โรงพยาบาลในอนาคตต้องเผชิญ กับความคาดหวังของผู้คน

0
8955

โรงพยาบาลในอนาคตต้องเผชิญ กับความคาดหวังของผู้คน

“ตอนนั้นสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลองค์การมหาชนมีชื่อเดิมชื่อว่า พรพ.สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล  ตอนใหม่ๆ      ก็ไม่รู้ว่าเขาทำงานอะไรกัน ก็ปฏิเสธอาจารย์อนุวัฒน์เลยว่าแม่ต้อยมีงานทำซึ่งแม่ต้อยก็รักอยู่ เดิมอยู่แล้วนะคะ แต่พอได้รับการชักชวนบ่อยๆ มากครั้งเข้า    ก็ได้มานั่งคุยกันก็เกิดความศรัทธาในสิ่งที่จะทำอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะว่ามันเห็นภาพฝันว่าเราต้องการให้ประเทศไทย มีโรงพยาบาลที่มีคุณภาพและมีวัฒนธรรมของคุณภาพ     ซึ่งมันเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนปรารถนา แล้วถ้าเราไม่ทำ ก็จะเสียโอกาส    ที่สำคัญในชีวิตเลย นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาที่ พรพ.ในสมัยนั้นค่ะ”

 

อาจารย์ดวงสมร  บุญผดุง  เริ่มเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ได้มาเริ่มโครงการนี้ ด้วยน้ำเสียงและแววตาที่ภาคภูมิใจ

ที่นี่พอเข้ามาในสถานการณ์ที่เราเริ่มต้นงานสิ่งใดสิ่งหนึ่ง    “สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นก็คือเราจะต้องมีความรักในงาน  มีความรักและก็มีความภาคภูมิใจ ในสิ่งที่เราทำตลอดเวลา  สิ่งนี้จะทำให้เราเกิดความรับผิดชอบในตัวเอง  แม่ต้อยสังเกตเห็นสายตาของอาจารย์อนุวัฒน์ เป็นสายตาของผู้ชายที่มีความมุ่งมั่นในการทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่  แล้วแม่ต้อยก็นึกในใจว่าอาจารย์อนุวัฒน์จะทำได้ไหมคนเดียว  สิ่งเหล่านั้นเองทำให้แม่ต้อยตัดสินใจลาออกจากราชการ ที่จะมาช่วยอาจารย์ทำเพราะคิดว่าถ้าเราสามารถทำสิ่งเหล่านี้ ที่ฝันในขณะนั้นให้เป็นจริงได้ อันนี้ก็คือคุณูปการที่สำคัญมากของประเทศไทย เราจะต้องช่วยผู้ชายคนนี้ ให้ไปสู่ความสำเร็จให้ได้”

 

ก็จะคิดตลอดเวลาเลยว่าเหมือนกับเราเดินทางในป่าใหญ่มากเลยและมันก็มืดมิดนะมีความหวังที่ปลายเป้าหมายเป็นความหวังเหมือนกับแสงเทียนเล็กๆที่เราบางทีก็มองไม่เห็น บางทีก็มองเห็นขึ้นมา แต่สิ่งเหล่านี้เราต้องพยายามสร้างกำลังใจตลอดเวลาว่าเราจะต้องไปถึงจุดนั้นให้ได้จะต้องฝ่าฟันไปให้ได้อุปสรรค    มีเยอะมากในช่วงแรกๆ เพราะว่าการที่เราจะไปพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลถ้าเราใช้ความรู้อย่างเดียวในการไปประเมิน มันค่อนข้างยากในการเริ่มต้นเพราะคนไทยไม่ชอบการให้ใครมาประเมิน  คนไทยชอบการให้เกียรติกันดังนั้นในการที่เราเข้าไปเยี่ยมโรงพยาบาลเราจึงจะมี คำพูดที่เราติดปากจนถึงปัจจุบันนี้

 

ว่าเราจะต้องเป็นกัลยาณมิตรเหมือนกับไปช่วยเขาเรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะฉะนั้น HA เราจะใช้คำว่าเรียนรู้มากกว่าในการที่จะใช้คำว่าประเมิน อันนี้เป็นจุดเริ่มแรกที่เราจะต้องข้ามตรงนี้ไปให้ได้

อันที่สอง จะต้องรู้จริงในเรื่องของบริบทของโรงพยาบาล
ก็คือว่ารู้จริงแล้วจะต้องรู้จริงในบริบทในความคิดของผู้คน ความทุกข์ยากของผู้คน ที่เราเข้าไปหาอยู่เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้มันจะต้องผสมกันในระหว่างความรู้ทางด้านวิชาการมาตรฐาน ความรู้ในเรื่องของความทุกข์ของคนทำงาน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องระบบบริหารราชการและความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของโรงพยาบาลมันต้องผสมกันไปหมดเลย

 

อันนี้ก็คือศาสตร์ที่แม่ต้อยเรียกว่าเป็นกัลยาณมิตร และการเป็นกัลยาณมิตรนั้นจะต้องเข้าใจคนอื่นและชี้นำให้คนอื่นเห็นช่องทางที่ดีมากขึ้น อันนั้นเป็นสิ่งที่กัลยาณมิตรทำ

