทางของนวัตกรรมในปี 2562

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต

ถอดบทเรียน วฤณดา อธิคณาพร

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

Photo by Christian Fregnan on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here