Spiritual Healthcare Appreciation & Accreditation (SHA)

0
4922

ระบบบริการสุขภาพของไทยมีการดูแลผู้ป่วยด้วยความเอาใจใส่และเอื้ออาทรเป็นพื้นฐานมาแต่ดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การดูแลผู้ป่วยต้องลงรายละเอียดในมิติของโรค (disease-oriented) มากขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วยในมิติอื่นๆที่ไม่ใช่ทางด้านร่างกาย ได้รับความสำคัญลดลงไป จนในที่สุดส่งผลให้การดูแลรักษาไม่เป็นองค์รวม และมีผลกระทบต่อคุณภาพและความปลอดภัยของการให้บริการ

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) : สรพ. เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมและให้ความสำคัญกับผู้คนที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ญาติ ชุมชน หรือบุคลากรทางการแพทย์ จึงได้จัดทำโครงการ Spiritual Healthcare Appreciation & Accreditation (SHA) ขึ้นในปี 2551 และได้มีการดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแนวคิด/ เครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนามิติด้านจิตวิญญาณในบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่

  1. การฝึกสติและใคร่ครวญเพื่อพัฒนาตนเอง ผ่านการเจริญสติขณะทำงาน ระฆังสติ การรับรู้คุณค่าของงานที่ตนเองทำอยู่ เรื่องเล่าเร้าพลัง (story telling) และการทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์
  2. การฝึกการสร้างความสัมพันธ์ ทั้งในด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) การสำรวจประสบการณ์ของผู้ป่วย (patient experience survey) และการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตไปสู่วิถีสร้างสุข
  3. การดูแลและเยียวยาผู้ป่วย โดยการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา (healing environment) และใช้ศิลปะต่างๆ (เช่น การวาดภาพ ดนตรี การถ่ายทำหนังสั้น) เข้ามาช่วยในการดูแลผู้ป่วย

Photo by Simon Rae on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here