สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สร้างความไว้ใจในระบบบริการ

0
2422
สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สร้างความไว้ใจในระบบบริการ
สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สร้างความไว้ใจในระบบบริการ

“โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบงานเป็นสิ่งสำคัญ บุคลากรทุกคนก่อให้เกิดคุณค่า ความสำเร็จและความผูกพัน เพื่อมุ่งสู่  World Class”

สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สร้างความไว้ใจในระบบบริการ
สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย สร้างความไว้ใจในระบบบริการ

ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : ประสบการณ์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล”  ที่มา แนวคิด การดำเนินการ และผลลัพธ์

จากวิสัยทัศน์ “คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นสถาบันการแพทย์ของแผ่นดินที่สร้างสุขภาวะเพื่อมวลมนุษยชาติ (Creator of global citizen wellbeing) มีพันธกิจ : 1. จัดการการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิต บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  2. ทำการวิจัย และให้บริการวิชาการ 3. ให้บริการทางการแพทย์ เพื่อเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ ด้วยผลงานที่เป็นเลิศ เป็นผู้นำและชี้นำทางการแพทย์ที่สร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและวงการแพทย์ระดับประเทศและระดับโลก

นำมาสู่การกำหนดกลยุทธ์ด้านคุณภาพ และการจัดการความรู้ ตั้งแต่ปี 2548 คือ การรับรองมาตรฐานโดยองค์กรภายนอกและการมุ่งสู่ LO ด้วย KM  ปี 2555 กำหนดใช้ TQA เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการคณะฯและเสริมสร้าง LO ปี 2558 ได้แก่ การสร้าง LO สู่ความยั่งยืน จนถึงกลยุทธ์ฯปัจจุบันคือ การสู่องค์กรอัจฉริยะ เป็นเลิศ ยั่งยืน

คณะฯ ดำเนินการพัฒนาองค์กรโดยใช้มาตรฐานคุณภาพ ควบคู่ไปกับการทำความเข้าใจ ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม และการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติอย่างทั่วถึง คณะฯให้ความสำคัญกับบุคลากร ทำอย่างไรที่จะทำให้องค์ความรู้ในตัวคนเกิดการแบ่งปันมากขึ้น ดังนั้น การจัดการความรู้ Knowledge Management : KM จึงเข้ามามีบทบาท ซึ่งระบบคุณภาพ (Quality) และKM จึงถูกดำเนินการคู่ขนานไปด้วยกันอย่างเป็นระบบ เดิมคณะฯพิจารณเพียงด้านการแพทย์ ต่อมาจึงให้ความสำคัญกับพันธกิจอื่นโดยมีการบูรณาการซึ่งกันและการ มีการนำแนวคิดงานวิจัยมาใช้ โดยเน้นหลักฐานเชิงประจักษ์ให้มีบทบาทมากขึ้น  องค์ความรู้อยู่ที่คนทำงาน ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดจากผู้บริหารคณะฯ ได้แก่ การจัดโครงสร้างการพัฒนาคุณภาพ แต่งตั้งFacilitator จากทีมส่วนกลางของคณะฯ เข้าไปช่วยเหลือ เป็นCoach ให้กับบุคลากรที่อยู่หน้างานทั้งเรื่อง การCapture Sharing และ Storage ความรู้ต่างๆอย่างเป็นระบบ

ที่ผ่านมาคณะฯต้องเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาคุณภาพทั้งภายใน ได้แก่ การเป็นคณะฯที่มีบุคลากรจำนวนมาก การบูรณาการทุกพันธกิจ การต้องเป็นผู้นำและผู้ชี้นำทางการแพทย์ที่ได้รับความเชื่อถือระดับสากล และสร้างประโยชน์ต่อวงการแพทย์ระดับประเทศและระดับโลก  รวมถึงความท้าทายภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ เทคโนโลยี เกณฑ์การประเมินที่เข้มข้น ความคาดหวัง ความต้องการของสังคม และผู้ป่วยที่มีโรคซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นนั้น จึงจำเป็นต้องปรับทั้งระบบการบริหาร การพัฒนาระบบงาน และระบบคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของคณะฯให้มีความรู้ ความสามารถ คล่องตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และเหมาะสม ในทิศทางเดียวกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย และวัตถุประสงค์การพัฒนาคุณภาพของคณะฯ ได้แก่ 1. พัฒนากระบวนการทำงานสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล ทุกระบบบริการและพันธกิจของคณะฯ เน้นผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง 2. บุคลากรทุกหน่วยงานและผู้ฝึกอบรมมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และบูรณาการในทิศทางเดียวกัน สร้างองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม และเครือข่าย คำนึงถึงความปลอดภัย ใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า 3. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และการเจริญเติบโตของคณะฯอย่างยั่งยืนและมีสุข 4. เป็นแบบอย่างของการพัฒนาคุณภาพ โดยมุ่งสู่ “เส้นทางการพัฒนาคุณภาพศิริราช สู่ความเป็นเลิศและยั่งยืน”

