วิเคราะห์ SAR Part IV อย่างไร เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

0
5048
วิเคราะห์ SAR Part IV อย่างไร เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

วิเคราะห์ SAR Part IV อย่างไร เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

“ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นได้ ต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน และมีการออกแบบกระบวนการในการจัดเก็บ พัฒนาและวัดผลลัพธ์”ศ.พญ.ดวงมณี เลาหประสิทธิพร

  • Performance Measurement ที่สอดคล้องกับทิศทาง ของ Global Accreditation ในอนาคตจะมีคุณลักษณะเช่นใด
  • หลักการและคุณค่าของการวัดผล วัดเพื่ออะไร เพื่อการควบคุมกระบวนการให้ เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ เพื่อประเมินการบรรลุเป้าหมาย เพื่อปรับแผนหากไม่ บรรลุเป้าหมาย เพื่อกำหนดเป้าหมายใหม่ในการพัฒนารอบต่อไปให้มีความท้าทาย
  • การใช้มาตรฐานตอน IV เพื่อให้เกิดประโยชน์เพื่อเป็นกรอบในการออกแบบและ ประเมินกระบวนการสำคัญให้บรรลุเป้าหมาย
  • การกำหนด การเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสม เพื่อทำให้การวัดผลชัดเจน และ สอดคล้อง เชื่อมโยงกัน ทั้งระดับองค์กร ระบบงาน และหน่วยงาน อาทิตัวชี้วัด ด้านการดูแลผู้ป่วย ได้มาจากการวิเคราะห์โรคสำคัญที่โรงพยาบาลให้การดูแล ซึ่ง แต่ละโรคควรมีชุดตัวชี้วัดที่สอดคล้อง เชื่อมโยงในทุกระดับ เป็นต้น
  • เทคนิค/วิธีการวิเคราะห์ผลการดำเนินการ อาทิ การแสดงระดับผลลัพธ์ที่ทำได้ ในปัจจุบัน และแนวโน้มตัวชี้วัดสำคัญ การกำหนดค่า Target และคู่เทียบที่ เหมาะสมเพื่อยกระดับการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
  • การวิเคราะห์ SAR Part IV อย่างไร เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ เป็นเวทีบอกเล่า ประสบการณ์จากผู้เยี่ยมสำรวจ และแบบอย่างจากโรงพยาบาลแห่งแผ่นดิน เพื่อ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงทฤษฎี และประสบการณ์สามารถเรียนรู้เพื่อไป วิเคราะห์ SAR Part IV ของโรงพยาบาล

รัชดาภรณ์ ทุมมาสุทธิ์ เครื่องมือในการประเมินตนเอง ประกอบด้วย 1) Hospital Profile 2022 2) รายงานการประเมินตนเองตอนที่ I-IV 3) ENV Checklist เป้าหมายมาตรฐาน ตอนที่ IV เพื่อนำเสนอตัวชี้วัดระดับองค์กรในมุมมองของผู้นำ เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดระดับทีมนำและหน่วยงาน

สัญลักษณ์ (*) เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย (**) เป็นเกณฑ์หลักเพื่อความยั่งยืน ด้านผลลัพธ์ดูจากมาตรฐาน กำหนดเกณฑ์พิจารณาตัวชี้วัด มีรายการตัวชี้วัดที่เป็น Success Indicator

ศ.พญ.ดวงมณี เลาหประสิทธิพร ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นได้ ต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน และมีการออกแบบกระบวนการในการจัดเก็บ พัฒนาและวัดผลลัพธ์

มาตรฐาน ตอนที่ IV ผลลัพธ์ การวัดวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากผลลัพธ์เพื่อการบรรลุเป้าหมายและการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ในองค์กรต้องร้อยเรียงตัวชี้วัดผลลัพธ์จากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบน รวมพลังกันทำจะเกิดผลลัพธ์ที่ดี ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานตอนที่ I และ IV

