เทคโนโลยีเปลี่ยนไว เราจะรับมืออย่างไร

1
5719
เทคโนโลยีเปลี่ยนไว

โดย ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ (กสทช.)

“ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้เทคโนโลยีมากที่สุดอันดับต้น ๆ ในโลก แต่คำถามคือแล้วเราจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างไร”

“เทคโนโลยี” โดยทั่วไปหมายถึง วิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้องค์ความรู้หรือกระบวนการ ในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น หากนึกถึงเทคโนโลยี คนส่วนใหญ่จะตั้งกำแพงขึ้น 3 ชั้น ได้แก่  1) เทคโนโลยีเป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ 2) ต้องใช้เงินทุนสูงจึงจะเข้าถึงเทคโนโลยีได้ และ 3) การใช้เทคโนโลยีต้องมีความรู้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดกำแพงเหล่านี้ขึ้นทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่าเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ไกลตัว

Trillion-sensor Economy

ในโลกยุคปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องจักรมากขึ้น เป็นยุคของการแข่งขันของคนสองกลุ่ม คือ คนที่รู้จักใช้เทคโนโลยี กับคนที่คุ้นเคยกับรูปแบบการทำงานเดิมๆ อีกทั้งในระยะหลังๆ เราจะได้ยินคำว่าดิจิตอลมากขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่จะคิดว่าดิจิตอลคือเทคโนโลยี แต่จริง ๆ แล้ว ดิจิตอลเป็นเรื่องของคนที่รู้จักนำใช้เทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ดิจิตอล มีคำสองคำที่เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ Decentralized และ Disruption การ decentralized ต้องอาศัยการมีส่วนร่วม (collaboration) ความโปร่งใส (transparency) การแบ่งปัน (sharing) การสร้างความเข้มแข็ง (empowerment) ในการพัฒนารูปแบบข้อมูลข่าวสาร ส่วนอีกคำคือ disruption เมื่อพูดถึงคำนี้ความรู้สึกของคนทั่วไป อาจกลัวและกังวล แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง disruption เป็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีใหม่ๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงที่อาจทำให้สิ่งเดิมๆ ที่ทำอยู่ล้มหายไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในยุคปัจจุบันคือ AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ที่เข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำงานของมนุษย์ตั้งแต่การวางแผน การเรียนรู้ การตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ แทนมนุษย์ จะเห็นว่าปัจจุบันคนตกงานมากขึ้นจากการที่เครื่องจักรเข้ามาทำงานแทนที่ ทำให้มีกลุ่มคนที่ต่อต้านเทคโนโลยี (digital luddite) แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราทุกคนจะต้องอยู่กับเทคโนโลยีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทักษะที่จำเป็นในการปรับตัวให้เท่าทันในยุคดิจิตอล คือ collaboration skill และ communication skill คำถามคือ เราจะปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างไร

“แต่ก่อนอาจเคยได้ยินปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ปัจจุบันคือ ปลาไวกินปลาที่เชื่องช้า”

ดังนั้นแล้วสิ่งที่เราต้องทำคือ ทำลายกำแพง ทำลายความเชื่อเดิมๆ โดยมอง disruption ให้เป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเอง เปิดใจเพื่อเรียนรู้ในกับเทคโนโลยี แล้วเราจะพบว่าเทคโนโลยีไม่ใช่ข้อจำกัด แต่อยู่ที่เราจะทำความเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไรต่างหาก

ในขณะเดียวกัน ในยุค AI สิ่งที่ต้องเพิ่มในจิตวิญญาณมนุษย์ คือ เพิ่มอารมณ์ ความรู้สึก ความเมตตา เมื่อ AI บุกโลก เรายิ่งต้องเป็นมนุษย์ รู้อารมณ์และจิตใจของเรา ทำหน้าที่ให้ดีที่สุดทุกลมหายใจ
(จากเมื่อ AI บุกโลก จิตวิญญาณมนุษย์จะเป็นอย่างไร? โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี และแม่ชีศันนีย์ เสถียรสุต)

 

 

1 ความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here