ระบบบริหารความเสี่ยง Risk Management System

0
7292

มาตรฐานฉบับที่ 4 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกี่ยวกับระบบบริหารความเสี่ยงอยู่หลายประการ สรุปได้ดังนี้

– มองความเสี่ยงในกรอบที่กว้างกว่าเดิม คือ ครอบคลุมทั้งด้านยุทธศาสตร์ (เช่น โรงพยาบาลเอกชนเปิดคลินิกใหม่ แต่มีลูกค้าต่ำกว่าเป้ามาก) ด้านคลินิก (เช่น วินิจฉัยผิดพลาด) ด้านปฏิบัติการ (เช่น การเลื่อนผ่าตัดบ่อย) ด้านการเงิน (เช่น โรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง) และด้านอันตรายต่างๆ (เช่น โจรกรรม)

– กำหนดให้โรงพยาบาลมีทะเบียนการจัดการความเสี่ยง (risk register) ที่บันทึกข้อมูลครอบคลุมการกำหนดความเสี่ยงขององค์กร การวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง แผนการจัดการความเสี่ยง และการติดตามประเมินผลการจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

– กำหนดรายการความเสี่ยงทางคลินิกที่ต้องมีการจัดการความเสี่ยง ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนทางยา,  การพลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุ การบาดเจ็บ, การควบคุมการติดเชื้อ, การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาด, การสื่อสารที่ผิดพลาด, ความเสี่ยงทางโภชนาการ, ความเสี่ยงจากการใช้เครื่องมือทางการแพทย์, ความเสี่ยงจากแผลกดทับ

– ควรมีการกำหนดขั้นตอนในการให้ข้อมูลกับผู้ป่วย/ ผู้รับบริการ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

– กำหนดว่าโรงพยาบาลควรเรียนรู้ประเด็นความเสี่ยงสำคัญตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด (เช่น Medication Without Harm (2017)) ตลอดจนเรียนรู้เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ของประเทศไทย (คือ Patient & Personnel Safety Goals) ซึ่ง สรพ. ได้มีการปรับปรุงหนังสือ SIMPLE ใหม่ เป็น SIMPLE 2018 เพื่อให้สอดรับกับ Patient & Personnel Safety Goals ของประเทศไทยที่มีการกำหนดล่าสุด

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here