มาตรฐานตอนที่ IV ภาพรวม ทำให้เห็นภาพประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร ต้องกำหนดให้ชัดเจน หากระบวนการที่จะทำให้ดีขึ้น นำสู่การประกันคุณภาพและอย่าเปลี่ยนเร็วเกินไป แม้มีผลลัพธ์ที่ดีแล้วควรติดตามตัวชี้วัดต่ออย่างน้อย 3-5 ปี หรือนานกว่านั้น ตัวชี้วัดจะทำให้องค์กรเก่งขึ้น

เชื่อมโยงผลลัพธ์กับมาตรฐาน I-4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้  มาตรฐาน I-1 การนำ
และ I-6 การปฏิบัติการ ข้อกำหนดที่ “อย่าทำ”หรือที่ “ต้องทำ” แสดงให้เห็นตามบริบทถึงความเชี่ยวชาญ ขององค์กรตัวชี้วัดควรขยับขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าตั้งแบบหักโหม เพราะคนทำงานจะล้าและหมดกำลังใจ ระบบกำกับดูแล
ให้สำเร็จ
ได้แก่ บริบท ข้อกำหนด ความเชี่ยวชาญ ต้องกำหนดผู้รับผิดชอบด้วย                                        การใช้ Scoring Guideline ประเด็นสำคัญ หมายถึง ตามมาตรฐาน ตามบริบทโรงพยาบาล ตามศักยภาพโรงพยาบาล
การผ่านการรับรอง ระดับปานกลาง (HA) score 2.5- 2.9 ระดับดี (AHA) score 3.0-3.4 ระดับดีมาก score 3.5 – 3.9 ระดับดีเยี่ยม score มากกว่า 4

มาตรฐานสำคัญจำเป็น 9 ข้อ ต้องทำให้เป็น Prevention มากขึ้น ขึ้นกับ Maturity ขององค์กร                IV-1 ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย การดูแลสุขภาพ                                                                        IV-2 ผลด้านการมุ่งเน้นผู้ป่วยและผู้รับผลงาน เป็นส่วนสำคัญ ส่วนใหญ่ได้จากการสำรวจ แนะนำอาจจะเก็บจากวิธีอื่นเช่น การมาตรวจตามนัด                                                                                          IV-3 ผลด้านบุคลากร ส่วนใหญ่วัดความพึงพอใจจากการสำรวจ ควรมีตัวชี้วัดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร        IV-4 ผลด้านการนำและการกำกับดูแล ผู้นำต้องบอกว่ามีปัญหาอะไร ทิศทางองค์กรจะไปทางไหนและอยาก
ให้ช่วยกันทำอะไร                                                                                                                IV-5 ผลด้านประสิทธิผลของกระบวนการทำงานสำคัญ                                                                  IV-6 ผลด้านการเงิน

แลกเปลี่ยนความคิด 3P กับ 5 คำถาม ต้องเริ่มต้นจาก Purpose ทำไมต้องมีเรา ทำไมต้องทำ ทำเพื่ออะไร แล้วไปกำหนด Performance ก็คือ KPI หรือตัวชี้วัดแล้วจึงมา ออกแบบกระบวนการ หรือ Process เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

KPI ไม่ต้องมีเยอะ แต่ต้องเรียนรู้และพัฒนา KPI ที่มีผลลัพธ์ที่ดี ต้องถอดบทเรียน เพื่อยกระดับมาตรฐาน แนะนำไปสู่การขยายผล จะเกิด knowledge Access ส่วน KPI ที่มีผลลัพธ์ไม่ดี ยังไม่บรรลุผล ให้นำไปทบทวน วิเคราะห์หาจุดเจ็บหรือ Pain Point แล้วนำมาปรับปรุงระบบงาน

การออกแบบกระบวนการ 3C-PDSA กระบวนการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน ADLI and LeTCI
ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การวางเป้าประสงค์และออกแบบกระบวนการ ประเมินผลเพื่อสู่ความเป็นเลิศ ให้ดู Trend จากอดีต รู้ปัจจุบัน ทายอนาคต

การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ “รู้เขารู้เรา เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ เราอยู่ที่ไหน ใครเก่งที่สุด ทำอย่างไรเราจะทำให้ดีขึ้นกว่าเขา” “ตัวชี้วัดระดับองค์กร ไม่ต้องมีเยอะ แต่ต้องถ่ายระดับลงไป ให้ถึงทีมนำ หน่วยงานและบุคคลต้องรู้ว่างานของตนมีส่วนช่วยให้องค์กรสำเร็จได้อย่างไร งานของทุกคนมีความสำคัญกับความสำเร็จขององค์กร”

การเทียบเคียง การวิเคราะห์และรายงานผล ต้องออกแบบจัดเก็บข้อมูลและทำให้เป็นระบบ ต้องมีค่าเป้าหมาย หน่วยวัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด เทียบเคียงภายในและภายนอก ต้องเป็นรายกลุ่ม segmentation เช่นกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มโรค กลุ่ม แนะนำการใช้สัญญาณเขียวเหลืองแดง นำมาวิเคราะห์ปรับปรุง การใส่ Intervention ในกราฟแสดงผลจะช่วยให้มองภาพได้ชัดขึ้น การใช้ Control Chart การใช้ G Chart ในการนำเสนอผลลัพธ์ และควรปรับค่าเป้าหมายถ้าทำได้ดีขึ้นแล้ว

การรายงานและการวัดวิเคราะห์ผล การใช้ผลลัพธ์เพื่อหาโอกาสพัฒนา สร้างนวัตกรรม พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ระบบการจัดการข้อมูล Information Management System ระบบฐานข้อมูลไอที ความปลอดภัยและคุณภาพข้อมูล ต้องถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน เที่ยงตรง

Performance Excellence through Part 4                                                                        นพ.สมจิตต์ ชี้เจริญ ในปี 2030 มีแผนพัฒนาการตรวจสอบกระบวนการโดยเริ่มต้นจาก Outcome และ Performance เพื่อให้ทราบว่ามีกระบวนการไหนที่ต้องปรับ “ประเด็นสำคัญในการพัฒนาคุณภาพ คือ Better outcome, Safety และ Improve Patient Experience นำสู่ Patient Engagement”

Performance มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่กำหนดเป็น KPI และกลุ่มที่ไม่กำหนดเป็น KPI เช่น Patient Experience

Scoring Guideline ขอให้นำ DALI ไปใช้ในกิจวัตรประจำวัน โดย SAR 2022 ให้นำ Scoring Guideline มาดูและหมุนวงล้อคุณภาพ

IV-4 ผลด้านการนำและการกำกับดูแล เป้าหมาย ต้องเกิด CQI และ Innovation เน้นการวัดที่คล่องตัว IV-1.2 การจัดการสารสนเทศและการจัดการความรู้ ต้องทำให้เห็นว่าเป็น Data Drive, RM Drive นำสู่การขับเคลื่อนองค์กรคุณภาพ

สรุปการวัดมีความสำคัญ 4 ข้อ คือ 1.Relevance สะท้อนประเด็นสำคัญ ด้าน Organizational Direction, Patient Perspective, Key Process and Key System และ Leadership Effectiveness  การวัดการนำ นำบริบทขององค์กร ใน 3 ประเด็น คือ ความเสี่ยงสำคัญระดับองค์กร ตำแหน่งที่โรงพยาบาลจะขับเคลื่อนไปในอีก 1-2 ปีข้างหน้า และ ความท้าทาย  วัดการกำกับดูแล ได้แก่ Clinical Governance, Ethical Dilemma, law and Regulation 2. Analysis ดู Level, Trend, Comparison and Integration 3. Quality Improvement Process 4.CQI Innovation

ผู้ถอดบทเรียน รุ่งนภา ศรีดอกไม้ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here