แม่ต้อยมีความเชื่อเสมอเลยว่าโรงพยาบาล นั้นเป็นผู้ที่มีความเก่งมีความรอบรู้เพราะเขาปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลาและเข้าใจบริบทระหว่างเพื่อนในกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มซึ่งทำงานในลักษณะที่ว่า อยู่ใกล้เคียงกันเพราะว่าเค้าส่งต่อคนไข้เค้าปรึกษาหารือกันตลอดเวลา
เราเข้าไปด้วยความตั้งใจดี ปรารถนาดี เราเอาสิ่งที่เรามีซึ่งเราอาจจะคิดว่าไม่มากนัก เอาไปแลกเปลี่ยนกัน จุดเหล่านี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ ทำให้มันค่อยๆขยายความคิดขึ้นมาได้แล้วก็อีกหนึ่งอย่างที่แม่ต้อยเคยบอกน้องๆ ให้เข้าไปในลักษณะที่เป็นเพื่อน ที่อยากจะรับทราบปัญหา หรือว่าไปแลกเปลี่ยนกันด้วยความเรียกว่าสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันมากกว่า แล้วตัวเราเองจะต้องพัฒนาหาความรู้ในเชิงวิชาการให้มากขึ้นมันก็จะเป็นผลดี
ท้ายที่สุดแล้วเราก็จะได้น้องที่มีความกล้า เพราะเราต้องศรัทธาในตัวเขาเชื่อในตัวเขาแล้ว

 

แม่ต้อยก็จะบอกเสมอว่า เราเข้าไป ถือว่าเราเป็นฑูตของ สรพ. เป็นผู้ที่เป็นตัวแทนของ สรพ ที่เข้าไปกระจายเมล็ด แห่งคุณภาพแห่งคุณความดี

ถึงตรงนี้ เราถาม อาจารย์ดวงสมร ตรงๆ  “เหนื่อยไหม?”  “เหนื่อยแต่มีความสุขทุกครั้งตอนนี้ก็ยังมีความสุขถ้าใครเชิญ”

ทำงานที่ สรพ. ตั้งแต่ปี 2543 ต้นๆ จนถึงปี 2556 หรือ 2557 ที่แม่ต้อยเกษียณแล้วยังมีความรู้สึกว่าไม่เคยเหนื่อยเลย มีความรู้สึกว่าเช้าขึ้นมาก็อยากไปทำงานแล้ว อยู่ไหนก็คุยแต่เรื่องงานตลอดเวลาเลย ไม่เคยมีโอกาสทำด้านอื่นของชีวิตเลย ทำแต่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นในทุกกิจกรรมถ้ามันเป็นพลังในชีวิตของเราเนี่ยนะ ทุกๆเรื่องจะลงไปที่งานมันจะไม่คิดเรื่องอื่นไม่มีวันศุกร์แห่งชาติ วันศุกร์วันเสาร์วันอาทิตย์ก็เป็นวันที่มีความหมายต่องานทั้งสิ้น มันมีงานทำไม่รู้จักเลิก จักหยุด จักหย่อน มันมีสิ่งที่จะต้องทำตลอดเวลามันเป็นสิ่งหนึ่งก็คือเรารักเราศรัทธา คำว่ารักในที่นี้คือรัก สรพ. รักโรงพยาบาลต้องรักโรงพยาบาล คนทำงาน สรพ.ต้องรักโรงพยาบาล ถ้าไม่รักโรงพยาบาลเราจะทำแค่ผิว ลงลึกไม่ได้ เราก็แค่ไป instruct บอกเค้า แม่ต้อยว่าถ้าไม่มีความรักนะความเป็นมืออาชีพไม่เกิดขึ้นในการพัฒนาคุณภาพ”

 

สุดท้าย อ.ดวงสมร ฝากข้อคิดดีๆสำหรับทุกคนว่า

“ถ้าสมมุติว่าเราจะพึ่งเทคโนโลยี แม่ต้อยคิดว่า หุ่นยนต์ทำได้ดีกว่าเรา แต่สิ่งที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้ก็คือ ความเป็นมนุษย์ที่เราจะต้องเข้าใจคนอื่น ก็อยากจะให้พลังใจกับน้องทุกๆคน ซึ่งทำคุณภาพอยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือสิ่งหนึ่งที่เล่ามาก็คือ เราทำคุณภาพเราก็จะต้องศรัทธาในสิ่งนั้นเราจะต้องรักในสิ่งนั้นเมื่อมีศรัทธามีรักในสิ่งนั้นรักในคุณภาพแล้วนั้น เราก็จะเห็นว่าคุณภาพนั้น อันที่จริงแล้วเป็นเรื่องง่ายมากเลย  เพราะว่ามนุษย์สามารถทำเรื่องที่ยิ่งใหญ่ กว่าเรื่องของคุณภาพเยอะเลย  มันอาจจะไม่ง่ายมากแต่มันก็ไม่เหลือบากกว่าแรง อยากจะให้สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ติดตัวเราไป เราอยู่ที่ไหนไม่ว่าเราจะอยู่โรงพยาบาลนี้ไม่ว่าเราจะอยู่ที่บ้านเราก็คือคนคุณภาพในทุกลมหายใจจากพลังงานข้างในของเรา ขอให้กำลังใจทุกๆคนเมื่อไหร่ถ้าท้อ  ก็ให้นึกถึงสิ่งที่ดีงามในแง่บวกไว้ค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ”

อาจารย์ดวงสมร บุญผดุง
#QualityTheSeries

Add Friend
Add Line Friend:@hathailand

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here