ร้อยใจรวมพล ด้วยกลศิลป์ แต้มสีสันแห่งชีวิตให้ระบบสุขภาพ

0
2409
ร้อยใจรวมพล ด้วยกลศิลป์ แต้มสีสันแห่งชีวิตให้ระบบสุขภาพ
ร้อยใจรวมพล ด้วยกลศิลป์ แต้มสีสันแห่งชีวิตให้ระบบสุขภาพ

ร้อยใจรวมพล ด้วยกลศิลป์ แต้มสีสันแห่งชีวิตให้ระบบสุขภาพ

“ถ้าเราจะเปลี่ยนแปงอะไรบางอย่าง แล้วเราต้องสู้กับระบบเราต้องอดทน เพื่อเกิดดอก เกิดผลอะไรบางอย่างที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เห็นผลงานเชิงประจักษ์จึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้”(พว.ศิริพร พรหมวงศ์)

บทเรียนจากปฏิบัติการดูแลคุณภาพชีวิต โดยใช้คนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางด้วยพลังขับเคลื่อนของคนตัวเล็กที่ลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลงจากชายขอบที่สร้างแรงบันดาลใจให้ลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลง ร่วมมือร่วมใจกับพื้นที่ผู้เป็นเจ้าของสุขภาพ สู่สุขภาวะที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

พว.ศิริพร พรหมวงศ์                                                                                                              7 ปีกับการทำงานในชุมชนคลองเตย เป้าหมายในช่วงแรกคือ ต้องการให้เด็กในชุมชนมีการศึกษาอยากให้ได้เรียน  ในโรงเรียนที่เคารพเด็ก เด็กมีความสุขที่จะมาโรงเรียน โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ ให้เด็กสนใจในดนตรีแล้วเข้ามารวมกลุ่ม  แต่พบว่าในชุมชนไม่ได้มีปัญหาด้านเดียว ดังที่คนภายนอกมองว่าชุมชนคลองเตยนั้นโหดร้าย มีคนติดยาเสพติด มีอาชญากรรม แต่เมื่อเข้าไปศึกษาชีวิตของคนในชมชนก็จะพบมายาคติอีกด้านที่ต่างไป คนในชุมชน พ่อแม่ถึงแม้จะเป็นคนติดยาแต่ก็ต้องการให้ลูกหลานเป็นคนดี จากปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน

ดร.นพ.วิฬุร ลิ้มสวาท                                                                                                  ประสบการณ์ชีวิตที่ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยทั้งส่วนโรคที่เกิดขึ้นกับตัวเองและในฐานะที่เป็นญาติผู้ป่วย คือ ภรรยาที่ป่วยพบกับความเจ็บปวดต้องใช้ระบบการรักษา ครั้งหนึ่งที่เจ็บปวดในหัวใจคือภรรยามีอาการป่วยที่ต้องพึ่งยาแก้ปวดที่รุนแรง ขอฉีดยาแก้ปวดแต่สิ่งเห็น รับรู้นั้นเจ้าหน้าที่ฉีดน้ำเปล่า (NSS) ให้เกิดความรู้สึกที่ไม่เข้าใจในระบบบริการสุขภาพเพราะทั้งที่ตนเองเป็นแพทย์ ภรรยาเป็นพยาบาลสามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นอะไร แต่กลับได้การบริการจากเจ้าหน้าที่เช่นนี้ จึงอยากใช้ประสบการณ์ความเจ็บปวดที่พบมาทบทวนและได้เข้าศึกษา

นพ.โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ                                                                                                  การได้พบทุกข์ของผู้ป่วยจากระบบการรักษา ที่ไม่มีการเชื่อมโยงระบบการรักษา ตัวอย่าง ครั้งที่เป็นนักศึกษาแพทย์พบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคภูมิคุ้มกันตนเองบกพร่อง มีอาการติดเชื้อในข้อกระดูกมีแพทย์เฉพาะทางที่ดูแล 3 คนโดยที่ดูแลคนละส่วน เมื่อเรื่องการติดเชื้อให้ยาในการรักษาครบแพทย์ก็จบการรักษา อาการทางกระดูกคงที่แพยท์ก็ยกเลิกการรักษาไปอีกคน

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี ร้อยใจรวมพล ด้วยกลศิลป์ แต้มสีสันแห่งชีวิตให้ระบบสุขภาพ

ถอดบทเรียน นงนุช สมประชา

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสวนผึ้ง

Photo by Tim Marshall on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here