ระบบงานเป็นสิ่งสำคัญ บุคลากรทุกคนล้วนก่อให้คุณค่า ความสำเร็จและความผูกพัน ภายใต้การหารายได้ที่ต้องเพิ่มขึ้นเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศและความยั่งยืน

นอกจากนั้นคณะฯยังมุ่งสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ (Organizational Intelligence) คือ องค์กรที่สามารถดึงอัจริยภาพส่วนบุคคล สร้างวัฒธรรม No Harm  สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย วัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วย Siriraj KM strategy (Link – Share – Learn) & SIRIRAJ culture โดยการเชื่อมโยงบุคลากรภายในทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุน เข้ามามีส่วนร่วม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยกย่อง เชิดชู ขยายผล มีการบริหารโดยใช้ข้อมูลจริง (Evidence base) กำหนดตัวชี้วัด (KPI) การเทียบเคียง Benchmark ในการติดตามพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินตนเองและการประเมินทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้คณะฯคำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้รับบริการ ได้แก่ การเข้าถึง การตอบสนองความต้องการ ความปลอดภัย ความคุ้มค่า ความเท่าเทียม การดูแลองค์รวม ความต่อเนื่อง การมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้เครื่องมือ และมาตรฐานคุณภาพหลายรูปแบบเข้ามาบูรณาการเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับคณะฯ ได้แก่ TQA JCI AHA ISO SIRIRAJ 2PSafety Goals CQI & R2R มีการกำหนดจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพฯ ประจำปี “CEE.EO : Communication Engagement Environment  Excellence Organization” เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาและขับเคลื่อนการปฏิบัติงานทุกระดับสู่วิสัยทัศน์ร่วมกัน

จากการดำเนินการต่างๆด้านการพัฒนาคุณภาพของคณะฯอย่างจริงจัง ส่งผลให้เกิดผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ดังตัวอย่าง ผลการประเมินวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย Clinical improvement อัตราความชุกของแผลกดทับ อัตราการติดเชื้อปอดอักเสบจากเครื่องช่วยหายใจ  Adult patient with Insulin administration ผลการประเมินดัชนีองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลการสำรวจความพึงพอใจผู้ป่วยต่อการใช้บริการโรงพยาบาล นอกจากนั้นคณะฯใช้ตัวชี้วัด Siriraj Concurrent Trigger Tool (SICTT) by Mews (ตัวส่งสัญญาณ) ที่พัฒนาขึ้น ผ่านเครื่องมือ R2R ขยายทุกหน่วยงานพยาบาล มุ่งสนองตอบ Safety KPI ของโรงพยาบาล สู่วัฒนธรรมความปลอดภัย และ High Performance Organization จากการดำเนินงานต่างๆจนประสบความสำเร็จ เกิดจากปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ 1. การนำองค์กร และวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความปลอดภัย 2. บุคลากรมีทัศนคติ “ยิ่งให้ ยิ่งได้” Respect Responsibility 3. มีระบบความดีความชอบ “เชิดชู ให้เกียรติ” 4. มีการเรียนรู้ ยอมรับความผิดพลาด “ผิดเป็นครู” เรียนรู้จากความผิดพลาด วิเคราะห์การใช้ข้อมูล เพื่อพัฒนาอย่างเป็นระบบ ต่อยอดสร้างสรรค์จนเกิด Best Practice ขององค์กร เปิดมุมมองใหม่ ปรับMind set ปรับพฤติกรรมบุคลากร จนล่าสุดทำให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัล TQC Plus ซึ่งถือเป็นรางวัลการบริหารจัดการในภาพรวม และตั้งเป้าหมายไปสู่รางวัล TQA : Thailand Quality Award ต่อไป

ถอดบทเรียนโดย สดศรี พูลผล หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพงาน                                                                                  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพถ่ายโดย Monstera จาก Pexels

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here