3P in the Next Chapter

0
1146
3P in the Next Chapter

3P in the Next Chapter

 

3P-Safety สามารถทำได้ภายใต้กลไกที่ต้องมีร่วมกัน

จาก 2P Safety ที่มีการกำหนด Patient Safety และ Personnel Safety โดยมีเป้าหมายความปลอดภัยทั้ง Patient Safety Goals และ Personnel Safety Goals คำถามคือ ทั้ง 2 Goals นี้มีปฏิสัมพันธ์อะไรกัน? ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยทำให้บุคลากรปลอดภัย? และทำอย่างไรให้บุคลากรทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย?

3P in the Next Chapter

เมื่อพูดถึง 3P-Safety สิ่งที่อยากเห็นใน The Next Chapter คือระบบที่ดีต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น เมื่อคนทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ Patient (ผู้ป่วย) , Personnel (บุคลากร) และ People (บุคคลอื่นๆ เช่น ญาติผู้ป่วย) เข้ามาในโรงพยาบาล มีโอกาสที่ Patient และ People จำนวนมากจะนำเชื้อโรคติดตัวเข้ามาทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล ดังนั้นในอนาคตเมื่อคน 3 กลุ่มมาเจอกันจึงต้องมีความปลอดภัย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย (Patient) กับบุคลากร (Personnel) และ People จะเป็นอย่างไร? นั่นคือ P ตัวหนึ่งต้องทำให้เกิดความปลอดภัยกับอีก 2P  ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทั้ง 3P ต้องมี Role & Responsibility คือต้องมีบทบาทและความรับผิดชอบ โดย P แต่ละตัวต้องมีบทบาทเชิงบวกต่อ P ตัวอื่นๆ  โดยต้องมีความเชื่อมโยง และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เช่น patient ต้องมีส่วนในการส่งเสริมให้ personnel และ people มีความปลอดภัย

3P in the Next Chapter

ทั้งนี้บทบาทและความรับผิดชอบที่สำคัญของทั้ง 3P ที่ต้องมีประกอบด้วย

Patient

  • Health literacy : ผู้ป่วยต้องมีความรับผิดชอบในการแสวงหาความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง หมั่นหาความรู้ที่จะทำให้ตนเองปลอดภัย
  • Co-operation : ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือกับโรงพยาบาล
  • Follow Recommendation : ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ

Personnel

  • Academic Services : บุคลากรมีบทบาทในการให้ความรู้ทางวิชาการ ให้คำแนะนำแก่ประชาชนและสังคม
  • Quality Healthcare Services : ให้บริการที่มีคุณภาพ
  • Continuous Professional Development บุคลากรทุกวิชาชีพต้องหมั่นพัฒนาความรู้ และทักษะของตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้ Service Care ดีขึ้น และสามารถให้ความรู้กับผู้คนได้ดียิ่งขึ้นด้วย

People

  • Health literacy
  • Follow Recommendation
  • Comply to Laws&Regulations : กฎหมายต้องเข้มงวด และคนต้องเคารพกฎหมาย
  • Self-discipline : คนต้องมีวินัยในการปฏิบัติตามองค์ความรู้ที่มี นั่นคือรู้แล้วต้องทำ

ตัวอย่างการสร้างความเชื่อมโยงของ 3P

  1. งานวิจัย “Promoting the role of patients in improving hand hygiene compliance amongst health care workers” ตีพิมพ์ใน BMJ เป็นงานวิจัยที่มีการนำ patient เข้ามามีส่วนร่วมใน 3P safety
    โดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการแสดงบทบาทของตนเองในเรื่องของความปลอดภัย ในงานวิจัยจะขอให้ผู้ป่วยทุกคนที่ admit ในโรงพยาบาลสอบถามบุคลากรทางการแพทย์ทุกครั้ง “ว่าล้างมือหรือยัง” เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ ผลการวิจัยพบว่าอัตราการติดเชื้อลดลงอย่างชัดเจน
  1. National Reporting and Learning System (NRLS) เป็นการรายงานความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นเข้าสู่ระบบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันถึง root caused และแนวทางแก้ไข  รวมถึงในบางประเทศยังเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือประชาชนเข้ามามีบทบาทในการร่วมรายงานความผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งต้องมีกลไกในการปกปิดชื่อผู้รายงาน

 บทสรุป The Next Chapter ของ 3P-Safety นอกจากจะต้อง include people เข้ามาในระบบที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วยและบุคลากรแล้ว ยังจะต้อง indentify ความสัมพันธ์ และมี Responsibility ระหว่างกัน
ที่สำคัญคือต้องมีกระบวนการที่จะทำให้ Responsibility เกิดขึ้นจริงๆ

ผู้ถอดบทเรียน ธนิตา พินิชกชกร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐาน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here