เปลี่ยนแปลงแสงสว่างแห่งวิชาชีพ

0
3138
เปลี่ยนแปลงแสงสว่างแห่งวิชาชีพ

เปลี่ยนแปลงแสงสว่างแห่งวิชาชีพ

“เมื่อเราได้รับมอบหมายความเป็นวิชาชีพ ความรับผิดชอบเรามา เรารู้สึกภาคภูมิใจ แล้วเราก็ทำหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งความรับผิดชอบ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้รับมอบหมาย แต่เราไม่ทำหน้าที่ เราจะมีคุณค่าหรือเปล่า เป็นคำถามที่เกิดขึ้น เมื่อเราได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้างาน หัวหน้าพยาบาลหรือหัวหน้าหน่วย เราได้รับมอบหมายแล้วเราต้องทำหน้าที่จะสอดคล้องกับสถานการณ์หรือเปล่า แล้วจะเหลืออะไรไว้ให้รุ่นน้องถ้ารุ่นเราออกไป ไม่ว่าเราจะขึ้นอยู่ในตำแหน่ง 1 ปี 2 ปี 3 ปี 4 ปี เราต้องงอกอะไรไว้ให้รุ่นน้องบ้าง” (พว.นลกฤช ศรีเมือง)

ทำไมต้องมีการเปลี่ยนแปลง มักเป็นคำถามในทุกองค์กรและทุกวิชาชีพ คำว่า “ทำดีอยู่แล้ว” เป็นกับดัก วิธีคิดของการพัฒนาองค์กร สำหรับระบบสุขภาพของประเทศไทยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วง 10 ปี เนื่องจาก การพลิกโฉมของเทคโนโลยี การก้าวเข้าสู่ ยุค Thailand 4.0 ซึ่งมีผลกระทบกับทุกองค์กรและทุกวิชาชีพต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วพยาบาลจะเปลี่ยนอะไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อให้วิชาชีพพยาบาลพัฒนาควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลง เป็นวิชาชีพมีความเข้าใจ ความตั้งใจและมีแรงบันดาลใจ ที่จะคงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี มีอัตลักษณ์ มีบทบาทเป็นที่ยอมรับของทีมการดูแลรักษาและสังคม จะเป็นแสงสว่างสำหรับวิชาชีพ “พยาบาล”

พญ.นลกฤช ศรีเมือง ประเด็นการเปลียนแปลงที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพ และระบบสาธารณสุขประเทศไทยส่งผลต่อวิชาชีพ ผู้บริหารทางการพยาบาลจะมียุทธศาสตร์การปรับตัวและประสานความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อความอยู่รอด ความยั่งยืนของวิชาชีพพยาบาล ที่ดำเนินงานในหน้าที่ของตนเองอย่างงดงาม จากอดีตกลุ่มผู้บริโภคทางสุขภาพจะเป็นเพียงผู้ที่ยอมรับการรักษาหรือรับการให้ดูแล ปัจจุบันพยายามส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ เสริมพลังให้เข้ามาร่วมในการรักษา แต่อนาคตอิทธิพลของเทคโนโลยี โซเชียล การใช้คอมพิวเตอร์เข้าทดแทนการบริการส่งผลกระทบต่อการดูแลทางด้านสุขภาพ

พว.ชุติกาญจน์ รัตนโอภา เมื่อผู้บริหารทางการพยาบาลได้รับนโยบายในการเปลี่ยนแปลง จะต้องกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลการพยาบาลตามมาตรฐาน การทำให้ พยาบาลมีความรู้และทักษะเชิงวิชาชีพ เก่ง มีความสุข เน้นการขับเคลื่อน ในการทำงาน สร้างพยาบาลให้มีบทบาทการดูแลผู้ปวย (Patient Center Care) ที่เป็นรูปธรรม โดยการเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุให้พยาบาลสามารถดำเนินการหรือปฏิบัติได้จริง

พว.รณิดา สว่างวรรณ์ การนำหลักฐานเชิงประจักษมาใช้ในการดำเนินงานนั้นจะต้องเป็นนโยบายจากผู้บริหารโรงพยาบาลก่อน ตัวอย่าง  ในเรื่อง การนำ Evidence base มาใช้กับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อค้นหาเครื่องมือที่ช่วย    ผู้ป่วยเบาหวานในการดูแลกำกับตัวเองของผู้ป่วย เพื่อใช้ ตัดสินใจในการปฏิบัติงานและพิจารณาเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ให้บริการภายใต้ต้นทุนที่น้อยที่สุด ทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าดีพอหรือยังที่จะนำมาใช้ พยาบาลมีทักษะหรือไม่ในการใช้ และต้องทำความเข้าใจกับพยาบาลหรือเจ้าที่ที่เกียวข้องให้เปิดใจยอมรับ ตอบสนองความต้องการและการยอมรับของผู้รับบริการ การคัดเลือกหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้กับผู้ป่วยเบาหวานนั้นต้อง วิเคราะห์ถึงความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ผู้ป่วยภาคใต้รับประทานอาหารที่ค่อนข้างหวานและฤดูการผลไม้มีทั้ง 12 เดือน ต้องนำมาประยุกต์ใช้โดยที่ไม่หลอกลวงผู้รับบริการ สามารถนำมาปรับเปลี่ยนเกิดการปฏิบัติได้จริง หลักฐานที่นำมาใช้มีความหน้าเชื่อถือ มีมาตรฐานและสามารถประกันคุณภาพให้กับองค์กร สิ่งเป็นความท้าทายคือตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ ตองสนองกับการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การดำเนินงานเมื่อได้รับนโยบายเรื่องการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้  เริ่มกำหนด Career Path พยาบาลวิชีพที่ปฏิบัติงาน แบ่งบทบาทหน้าที่ ในการพัฒนา โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 4 ระดับ  เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาในสายวิชาชีพ

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี เปลี่ยนแปลงแสงสว่างแห่งวิชาชีพ

ถอดบทเรียน นงนุช สมประชา

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลสวนผึ้ง

Photo by Josh Boot on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here