ยกระดับคุณภาพบริการด้วย Advanced HA

0
2558
ยกระดับคุณภาพบริการด้วย Advanced HA
ยกระดับคุณภาพบริการด้วย Advanced HA

เมื่อค่านิยม “มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม ใฝ่คุณภาพ ร่วมสานภารกิจ          คิดนอกกรอบ รับผิดชอบสังคม” ฝังอยู่ในใจบุคลากรแล้ว                เราสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงแน่นอน

รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีวิสัยทัศน์ คือ “คณะแพทยศาสตร์ชั้นนำในระดับสากล” พันธกิจ  “จัดการศึกษา สร้างงานวิจัย ให้บริการวิชาการและดูแลสุขภาพเพื่อสุขภาวะของสังคม” ปณิธาน  “ปัญญาของแผ่นดิน” ภายใต้การขับเคลื่อนผ่านค่านิยม  “มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม ใฝ่คุณภาพ ร่วมสานภารกิจ คิดนอกกรอบ รับผิดชอบสังคม”

จากค่านิยม “ใฝ่คุณภาพ” คณะฯได้นำเกณฑ์คุณภาพหลายมาตรฐานมาสู่ระบบการประเมิน อาทิ AHA TQA JCI ISO AUNQA WFME ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลการประเมินจากที่คณะฯผ่านการรับรอง Re-accreditation ครั้งที่ 4 แล้ว พบว่าหากต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพให้ระดับคะแนนการประเมิน (Score) สูงขึ้น เกณฑ์AHAน่าจะตอบโจทย์ที่จะทำให้ผลการดำเนินงาน (Performance) ดีขึ้น ดังนั้นคณะฯจึงปักธง กำหนดเป็น “แผนกลยุทธ์ด้านดูแลสุขภาพ” มีการสื่อสารถ่ายทอดสู่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการและติดตาม มีการสร้างบรรยากาศ เสริมพลังให้กับคนหน้างานระดับหน่วยตรวจต่าง ๆ และหน่วยงานสนับสนุน

หากเปรียบหน่วยงานเป็นจำนวนฟันเฟืองพบว่ามีมากมาย แต่หากนำมาต่อร้อยเรียงอย่างเป็นระบบบ เสมือนได้กับเครื่องเทอร์โบขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพ ดังนั้นด้วยโครงสร้างคณะฯประกอบด้วยหน่วยงานจำนวนมาก คณะฯจึงให้ความสำคัญกับการรับรู้ของบุคลากรเพื่อให้เกิดแนวทางการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงมีการประเมินการรับรู้ เข้าใจระบบการนำองค์กร และการประเมินเสียงสะท้อนกลับพบว่าผลการประเมินดีขึ้น  ที่ผ่านมาคณะฯใช้ค่านิยมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบด้วย “มุ่งเรียนรู้” มีการจัดประชุมทีมเพื่อวางแผนการดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เป็นศูนย์กลางจัด inter-hospital conference การสร้างงานวิจัย “คู่คุณธรรม” มีการคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย การให้บริการอย่างเสมอภาค และหลักจริยธรรมทางการแพทย์ การให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการรักษา  “ใฝ่คุณภาพ” การทบทวนการทำงาน และทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น ตามแนวคิดPDCA และมาตรฐานDSC  มีการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงตาม risk matrix และ risk register “ร่วมสานภารกิจ” มีการใช้ค่านิยม ผลักดัน ให้ทุกพันธกิจทำงานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์คณะฯ “คิดนอกกรอบ” นำวิทยาการใหม่มาปรับใช้ เช่น การสร้าง ที่กันกัดเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในช่องปาก มีการสร้างองค์ความรู้จากงานวิจัย และนำมาใช้จริง “รับผิดชอบสังคม”  การเป็นต้นแบบและพี่เลี้ยงในการจัดตั้งระบบการให้บริการ ECT/จัดอบรมกับบุคลากรสาธารณสุข

จากการดำเนินการด้านคุณภาพดังกล่าวทำให้เกิดผลลัพธ์ และนวัตกรรม อาทิ เวชระเบียนออนไลน์ หน่วยงานผ่าน การรับรองระบบ ISO ได้รับการรับรองรายโรค RAMA Application การส่งยาทางไปรณีย์ การดูแลผู้ป่วยผ่าน Telemedicine, Tele Diagnosis, Tele Monitor, Tele Check up, การปลูกถ่ายไต และการปลูกถ่ายตับได้ผลดีอย่างต่อเนื่อง ระบบความปลอดภัย และระบบยาที่มีประสิทธิภาพ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคณะฯ มีการใช้ค่านิยมในการขับเคลื่อนอย่างต่อนื่องจนเป็นวัฒนธรรมองค์กรของชาวรามาธิบดี   เพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ โรงพยาบาลมหาราช คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวิสัทัศน์    “โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยชั้นนำ ระดับมาตรฐานสากล” พันธกิจ “ให้บริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานระดับสากล สนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมทางการแพทย์ พัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคม”  ในด้านการพัฒนาคุณภาพ  โรงพยาบาลฯได้นำมาตรฐาน  ต่าง ๆ เข้ามาดำเนินการ อาทิ HA EdPEx WFME AHA TQA โดยในปี พ.ศ. 2562 คณะฯมีความภาคภูมิใจที่ได้รับรางวัล TQC (Thailand Quality Class) และปักธง ไปสู่ TQC Plus พร้อม Re-AHA อีกครั้งในปี พ.ศ.2565

