“ดอกไม้แห่งปัญญา จะงอกงามโดยธรรมชาติ
ในพื้นที่ที่มี Growth Mindset”
ปัญญา คือ สิ่งที่มีความงอกงามโดยธรรมชาติ เมื่ออยู่อย่างถูกต้องเหมาะสม ดอกไม้แห่งปัญญา อาจจะมีกลีบที่มากมายขึ้นอยู่กับการงอกงาม ผู้ที่เป็นเจ้าของ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และปฏิสัมพันธ์ ว่าสุดท้ายแล้วดอกไม้แห่งปัญญานี้จะมีกี่กลีบ จำนวน 6 กลีบ เป็นแค่ข้อ สมมุติที่ยกขึ้นมาคุยเพื่อให้เอาไปใช้ประโยชน์ เท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้วมีมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับ Mindset ที่ถูกต้องโดยปัญญาจะงอกงามในพื้นที่ ที่มี growth mindset โดยสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(องค์การมหาชน) ดำเนินการมาตามแนวทาง growth mindset โดยแนวคิดที่ว่า คุณภาพสถานพยาบาลมีการพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาได้เสมอ
1.ปัญญาภายในตน มนุษย์ทุกคนมีปัญญา ทำอย่างไรจะดึงเอาปัญญาออกมาใช้ให้เต็มศักยภาพ ต้องอาศัยการมีไฟ หรือ passion ให้เห็นคุณค่าในสิ่งนั้น หากเป็นในหน้าที่การงานก็จะเปล่งประกายความรับผิดชอบในตัวเองเหมือนการประกาศตัว ที่ผู้ใหญ่เค้าจะสังเกตเห็นและรับรู้ได้ และหาทางสนับสนุน จะยิ่งเปล่งประกาย เมื่อมีแรงบันดาลใจ ความรับผิดชอบ ในมิติในการที่มองเพื่อผู้อื่นเป็นหลัก เราต้องมีการฝึกทักษะในอนาคต หรือ future skill หรือ สมรรถนะแห่งอนาคต ที่ประกอบไปด้วย 3 กลุ่ม คือ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาระบบที่มนุษย์พัฒนาขึ้น การพัฒนาต่อบุคคลและสิ่งของภายนอก ทั้งหมดผสมเป็นเนื้อเดียวกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญคือ ต้องอยู่กับความไม่แน่นอนได้ 2.ปัญญาจากเครือข่าย เมื่อไรก็ตามที่เราทำงานกับวงแคบๆ ทำอะไรกับคนคิดเหมือนๆ กัน ปัญญาเหล่านี้ก็จะไม่เกิด ต้องทำงานกับคนอื่น ๆ ที่แตกต่าง ร่วมกันปฏิบัติ โดยเครือข่ายต้องมีการพัฒนานาระบบสุขภาพให้มีความมั่นคงแก่ชีวิตของตนเอง ประชาชน เพื่อร่วมกันสร้าง public trust (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัญญาจักรวาล) ต่อระบบสุขภาพ 3.ปัญญาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stake holders) ปัญญาจากผู้รับบริการ เราสามารถสร้างได้จาก Development evaluation เรื่องการใช้ข้อมูล การปรับปรุง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะปรับปรุงส่วนไหน อย่างไร ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียจะไม่ใช่แค่ผู้รับผล แต่ตั้งเป็นผู้ที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุน 4. ปัญญาจากการทำงาน ก่อนอื่นต้องมีมุมมองว่าการทำงาน ไม่ใช่แค่ได้เงิน แต่เราได้สังคม ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ ได้เพื่อนร่วมงาน และเราได้โอกาสในการที่จะทำสิ่งที่มีคุณค่า หรือ เจริญก้าวหน้า ถ้าเราเปล่งประกายความเป็นผู้ขยันหมั่นเพียรแบบเป็นธรรมชาติ โอกาสที่มาจากการทำงานจะมีขึ้นมาตลอดเวลา หากเราสะท้อนคิดเป็น ใคร่ครวญไตร่ตรองเป็น เราจะเห็นโอกาส เมื่อไรก็ตามที่เราเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ PDCA หรือ Kolb’s Experimental system และร่วมทำ multiple loop learning ก็จะทำให้เราเปิดโอกาสในการเป็นผู้สร้างสรรค์และยกระดับปัญญา ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติ ดังนั้น ย้ำอีกครั้งว่าการทำงานไม่ใช่แค่การดำรงชีพแต่เป็นโอกาสในการเรียนรู้สู่การสร้างสรรค์ 5. ปัญญาจากการเรียนรู้ มนุษย์เกิดมาพร้อมทักษะการเรียนรู้ แต่ด้วยข้อจำกัดทางสังคม รวมถึงการไม่เปิดใจ ปิดกั้นตัวเอง ทำให้การเรียนรู้มีข้อจำกัด
