เมื่อกำลังคนสุขภาพกำลังหมดไฟ” How to Reboost People Management
“การจัดการคน” เพื่อแก้ปัญหา และรักษากำลังคนสุขภาพ เพื่อการคงอยู่พร้อมรับความท้าทายใหม่ เป็นบททดสอบความแข็งแกร่งขององค์กร
“กำลังใจในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะเพิ่มพลัง เพิ่มความเข้มแข็งให้กับกำลังคนสุขภาพที่กำลังหมดไฟ”
ในสภาวการณ์ปัจจุบันหลายองค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญกับ “อภิมหาการลาออกครั้งใหญ่” The Great Resignation เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรค Covid-19 ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาทางการเมือง หรือปัญหาการสู้รบ ทั้งหมดเปรียบเหมือน Perfect Storm ทำให้ชีวิตของประชาชนจำนวนมากเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะประเทศไทยพนักงานองค์กรเอกชนหลายแห่งมีการลาออกโดยไม่สมัครใจ เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน ธุรกิจด้านธนาคาร ธุรกิจด้านสื่อสารมวลชน อีกทั้งบุคลากรวิชาชีพขาดแคลน ขาดความมั่นคงในการทำงานเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
พบว่าหากเปรียบเทียบภาวะต้มยำกุ้ง ในปี พ.ศ. 2540 ที่เศรษฐกิจตกต่ำ กับสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ในอดีต ถึงแม้จะมีประชาชนตกงานถึง 1.6 ล้านคน แต่สามารถกลับมามีงานทำใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ปัจจุบันหลายธุรกิจปิดตัว ล้มละลาย ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบเป็นวงกว้างทั้งเรื่องการไม่สามารถกลับเข้าทำงานได้อีก แม้ว่าคนที่มีงานทำและองค์กรธุรกิจที่ดำเนินต่อไปได้ยังคงต้องปรับตัว ปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น หลายองค์กรกำหนดสัดส่วนบุคลากรปฏิบัติงานที่ทำงาน และปฏิบัติงานที่บ้าน (Work at Home)ให้เหมาะสม มีการประชุม การสัมมนาผ่านระบบออนไลน์ การเว้นระยะห่าง ทั้งนี้เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยใช้ระยะเวลานานเกินไป อาจทำให้บุคลากรอยู่ในภาวะหมดพลัง หมดไฟ (Burnout) รู้สึกเบื่อหน่ายในการทำงาน ดังตัวอย่างจากผลการสำรวจอาการที่เกิดขึ้นของพนักงาน ได้แก่
- เหนื่อยล้า หมดพลัง ทั้งพลังทางกายและอารมณ์
- เกิดความรู้สึกทางลบกับงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ
- เฉยเมย หรือเห็นอกเห็นใจกับผู้คนน้อยลงอย่างไม่มีเหตุผล
- หงุดหงิดกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือหงุดหงิดกับเพื่อนร่วมงาน
- ไม่เข้าใจผู้ร่วมงาน หรือผู้ร่วมงานไม่ชื่นชอบ
- เหมือนไม่มีใครที่จะพูดคุยด้วย
- คิดว่าประสบความสำเร็จน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
- เหมือนอยู่ภายใต้แรงกดดันที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่สำเร็จ
- คิดว่ายังไม่ได้สิ่งที่ตนเองต้องการในการทำงาน
- คิดว่าเลือกทำงานในองค์กรที่ผิด หรือเลือกอาชีพผิด
- ผิดหวังกับบางส่วนของงานที่ทำหรือภาระที่ต้องรับผิดชอบ
- คิดว่ามีการเมืองในองค์กรหรือการทำงานที่มีขั้นตอนมาก ทำให้ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จไปได้ด้วยดี
- มีหลายงานที่เกินขีดความสามารถของตนที่จะทำงานดังกล่าว
- ฉันไม่มีเวลาที่จะทำหลาย ๆ งาน และที่มีความสำคัญจะต้องทำงานนั้นอย่างมีคุณภาพ
- ฉันรู้สึกว่าไม่มีเวลาที่มากพอในการวางแผนการทำงานที่ต้องการจะทำให้แต่ละคนทดสอบว่าพลังในตัวเราตอนนี้อยู่ในระดับใด
