เปลี่ยนมุมมอง พลิกชีวิต เปลี่ยนวิธีคิด พลิกคุณภาพงาน
จุดร่วมของการร่วมมือกันทำงานของบุคลากรในทีมสหวิชาชีพคือ “ผู้ป่วย” เราทำงานทุกอย่างเพื่อผู้ป่วย เวลาที่เราให้บริการผู้ป่วย จะมีกี่มากน้อยที่เราจะนำผู้ป่วยมาเป็นจุดศูนย์กลางอย่างแท้จริง? เราเคยรับฟังเสียงสะท้อนของผู้ป่วยแล้วนำปัญหาที่แท้จริงมาแก้ไขหรือไม่?
เราควรให้บริการโดยมุ่งเน้นที่การตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ มีประโยชน์อย่างแท้จริงกับผู้รับบริการ และสามารถนำ ไปต่อยอดได้
การเปลี่ยนแปลง ทำไมเราต้องเปลี่ยนแปลง? การเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับเราอย่างไร? เริ่มต้นที่มุมมองและการตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน แต่อาจนำไปสู่การรับข้อมูล หรือการตัดสินใจที่แตกต่างกัน เปรียบเสมือนการหมุนวงล้อคุณภาพ (PDCA) จะทำอย่างไรให้วงล้อหมุนได้อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงกระบวนการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยของทีมสหวิชาชีพ เวลาที่ให้บริการโดยเฉพาะด้านกายภาพบำบัด เมื่อพูดถึงผลลัพธ์การให้บริการแล้ว เรามักจะวัดผลลัพธ์ในเรื่องของการลดปวด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แต่จะมีตัวชี้วัดใดที่สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังจากได้รับการบริการ
จุดร่วมของการร่วมมือกันทำงานของบุคลากรในทีมสหวิชาชีพ คือ “ผู้ป่วย” เราทำงานทุกอย่างทำเพื่อผู้ป่วย เวลาที่เราให้บริการผู้ป่วย จะมีกี่มากน้อยที่เราจะนำผู้ป่วยมาเป็นจุดศูนย์กลางอย่างแท้จริง? เราเคยรับฟังเสียงสะท้อนของผู้ป่วยแล้วนำปัญหาที่แท้จริงมาแก้ไขหรือไม่?
การให้ผู้รับบริการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ย่อมส่งผลดีต่อการรักษา หากเรายังไม่เปลี่ยนมุมมอง และพัฒนารูปแบบการให้บริการที่เหมาะสม เราจะติดอยู่ในกับดักของวิชาชีพเช่นเดิม เราควรให้บริการที่เน้นประโยชน์กับผู้รับบริการอย่างแท้จริง และสามารถนำไปต่อยอดได้
ผลลัพธ์ของการให้การบริการที่เรามักคำนึงถึง คือ ความปลอดภัย ผลทางคลินิก ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ค่าใช้จ่าย การแก้ไขความบกพร่อง (Impairment) ต่างๆ เช่น ความรู้สึกเจ็บปวด การยึดติดของข้อต่อ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในการให้บริการทางกายภาพบำบัด ควรมีการคำนึงถึงความจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และการเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมของผู้รับบริการด้วย มีผู้ให้บริการกี่คน ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย เราต้องเปลี่ยนมุมมองเพื่อไปให้ถึงการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย ดูแลรักษาให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตหรือประกอบอาชีพได้ตามปกติ เราพึงเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมหรือเป็นศูนย์กลางของการให้บริการ นอกจากนี้ ควรคิดจากปัญหาที่พบว่า สามารถนำไปต่อยอดอะไรได้บ้างในการทำงานแบบที่เน้นการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม การยอมรับในสังคม และการมีตัวตนของผู้รับบริการ
การนำผู้ป่วยและญาติเป็นศูนย์กลางของการให้บริการ โดยความร่วมมือนั้นมีหลายระดับ คือ 1. Conversation – พูดคุย เป็นด่านแรกที่ต้องทำ เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกาย 2. Communication – สื่อสาร แบบเชิงลึก และรับฟัง เข้าถึงสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ 3. Coordination – ประสานงาน ไม่ใช่แค่การส่งคำปรึกษา แต่หมายถึงสมดุลของผลประโยชน์ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 4. Cooperation – ร่วมมือ ตั้งเป้าหมายการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่วมกันระหว่างบุคลากรในทีมสหวิชาชีพ 5. Collaboration – ร่วมใจกันทำงาน
ทุกส่วนนี้ ต้องมีความเชื่อใจ (Trust)
ของทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการเป็นฐาน
ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี เปลี่ยนมุมมอง พลิกชีวิต เปลี่ยนวิธีคิด พลิกคุณภาพงาน
ถอดบทเรียน ร.ท.อธิภัทร พรมกลาง
ตำแหน่ง นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay