3P Safety for Resilience in Healthcare

0
12531

3P Safety for Resilience in Healthcare

Crisis และ Resilience  

Crisis ในภาษาจีนมีได้ 2 ความหมาย “a time of danger” และ “a time of opportunity” เมื่อมีภาวะวิกฤตเกิดขึ้นจึงเป็นโอกาสในการที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำเร็จและความล้มเหลวได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “ความสำเร็จเป็นจุดเริ่มต้นของความล้มเหลว” และในทางกลับกัน “ความล้มเหลวเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ”  ความสำเร็จจึงไม่ใช่ปลายทาง สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อหลังประสบความสำเร็จคือ “productive success” เพื่อเพิ่มโอกาสในการป้องกันความล้มเหลว

“in every crisis lies the seed of opportunity”

Resilience หมายถึง ความสามารถในการฟื้นตัวอย่าวรวดเร็วจากปัญหา คำถามที่ตามมาหลังจากการฟื้นตัว คือ เราควรฟื้นตัวแล้วกลับมาเป็นแบบเดิม หรือดีกว่าเดิม?

Resilience in Healthcare

เมื่อเกิดภาวะวิกฤติในระบบสุขภาพ คือ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลักดันให้องค์กรสุขภาพเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง 3 ประการที่สำคัญ คือ

1. การเปลี่ยนแปลงที่ทำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น

Resilience in Healthcare ส่งผลดีต่อองค์กรสุขภาพใน 6 ประเด็น ได้แก่ 1 Morale improvement (จิตใจสงบพร้อมทำงานต่อ) 2. Employee retention 3. Cost reduction 4. Stress mitigation  5. Job performance improvement และ 6 Employee engagement

2. เครื่องมือที่นำมาปรับใช้ในการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ Design thinking หรือ การคิดเชิงออกแบบ” เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่นำปรับใช้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เป็นกระบวนการ ทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้ (Users) เสนอทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ที่อาจไม่เคยคิดมาก่อน ฝึกให้

ผ่าน 5 ขั้นตอนของ design thinking  ได้แก่ การเข้าใจปัญหา (Empathize)  การกำหนดปัญหาให้ชัดเจน (Define) การระดมความคิด (Ideate) สร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหา  การสร้างต้นแบบที่เลือกทดลอง (Prototype)  และ การทดสอบกระบวนการแก้ปัญหา (Test)

เมื่อนำ design thinking นำมาใช้ในองค์กรสุขภาพ องค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ “คน ระบบ และ เทคโนโลยี

  • คน หรือ Users ซึ่งจะต้องมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ “คน” ไม่ได้หมายถึงแค่ “ผู้ป่วย (Patient) แต่ต้องคิดถึง บุคลากร (Personnel) และ ชุมชน (People & Public) ด้วย ซึ่งเทียบเคียงกับ 3P Safety นั่นเอง ตัวอย่าง กรณีมีการติดเชื้อ covid-19 ในผู้ป่วยที่มารักษาตัวในโรงพยาบาล บุคลากรในโรงพยาบาลได้รับความเสี่ยง  โรงพยาบาลใช้หลักของ design thinking ในการจัดการปัญหา โดยเริ่มต้นทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น (Empathize) ไม่เฉพาะกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่รวมถึงความปลอดภัยของบุคลากร และคำนึงไปถึงโอกาสการแพร่เชื้อสู่ชุมชนด้วย และนำความต้องการของทั้ง 3 ฝ่าย มาออกออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
  • ระบบ โรงพยาบาลมีระบบการบริหารจัดการที่พร้อมรับมือกับปัญหา
  • เทคโนโลยี มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมนำมาใช้ในการแก้ปัญหาสุขภาพ เป็นกระบวนการที่สำคัญ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องเผชิญหน้ากับ viral pandemic ครั้งนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ผลิตวัคซีนอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ หรือการนำเทคโนโลยี มาใช้เพื่อประโยชน์ในการรักษาคนไข้ เช่น การเข้าถึงข้อมูลการรักษาของผู้ป่วย ผ่านบัตรที่ติดตัวผู้ป่วย ไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่ที่ไหนก็ตาม หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานในการควบคุมอาหาร ด้วยการตรวจสอบแคลอรี่หรือปริมาณน้ำตาลจากรูปภาพอาหาร

3. สุขภาพมีหนึ่งเดียว หรือ “One health” สุขภาพคน สุขภาพสัตว์ สุขภาพสิ่งแวดล้อม ล้วนมีผลกระทบต่อเนื่องกัน วิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไม่ใช่ตัวอย่างแรกทำให้เห็นความสอดคล้องของสุขภาพคน สุขภาพสัตว์ สุขภาพสิ่งแวดล้อม มีหลายครั้งที่โรคติดเชื้ออุบัติใหม่จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เกิดการติดเชื้อจากสัตว์ สู่คน หรือ คนสู่สัตว์ ที่ส่งผลให้ ระบบสุขภาพ (Healthcare System) ต้องพัฒนามิใช่ให้มีเพียงคุณภาพ แต่ต้องรวดเร็ว มองให้รอบ และใช้เทคโนโลยีที่แม่นยำ เหมาะสม เพื่อรับมือโรคระบาด และโรคที่มีความซับซ้อน ต่อไป

” ความล้มเหลวเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ ความสำเร็จไม่ใช่  end of the road เพราะฉะนั้นเราต้อง “productive success” “

” ระบบสุขภาพอนาคต : คนจะมีดีทั้งกาย และใจ ระบบสุขภาพไม่ใช่มีแต่คุณภาพ ต้องเติม agility ให้มากขึ้น เพราะฉะนั้นระบบสุขภาพจะคลุม Quality & agility “

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here