เหตุการณ์ 13 หมูป่าติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนถือเป็น Mission Impossible ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศของเรา และมีแง่มุมมากมายที่น่าศึกษา ถอดบทเรียน และนำมาสู่การเตรียมการเพื่อเผชิญหน้ากับภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในแง่มุมของบริการสุขภาพ ทีมงานด้านการรักษาพยาบาลได้ทำงานอย่างยอดเยี่ยมในแบบมืออาชีพ สิ่งเหล่านี้โยงกับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4 ในหลายจุด และน่าจะทำให้ทีมงานของโรงพยาบาลนึกภาพของการนำมาตรฐานลงสู่การปฏิบัติได้ง่ายขึ้น
มาตรฐานฉบับที่ 4 |
เหตุการณ์ที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน |
การเข้าถึงและเข้ารับบริการ มีการประสานงานที่ดีระหว่างองค์กรกับหน่วยงานที่ส่งผู้ป่วยมา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อในระยะเวลาที่เหมาะสมและปลอดภัย. |
การดูแลปฐมพยาบาลและการลำเลียง 13 หมูป่ามายังโรงพยาบาล |
ประสิทธิผลของการปฏิบัติการ องค์กรทำให้มั่นใจว่ามีการเตรียมพร้อมของระบบงานและสถานที่ทำงานต่อภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน โดยคำนึงถึงการป้องกัน การบริหารจัดการ ความต่อเนื่องของการให้บริการ การเคลื่อนย้าย การทำให้ฟื้นคืนสู่สภาพเดิม รวมถึงการพึ่งพากำลังคน ผู้ส่งมอบ และพันธมิตร. องค์กรทำให้มั่นใจว่าระบบสารสนเทศมีความมั่นคงปลอดภัยและพร้อมใช้อย่างต่อเนื่อง. |
การเตรียมความพร้อมของทีมแพทย์และพยาบาลในการรับ 13 หมูป่ามาดูแลรักษาที่โรงพยาบาล |
การจัดการความรู้และสารสนเทศ องค์กรทำให้มั่นใจในความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูล/สารสนเทศที่ถ้ารั่วไหลแล้วจะเกิดผลกระทบได้มาก ระบบบริหารเวชระเบียน องค์กรกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อรักษาความลับของข้อมูลและสารสนเทศของผู้ป่วยในเวชระเบียน |
การเรียกขานชื่อผู้ป่วยโดยใช้รหัส “หมูป่า” และการกำชับมิให้มีการเปิดเผยชื่อหรือรูปถ่ายของหมูป่าแต่ละคนในระหว่างการลำเลียงและการรับเข้าสู่หอผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ |
อาหารและโภชนบำบัด ผู้ป่วยได้รับอาหารที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอกับความต้องการพื้นฐานของผู้ป่วย โดยมี ระบบบริการอาหารที่ดี. มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการอาหารและโภชนาการ ตลอดจนมีการดำเนินมาตรการป้องกันที่เหมาะสม. |
มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงของหมูป่าที่อดอาหารมาเป็นเวลาหลายวัน และนำมาสู่การวางแผนการให้อาหารแก่หมูป่าอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อลดความเสี่ยงจากการให้อาหาร |