การมี better health ต้องอาศัย growth mindset รายบุคลแต่ถ้าต้องการมี better health system
ต้องอาศัย growth mindset ของกลุ่มที่จะแก้ไขปัญหา
ของระบบ จึงจะมีระบบบริการสุขภาพที่ดี
ความท้าทายในการบริการสุขภาพยุคหลัง COVID-19 ระบบสุขภาพจะต้องปรับตัวอย่างไร จากสถานการณ์วิกฤติการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ที่ทำให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง การเข้ามามีส่วนร่วมและดึงศักยภาพของผู้คนในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้กล่าวถึงปฏิบัติการสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ซึ่งจะเป็นวิธีการใน
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาระบบสาธารณสุข โดยเรียนรู้จาการพัฒนาจิตตื่นรู้ การตระหนักรู้ของประชาชน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล และการเกิดนโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน
นพ.ประสิทธิชัย มั่งจิตร ระบบการทำงานด้านสุขภาพระดับอำเภอเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานบริการสุขภาพและการสร้างสุขภาวะในระดับพื้นที่ โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ซึ่งมี
การดำเนินงานร่วมกับประชาชนและภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับสุขภาวะประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนเกิดการพึ่งตนเองมากขึ้นแทนการพึ่งบริการ ในการรอบรู้ด้านสุขภาพและการดูแลตนเอง การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริม
สุขภาพและป้องกันโรค จัดการปัจจัยกำหนดสุขภาพ และการขยายบริการปฐมภูมิให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
ความเชื่อมโยงระบบสุขภาพปฐมภูมิกับระบบสุขภาพของประเทศ ควรแยกเป็น Hospital Care กับ Primary Care เพื่อเปลี่ยนแนวคิดของประชาชนไทย ที่มองระบบสุขภาพคือโรงพยาบาล ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการรักษาฟื้นฟู
การส่งเสริมและป้องกันโรค โดยหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (PCU/NPCU) มีส่วนสำคัญ
และการจัดการปัจจัยตัวกำหนดสุขภาพ ที่ต้องอาศัยภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและขับเคลื่อนโดย พชอ.
ระบบสุขภาพปฐมภูมิ จึงประกอบด้วย งานระบาด บริการปฐมภูมิซึ่งตั้งแต่แรกจนจบ เชื่อมโยงไปยังครอบครัว
ชุมชน และบริการระดับทุติยภูมิ ตติยภูมิ ระบบดูแลสุขภาพซึ่งต้องบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชน
และ ท้องถิ่น ในการจัดระบบส่งต่อบริการและการเชื่อมโยงข้อมูล ระบบสุขภาพปฐมภูมิภายใต้พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 จึงส่งเสริมให้หน่วยบริการปฐมภูมิ มีคุณภาพและมาตรฐาน เกิดการพัฒนาบริการและระบบดูแลสุขภาพ โดยลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึง ผลิตและพัฒนาทีมสหสาขาวิชาชีพในระดับปฐมภูมิ พัฒนาการส่งต่อบริการและเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพ โดยบูรณาการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ กลไกการทำงาน พชอ. ได้กำหนดผลลัพธ์ที่สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข 1) ความสัมพันธ์ใหม่ที่ร่วมทำงานเป็นทีม: รู้จัก รู้ใจ เข้าถึง พึ่งได้ 2) ประชาชนดูแลตนเองด้านสุขภาพพื้นฐานได้เหมาะสมและมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (self care & Health Literacy) 3) ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่พอดีมีคุณค่า: พอดีคน พอดีโรค (personalized and value based health care) 4) ชุมชนร่วมจัดการสุขภาพ (community health system management)
พญ.อภิสรา ธำรงวรางกูร การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภออุบลรัตน์ ในการสร้างนำซ่อม โดยการขับเคลื่อนของพชอ.หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ มุ่งเน้นการสร้างกำลังคนด้านสุขภาพในระดับพื้นที่ ได้แก่ นักบริบาลชุมชน อสม. เชี่ยวชาญซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการให้บริการเชิงรุกในช่วงการระบาด COVID-19 และทำให้เกิดความต่อเนื่อง
เชื่อมโยงประสาน การทำงานในพื้นที่เมื่อมีการถ่ายโอน รพสต. ระบบบริการสุขภาพ อำเภออุบลรัตน์ ได้สร้างการ
มีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายที่หลากหลายมากขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพบริการในโรงพยาบาล Hospital Care ตามมาตรฐาน HA และเชื่อมต่อไปยังบริการระดับ Primary Care และ Home Health Care โดยทีม COC และนำไปสู่การดูแลตนเองของประชาชน Self Care ที่ขับเคลื่อนโดยนักบริบาลชุมชน ซึ่งมีภารกิจในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน การสร้างเสริมสุขภาพ การคัดกรองร่วมกับ อสม.และรพสต และส่งเสริมการทำเกษตรด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โครงการนักบริบาลชุมชนของพ่อ มีเป้าหมายเพื่อการดูแลผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชน เป็นตัวเชื่อม ตัวช่วยของระบบสุขภาพชุมชนที่ดี โดยจัดให้มี 1 คน ต่อ 1 หมู่บ้าน และมีกระบวนการดูแลที่สำคัญ คือ 1) การคัดเลือก จากคนที่รักและเป็นจิตอาสาในชุมชน สามารถเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยแบบเต็มเวลา เป็นบุคลากรที่ไม่ใช่วิชาชีพ 2) จัดหลักสูตรในการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ โดยการฝึกอบรมในระยะเวลา 6 เดือน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 3) การติดตามดูแล
4) การจ้างงาน จากการขอรับสนับสนุนจากหน่วยงานห้างร้าน มูลนิธิ และในระยะยาวจากการสร้างกองทุนในชุมชน
/อำเภอ
ผลการดำเนินโครงการ ทำให้ปัจจุบันมีนักบริบาลชุมชน 20 คน เกิดการสร้างเสริมสุขภาพและการรักษาฟื้นฟูใน
ผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ ได้แก่ NCD, IMC, LTC, PC ทำให้เกิด Home Ward, Telemedicine และการทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
จากความท้าทายที่สำคัญของการถ่ายโอน รพสต. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการทำงานร่วมกับชุมชนและการสร้างนักบริบาลชุมชน โรงพยาบาลมีแผนการพัฒนา ได้แก่ การสร้างผู้นํารุ่นใหม่ในโรงพยาบาลและชุมชน การสร้างความยั่งยืนของโครงการนักบริบาลชุมชนของพ่อ การก้าวไปกับยุคเทคโนโลยีใน
การด้านการสื่อสาร การสร้าง health station และการออมสิ่งแวดล้อมและสร้างสิ่งแวดล้อมดี
อ.เรวดี ศิรินคร มุมมองการสร้างนำซ่อมในสามส่วน คือ การมีสุขภาพที่ดีขึ้น มีระบบบริการสุขภาพที่ดีขึ้น ระบบบริการสุขภาพที่ทำให้ชาวบ้านเป็นสุขกันได้ทั้งอำเภอ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการ คุณภาพ
การให้บริการ และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ ตามทฤษฎีสามเหลี่ยมเหล็กแห่งระบบบริการสุขภาพจากคำกล่าว
ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ. ประสิทธิ์ วัฒนา “การมี Better Health ต้องอาศัย Growth Mindset ร
ายบุคคล ทุกคนต้องมี Growth Mindset ที่จะแก้ปัญหาของตัวเอง แต่ถ้าต้องการมี Better Health System
ต้องอาศัย Growth Mindset ของกลุ่มที่จะแก้ไขปัญหาของระบบ จึงจะมีระบบบริการสุขภาพที่ดี”
การมีสุขภาพที่ดีขึ้น จึงต้องอาศัย Growth Mindset รายบุคคล โดยการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ป่วยในการ
ส่งเสริมสุขภาพตนเอง ดังนั้นบุคลากรสาธารสุขควรเข้าใจ Stage of Change ของผู้ป่วย ได้แก่
1) Pre- contemplation ขั้นเมินเฉย ไม่คิดว่าเป็นปัญหา
2) Contemplation ขั้นตระหนักรู้วามีปัญหา ลังเล
3) Determination ขั้นตัดสินใจปรับเปลี่ยน
4) Action ขั้นทำการปรับเปลี่ยน
5) Maintenance ขั้นคงไว้ซึ่งการปรับเปลี่ยน
6) Relapse ขั้นย้อนกลับสู่พฤติกรรมเดิม
การมีระบบบริการสุขภาพที่ดีขึ้น และระบบบริการสุขภาพที่ทำให้ชาวบ้านเป็นสุขทั้งอำเภอ ต้องอาศัย growth mindset ของกลุ่มคนที่จะร่วมแก้ปัญหาของระบบ เพื่อให้เกิด Better Health System โดยการขับเคลื่อนการพัฒนาของโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการในพื้นที่อำเภอ จากกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ซึ่งเป็นจุดคานงัดที่สำคัญในการขับเคลื่อนปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ระบบสาธารณสุขไม่สามารถจัดการได้ด้วยตนเองให้สามารถบรรลุความสำเร็จได้ และทำให้การขอความร่วมมือเครือข่ายที่เป็น Non Health Sectors ง่ายขึ้นและได้รับความร่วมมือดี ร่วมกับการประเมินรับรองที่บูรณาการมาตรฐาน HA+DHSA ของสรพ.
ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาจาก Work for them เป็น Work Whit them เป็น Work form them
คุณค่าที่ได้รับจากการพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ
1) ทีมนำทางคลินิกในโรงพยาบาลทำงานร่วมกับชุมชนมากขึ้น และเห็นความสำคัญของงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากขึ้น
2) เกิดการพัฒนาระบบที่มีความครอบคลุม
3) เกิดการเสริมพลังภาคีเครือข่ายในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน
4) เกิดการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายต่างๆ และสัมพันธภาพที่ดี
5) เกิดระบบการดูแลร่วมกันแบบไร้รอยต่อ
6) เกิดการแชร์ทรัพยากรร่วมกันทั้งในด้านเครื่องมืออุปกรณ์ กำลังคน และองค์ความรู้
ความท้าทายที่สำคัญของระบบสุขภาพ คือ จะทำอย่างไรให้ประชาชนเกิดการดูแลตัวเอง (self-care) โดยทุกคนต้องมี Growth Mindset ที่จะแก้ปัญหาของตัวเอง เพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพ “สร้างนำซ่อม” ฝันที่เป็นจริง
ผู้ถอดบทเรียน นางสาววิญาวรรณ แมดสถาน
นักวิชาการระบบคุณภาพ/ผู้จัดการโครงการ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)