แผนพัฒนาคุณภาพและการปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน

0
1622
แผนพัฒนาคุณภาพและการปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน

“แผนเป็นเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลง
เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติและติดตามความสำเร็จ แผนที่ดีต้องเป็นสิ่งที่คนอ่านแล้วเข้าใจ และทำได้เลย
ทำอย่างไรไม่ให้ แพลนแล้วนิ่ง ต้องเริ่มด้วย passion ต้องทำเป็นระบบ กระจายความรับผิดชอบ  ทำจริง และตอบโจทย์ รพ.”
นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล (ผู้ทรงคุณวุฒิ สรพ.)

แผนพัฒนาคุณภาพ (Quality Improvement Plan: QI Plan) คือ แผนซึ่งแสดงถึงการใช้กระบวนการพัฒนาที่กำหนดไว้อย่างรอบคอบ (เช่น PDSA) มุ่งเน้นที่กิจกรรมซึ่งตอบสนองความต้องการขององค์กรและการยกระดับสุขภาพของประชากร ความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุการพัฒนาที่วัดผลได้ในมิติต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพหรือประสิทธิผล

Quality Improvement Plan in HA Standards กำหนดอยู่ในมาตรฐานตอนที่ II ระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล II-1.1 การบริหารงานคุณภาพ (quality management) ก. ระบบบริหารงานคุณภาพ (quality management system) (6) องค์กรนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินตเองและการวัดผลการดำเนินการมาใช้ในการทบทวนและชี้นำการพัฒนาคุณภาพ (ดูเพิ่มเติมในเกณฑ์ข้อ I-4.1 ค.) (7) องค์กรจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อตอบสนองต่อโอกาสพัฒนาที่ระบุไว้ (i) มีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน (ii) ระบุกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (iii) ครอบคลุมการพัฒนาของทั้งองค์กร (iv) ส่งเสริมการพัฒนา คุณภาพอย่างต่อเนื่อง (v) ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ (vi) สามารถใช้ติดตามประเมินผลได้ (8) องค์กรสื่อสารแผนพัฒนาคุณภาพกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง นำแผนไปดำเนินการ โดยมีการติดตามประเมินผลการพัฒนา

การประยุกต์ใช้ 3C-DAL! กับโครงการพัฒนาคุณภาพ ที่มาของแผนพัฒนาคุณภาพ ได้มาจากการประเมินตนเอง II-1.1 ก (4) ผลการดำเนินการขององค์กรและบริการ (II-1.1 ก (5) และทบทวนการให้บริการและการดูแลผู้ป่วย (II-1.1 ข (1) โดยเริ่มจากหาโอกาสพัฒนาโดยใช้ NEWS ได้แก่ Need, Evidence Knowledge, Wastes, Safety ข้อเสนอแนะจากการเยี่ยมสำรวจ และ การติดตาม Performance จาก SAR part IV แล้วตั้งเป้าหมายว่าจะทำอะไรให้ชัดเจน วัดได้ กำหนดระยะเวลาและกำหนดแผนที่จะพัฒนา

แผนพัฒนาคุณภาพครอบคลุมการพัฒนาทั้งองค์กร แผนพัฒนาคุณภาพเป็นแผนใหญ่ที่ดูภาพรวมหรือแผนกิจกรรมเป็นเรื่อง ๆ ทุกระดับควรมีแผนพัฒนาคุณภาพเฉพาะของตนเอง ผู้รับผิดชอบแผนพัฒนาคุณภาพ คือ ผู้บริหารสูงสุดในระดับนั้นๆ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แผน 3 ระดับ คือ แผนระดับองค์กร แผนระดับทีมนำระบบงานและแผนระดับหน่วยงาน แผนพัฒนาคุณภาพระดับองค์กร รับผิดชอบโดยศูนย์คุณภาพ หรือ QMR  ระดับระบบงาน/CLT/PCT รับผิดชอบโดยคณะกรรมการระบบงาน/CLT/PCT และระดับหน่วยงาน รับผิดชอบโดยหัวหน้าหน่วยงาน โดยศูนย์คุณภาพมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและติดตามการจัดทำแผนคุณภาพในทุกระดับ ต้องจัดการอบรม ชี้แนะ โดยมีเลขานุการทีมระดับต่างๆ เป็น Owner ในการรับผิดชอบแผน

แผนพัฒนาคุณภาพกับแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลต่างกันอย่างไร กลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ คือ สิ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์/บริการ กระบวนการ ลูกค้า/ตลาด ระบบนิเวศ ธุรกิจ ความสัมพันธ์ สมรรถนะหลักใหม่ๆ
(มักมาจากโอกาสและความท้าทายที่สำคัญขององค์กร) กลยุทธ์ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพและความปลอดภัย นำมาทำเป็น Action Plan พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย แผนยุทธศาสตร์ เมื่อนำมาสู่การปฏิบัติแล้วไม่ได้ตามเป้าหมาย เป็นโอกาสพัฒนา นำมาทำแผนพัฒนาคุณภาพได้

แผนพัฒนาคุณภาพ คือ แผนที่ระบุกระบวนการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับผลการดำเนินการขององค์กรและระดับสุขภาวะของผู้รับบริการ ที่วัดผลได้ในมิติต่างๆ แผนพัฒนาคุณภาพถือว่าเป็น Operation Plan จะเป็นแผน 1 ปีแต่ถ้าแผนพัฒนาคุณภาพนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ ก็อาจจะมีระยะเวลามากกว่า 1 ปีได้ นำเรื่องที่มีผลกระทบสูงและมีความเป็นไปได้สูง มาทำก่อน โดยกำหนดเป็น Quick Win และ Major Project ความเชื่อมโยงแผน ต้องมีการถ่ายทอดแผนจากระดับองค์กรสู่ระดับทีมนำและระดับหน่วยงาน และการวัดผลสำเร็จของแผนพัฒนาคุณภาพ ต้องวัดการบรรลุวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นที่มาของแผนนั้น

ทำอย่างไรให้แผนไม่นิ่ง (แผนมีชีวิต) ในระดับหน่วย ทีมนำและ QMR ควรมีบทบาทอย่างไร
แผนระดับหน่วยงาน หัวหน้าหน่วยงานต้องเจ้าภาพในการนำแผนสู่การปฏิบัติ ติดตามในวาระการประชุมของทุกหน่วยงาน สื่อสารนโยบาย นำแผนไปสู่การปฏิบัติ สร้าง positive loop ช่วยการแก้ไข ช่วยเหลือดูแลให้หน่วยงานปฏิบัติได้
แผนระดับทีมนำระบบงาน ต้องมอบหมายผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน และมีการติดตาม อย่างต่อเนื่อง จัดเวทีพิเศษ ติดตามทุก 3 เดือน โดยมีผู้อำนวยการเป็นประธาน ให้ทีมนำมารายงานผลงานและปัญหาอุปสรรค ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็น Quality Meeting ระดับ Leader ไม่จำเป็นต้องตั้งกรรมการ นำ Lead Team ที่บริบทใกล้กันมานำเสนอพูดคุยกัน รายงานทีละทีมเป็นระยะเวลาสั้นๆ
แผนระดับองค์กร ผู้บริหารงานระบบคุณภาพ (quality management representative: QMR) รับผิดชอบ “ที่สำคัญคือ QMR ต้องเป็นฝ่ายเดียวกับผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารเป็นตัวแทนการรับฟังเสียงของคนในโรงพยาบาล ต้องทราบสิ่งที่ผู้บริหารสนใจคือเรื่องอะไร มีอะไรเชื่อมโยงกับคุณภาพ แล้วมาหาทางในการพัฒนา”

การเลือกใช้คำพูดในการสื่อสารกับผู้บริหาร ควรใช้คำพูดที่ปรับใช้ได้กับทุกระดับ ใช้ภาษาง่ายๆ กับแพทย์และบุคลากรในการค้นหาปัญหาและพัฒนาคุณภาพ คำต้องห้าม เช่น Risk ควรใช้คำว่าเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเป็นห่วงหรือมีความกังวลในเรื่องอะไร เป็นต้น

บทสรุป โรงพยาบาลควรจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพทุกระดับ ตั้งแต่ระดับองค์กร ระดับทีมนำระบบงานและระดับหน่วยงาน ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพต้องบูรณาการงานร่วมกันระหว่างทีมงานแผนยุทธศาสตร์กับทีมพัฒนาคุณภาพ “อย่าสื่อสารกันด้วย Blame แต่ให้สื่อสารกันว่าจะช่วยกันอย่างไร” ต้องทำให้แผนพัฒนาคุณภาพ เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ จึงจะสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรได้

ผู้ถอดบทเรียน นางสาวรุ่งนภา ศรีดอกไม้
หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here