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งตัว หรือวางแผนรองรับ ดังนั้นทฤษฏีห่านดำ (Black Swan) โดย Nassim Nicholas Taleb น่าจะนำมาใช้ได้กับยุคปัจจุบัน จากสิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ และถึงแม้โอกาสเกิดขึ้นน้อยมากแต่หากเกิดจะนำมาสู่การหายนะทั่วโลก สถานการณ์Covid-19 เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้จักทฤษฏีนี้ ทฤษฏีห่านดำ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เหตุการณ์นั้นมีผลกระทบมหาศาลเมื่อเกิดขึ้น และหลังเหตุการณ์นั้นมีเหตุผลอธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
ทั้งนี้เมื่อเกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้นแล้วมนุษย์แต่ละกลุ่มมีการปรับตัวเช่นไร
กลุ่มที่ 1 : Fragile กลุ่มคนที่เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง กลุ่มที่มีความเปราะบาง แตกสลาย ตัวอย่างช่วงสถานการณ์ Covid-19 คนที่ทำงานภาคธุรกิจโรงแรม บริการ คนที่ถูกลดการจ้างงาน
กลุ่มที่ 2 : Robust กลุ่มที่ทนต่อแรงเสียดทานในช่วงเวลาปกติ อดทน กลุ่มนี้รับความเครียด รับความไม่แน่นอนอยู่แล้ว อึด กัดไม่ปล่อย ตัวอย่างช่วงสถานการณ์ Covid-19 พนักงานขับรถ Grab Line man
กลุ่มที่ 3 : Anti-Fragile กลุ่มที่เปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาสได้ตลอดเวลา ก้าวข้ามความคิด เป็นกลุ่มที่เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ แสวงหาโอกาสได้รับประโยชน์จากความไม่แน่นอน ไม่มีกรอบ ก้าวข้าม Mental Model ของตัวเองได้ตลอดเวลา ไม่มีการวางแผนแบบตายตัว Improvise ไปกับสถานการณ์ที่เจอได้ตลอดเวลา ไม่ใช่ “Prisoner of a Plan” ใช้ความรู้สึกเป็นตัวนำทางมีSense of Urgency เห็นอะไรดีไปทางนั้น และยอมรับความเสี่ยงได้
คนทำงานในอนาคตของกลุ่ม Anti fragile ต้องมีความสามารถ 3 ประการ ดังนี้
- ปรับตัวได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว
- ต้องมีความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น
- ต้องเป็นคนชอบตั้งคำถาม และรู้จักหาคำตอบ
สำหรับองค์กรในอนาคตจะต้องมีการปรับตัวเป็น Remote-first Company โดยเฉพาะภาคธุรกิจจะมีการทำงานที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งพบว่ามี Productivity ที่มากขึ้น เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น Work-life Balance
จากสถานการณ์ที่มีผลกระทบมากมายข้างต้น พบว่าคนไทยอยู่ในภาวะหมดไฟ มากกว่า 4.4 % อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พนักงานตัดสินใจลาออก เช่น บรรยากาศในการทำงาน หัวหน้างาน ความเครียด ระบบงานไม่ชัดเจน ค่าตอบแทนน้อย กดดัน ไม่มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ เบื่อ หมดพลัง หมดไฟ อัตรากำลังน้อยงานหนัก ซึ่งสามารถป้องกันโดย Work/Life Balance, Workloads Monitoring, WFH Option, Workplace Wellness, Goals & Career Path, Open Communication, Lead by Example หรือวิทยากรได้แนะนำภาพยนตร์ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เกิดพลัง ได้แก่ เรื่อง Bucket List ซึ่งเป็นเรื่องของผู้เฒ่า 2 คนที่ถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต หารือกันว่าต้องการจะเดินทางไปทำสิ่งที่ตนเองต้องการ “มนุษย์หากสิ้นจากโลกนี้แล้วจะไปสวรรค์หรือไม่” ทั้งนี้มีคำถามที่ท้าทาย 2 ประการ คือ คำถามที่ 1 ช่วงที่เป็นมนุษย์มีความสุขหรือไม่ (หากตอบว่า มีความสุข แสดงว่าผ่านประตูด่านแรกแล้ว) คำถามที่ 2 เมื่อคุณเป็นมนุษย์คุณทำให้ตนเองมีความสุขแล้ว คุณได้ทำให้คนอื่นมีความสุขด้วยหรือไม่ (หากตอบว่า สามารถทำให้คนอื่นมีความสุขด้วย แสดงว่าคุณผ่านประตูด่านสุดท้าย)
ดังนั้นงานวิชาชีพเฉพาะ แพทย์ พยาบาล เภสัช ฯ เป็นวิชาชีพที่มีเกียรติ ถึงแม้จะเหนื่อย แต่ทำให้คนอื่นพ้นทุกข์ และมีความสุขด้วยเช่นกัน
ผู้ถอดบทเรียน สดศรี พูลผล หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพงาน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล