ปฏิรูประบบสาธารณสุขอย่างไร ให้ Safe life, Save Cost

0
4609

ปฏิรูประบบสาธารณสุขอย่างไร ให้ Safe life, Save Cost

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่เพียงวาทะกรรมเท่านั้น แต่สามารถนำมาใช้ได้จริง พระองค์ทรงสอนไว้ว่า ปรัชญานี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้สามารถที่จะรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 4 ประการ  คือ การเปลี่ยนแปลงด้านวัตถุ (รวมถึงการเงิน การคลัง) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม (รวมถึงระบบสุขภาพ) การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม ส่วนความพอเพียง คือ ความพอประมาณ มีเหตุ มีผล มีความรอบคอบ ไม่ประมาท เพื่อให้เรามีภูมิคุ้มกัน ที่จะสามารถไปต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ประการ โดยต้องยึดหลัก 2 หลัก คือ หลักวิชาการ (จะทำอะไรต้องศึกษาค้นคว้าให้รู้จริงในเรื่องนั้นๆ รวมถึง    การทำการศึกษาวิจัย) และหลักคุณธรรม

“การเแพทย์พอเพียง” แนวทางสัมมาทิฏฐิ และมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลางในการทำงานเพื่อสร้างความพอดี พอสม พอประมาณ มีเหตุมีผล มีความรอบคอบ และไม่ประมาท “การแพทย์พอเพียงมุ่งให้เกิดสุขภาพพอเพียง” ตั้งอยู่บนทางสายกลาง ในการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ตามความจำเป็น (Needs) ไม่ใช่ตามความต้องการ (want) เพราะ want ไม่มีทางสิ้นสุด

เราจะปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพอย่างไร ให้ safe life และ save cost                                      ทั้งหมดเป็นการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ใช่เพียงวาทะกรรมเท่านั้น แต่สามารถนำมาใช้ได้จริง พระองค์ได้สอนไว้ว่า ปรัชญานี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้สามารถที่จะรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง 4 ประการ ดังกล่าวมาแล้ว คือ โดยบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำการปรับตัว ทั้งการดำเนินชีวิต และการประกอบวิชาชีพ โดยยึดหลัก 3 “ค” คือ ความพอเพียง คุณธรรม และคุณภาพ จึงมีการออกแบบกองทุน ว่าทุกกองทุนต้องมีสิทธิประโยชน์ที่จำเป็นร่วมกัน ดังนี้                                                                                    1. มีประสิทธิผล ( Effective) เป็นตัวสะท้อนผลลัพธ์ และ คุณค่าของการให้บริการ                                2. มีประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นตัวสะท้อนความคุ้มค่า                                                        3. ความพอเหมาะพอเพียงกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งสามปัจจัยนี้จะเป็นตัวกำหนดสิทธิประโยชน์ของผู้รับบริการ

การน้อมนำหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อทำให้ “ระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ” ทุกระบบ    มีความยั่งยืน พอเพียง มีประสิทธิภาพ สร้างความเป็นธรรม ส่งผลให้ประชาชน เข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ปลอดภัย คุ้มค่า พอเหมาะพอควรกับสภาพ เศรษฐกิจของประเทศ มีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยจัดให้มี“ชุดสิทธิประโยชน์หลัก” อันประกอบด้วย “สิทธิประโยชน์พื้นฐาน” และ “สิทธิประโยชน์เพื่อป้องกันครัวเรือนล้มละลาย” ที่สนองความจำเป็นของประชาชนคนไทยทุกคนพึงได้รับอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ยังจัดให้มี “ชุดสิทธิประโยชน์เสริม 1 และเสริม 2” เพื่อเป็นทางเลือกให้แต่ละ ระบบหลักประกันสุขภาพนำไปพิจารณา การจัด “ระบบหลักประกันสุขภาพ” ดังกล่าวน่าจะเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นในการเพิ่มทางเลือก เป็นการเติมเม็ดเงินเข้ามาในระบบสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ ในการเข้าถึงบริการที่จำเป็นและการบริหารจัดการร่วมกันจะช่วยให้เกิดการประหยัดในอนาคตได้อีกด้วย

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี ปฏิรูประบบสาธารณสุขอย่างไร ให้ Safe life, Save Cost

ผู้ถอดบทเรียน ยอด สุนนทราช

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

Photo by Hush Naidoo on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here