สำหรับที่ผ่านมาคณะผู้บริหาร และบุคลากรชาวสวนดอกพร้อมรับการตรวจประเมินAHA อย่างมุ่งมั่น ซึ่งได้ผ่านการรับรองเป็นที่ภาคภูมิใจแล้ว ทั้งนี้เกิดจากก่อนหน้าโรงพยาบาลฯได้สร้างวัฒนธรรมการขับเคลื่อนคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานโดยให้ความสำคัญกับContext & Core Value & Criteria ให้ความสำคัญกับหน่วยงาน กลุ่มผู้ป่วย และระบบงาน ใช้วงล้อ Approach Deployment Learning Integration และ 3 P (Purpose Process Performance) ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ ผู้นำเป็นสิ่งสำคัญในการนำทีมสู่การพัฒนาอย่างตรงประเด็นและมีทิศทางเดียวกัน มุ่งสร้างคุณค่าที่ผู้ป่วย และประชาชน อันได้แก่ 1.การพัฒนาบริการทางการแพทย์ผ่านเครือข่ายความร่วมมือ 2.การฟื้นฟูสภาพจิตใจ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ป่วย/ผู้พิการ ด้วยการใช้ดนตรีบำบัด 3.การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 4.หนึ่งภูมิภาค หนึ่งโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 5.การบูรณาการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร 6.The Vital Link (เส้นทางเชื่อมการรอดชีวิต) 7.การบริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแบบบูรณาการ 8.คลินิก108บริการที่เป็นเลิศเพื่อประชาชน 9.ช่องทางด่วนการผ่าตัดฉุกเฉินในกรณีผู้บาดเจ็บรุนแรง 10.ทีมแพทย์ลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศภาคเหนือ 11.บาดเจ็บจากรถกรณีผู้ป่วยนอกใช้บัตรประชาชนใบเดียว 12.การใช้การแพทย์ทางไกลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ห่างไกลในจังหวัดเชียงใหม่ 13.เครือข่ายสร้างความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ 14. จังหวะหัวใจ 15 Telemedicine อีกทั้งโรงพยาบาลฯได้ผ่านการรับรองรายโรคจำนวน 5 โรค ได้แก่ 1.Heart Failure   2.Breast cancer 3.Stroke  4.Trauma 5. Intussusception และอยู่ระหว่างการดำเนินการอีก 10 โรค  จากประสบการณ์คุณภาพทำให้ชาวสวนดอกได้รับบทเรียนสำคัญของการรับรอง Advance HA คือ Med : Mindset C : Core value  M : Moral U : Unity ซึ่งถือเป็น Suandok DNA ในการก้าวไปสู่การพัฒนาคุณภาพอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป

นายแพทย์กิตติพงศ์ เรียบร้อย : คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิสัยทัศน์ “เป็นคณะแพทยศาสตร์เพื่อสังคมไทย ที่เป็นเลิศระดับสากล” และวิสัยทัศน์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ “เป็นโรงพยาบาล เพื่อสังคมไทย ที่เป็นเลิศระดับสากล” ค่านิยม “Safety Team Evidence Moral Care Quality Innovation” คณะฯดำเนินการด้านการพัฒนาคุณภาพอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 โดยในฐานะที่เป็นโรงเรียนแพทย์จึงให้ความสำคัญเรื่องผลการรักษาพยาบาล และคุณค่าที่ส่งมอบให้กับผู้รับบริการ โดยนำมาตรฐานHA คำนึงถึงEvidence Base Management กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ นำมาตรฐานวิชาชีพต่าง ๆ เข้ามาดำเนินการอย่างเป็นระบบทั่วทั้งองค์กร ผู้นำยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนระบบคุณภาพ

จากความมุ่งมั่นด้านการพัฒนาคุณภาพดังกล่าว จึงเกิดผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่ ผลลัพธ์ศูนย์ความเป็นเลิศ ผลลัพธ์ของกลุ่มผู้ป่วยสำคัญ และผลลัพธ์ภาพรวมของโรงพยาบาล ที่ดีกว่าเป้าหมายหลายตัวชี้วัด อาทิ Success rate PCI,  PSU TAVR registry Outcome, ความก้าวหน้าของศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ความก้าวหน้าของสถาบันระบบทางเดินอาหารและตับ Complicationจากการส่องกล้องผู้ป่วยสถาบันNKC ผลการรักษา Neuro Intervention และเกิดระบบการบริหารยาร่วมกัน

จากผลลัพธ์ที่สำคัญนำไปสู่การกำหนดแนวทางอย่างเป็นระบบในการพัฒนาระบบงานสำคัญ และกระบวนการทำงานเพื่อให้ก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่กำหนดไว้ของโรงพยาบาลและคณะฯต่อไป

ข้อแนะนำสำหรับโรงพยาบาลที่ไม่ใช่โรงเรียนแพทย์ต่อการพัฒนาคุณภาพด้วยกระบวนการ Advance HA ได้แก่ การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ทีมนำมีความสำคัญ การสร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ระบบคุณภาพ ที่สำคัญการเตรียม Successor และการใช้สารสนเทศแทนคน สำหรับปัจจุบันมีความสำคัญมากที่จะช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ทันสมัยขึ้น และเพิ่มความรวดเร็วขึ้นต่อผู้รับบริกา

ถอดบทเรียนโดย สดศรี พูลผล                                                                                              หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพงาน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here