ซึ่งการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จากทุกย่างก้าวที่เราเกี่ยวข้อง เราจะได้ประสบการณ์ และเรียนรู้วิธีการ ปัญญาจักรวาลจะสามารถทำให้ตกผลึกเป็นหลักการ สามารถพัฒนา concepts ขั้นมาได้ (Conceptualization)
ซึ่งเราต้องไม่เชื่อตัวเองทั้งหมดแต่ต้องมีการเตรียมใจ และเอาไปทดลองใช้ 6. ปัญญาใน wicked system (complex adaptive system) ปัญญาที่เกิดจากความโหดร้าย จากระบบที่เอาแน่นอนไม่ได้ ที่มากกว่าความซับซ้อน ซึ่งปัญญาจะเกิดขึ้นเมื่อเราเรียนรู้ที่จะอยู่กับสถานการณ์นี้ เราจะมีปัญญาสูงมาก ซึ่งจะเปิดโอกาสของความริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะให้เราคิดและสร้างอะไรใหม่ แต่หัวใจสำคัญคือเราต้องทนให้ได้ ต้องมองว่าเป็นตัวเอื้อให้เกิดปัญญา หรือ อาจมองได้ว่าปัญญาจักรวาลมาจากความมั่ว คือ ความไม่แน่นอน ซึ่งเราต้องไม่ตกหลุมพราง
ในบางครั้งเมื่อเราเจอ wicked system เราจะเจอความแตกต่าง หลากหลายความคิด ที่เราต้องเอามาใช้ประโยชน์ให้ได้ ซึ่งต้องงอาศัย future skill และใช้เครื่องมือ Development Evaluation จริงๆ แล้ว อาจเป็น Development learning โดยการใช้ข้อมูล ใช้พลังของผู้มีส่วนได้เสีย ขับเคลื่อนด้วย dialog และใช้เป้าหมาย
มาใช้ร่วมกันเพื่อพัฒนางาน เป็นข้อตกลงร่วมกันว่าใครจะกลับไปทำอะไรเพื่อยกระดับงาน ซึ่งวงการสุขภาพเราทำเป็นอยู่แล้ว แต่เราไม่ได้ใช้ในชื่อ Development Evaluation
Kolb’s Experimental system การเรียนรู้จากประสบการณ์ 1.ฝึกสังเกตุ (Concrete Experience) ร่วมกับทีมงาน กับเพื่อน เพื่อเรียนรู้ว่าทีมงานแต่ละคนสังเหตอะไรที่แตกต่างกัน 2.การสะท้อนคิด (Reflective observation) การสะท้อนคิดเพื่อออกแบบปรับปรุงวิธีการ 3.Abstract Conceptualize ตกผลึก แนวคิด แต่ห้ามเชื่อทั้งหมด ต้องเอาไปลดลอง 4.Active Experimental ปัญญาจากการตกผลึก องค์ความรู้และการปฏิบัติทดลอง
Multiple Loop Learning การเรียนรู้แบบหลายวงจร สีฟ้า หมายถึง ความเป็นไปเป็นมา ทำไมเราถึงทำ สีม่วง วิธีทำ ทำยังไง สีแดง ผลที่เกิดขึ้น เมื่อได้ผลแล้ว เราก็ feedback หาก feedback ไปที่ เทคนิค วิธีการก็เป็น single loop หาก feedback ไปที่ความเป็นมาก็จะเป็น double loop เราสามารถใช้ feed forward (เพื่อพัฒนา แทนการ feedback) หรือเราสามารถทำ triple loop คือ ไม่ใช่แค่จะทำให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐาน
แต่เราสามารถออกแบบระบบให้ดีกว่ามาตรฐานได้
ดงปัญญาที่มีปัญญาซ่อนอยู่ หากเราเปิดใจในสถานการณ์ ธรรมชาติแล้วจะมีทางออกของปัญหาโผล่ขึ้นมาให้เราเห็นสิ่งเหล่านั้น ซึ่งปัญญาจักรวาล มีอยู่แล้วในธรรมชาติ มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ผ่านประสบการณ์ตรง และทำงานร่วมกับทีมโดยผ่านการใคร่ครวญ เปิดใจ ปัญญาจักรวาลจะงอกงามได้ดี ผ่านกระบวนทัศน์ที่ถูกต้อง ผ่านการเรียนรู้ ปฏิบัติ และมี future skill
ผู้ถอดบทเรียน ยอด สุนนทราช พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา