การจัดการห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain Management

0
8365

มาตรฐานฉบับที่ 4 ในหัวข้อ “การปฏิบัติการ” มีการกล่าวถึงขั้นตอนที่เหมาะสมในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าโรงพยาบาลจะได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสูง

โรงพยาบาลหลายแห่งไม่คุ้นชินกับคำว่าห่วงโซ่อุปทาน และสงสัยว่าโรงพยาบาลไม่ใช่โรงงานผลิตสินค้า แล้วจำเป็นที่โรงพยาบาลต้องสนใจกับเรื่องห่วงโซ่อุปทานด้วยหรือ

จริงๆ แล้ว การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นสิ่งที่ทุกโรงพยาบาลต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง ตราบใดที่โรงพยาบาลต้องมีผู้ส่งมอบ (supplier) ที่จะส่งมอบสินค้าหรือบริการ (input) ให้โรงพยาบาล เพื่อให้โรงพยาบาลนำไปจัดกระบวนการดูแลรักษา (process) แล้วเกิดเป็นบริการสุขภาพ (outcome) ที่โรงพยาบาลจะส่งมอบให้ผู้ป่วย/ ผู้รับผลงาน (customer) การไหลของขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทานมีชื่อรู้จักกันในนาม SIPOC model

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่โรงพยาบาลต้องนำเข้า เช่น ยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ น้ำยาตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ส่วนตัวอย่างบริการที่โรงพยาบาลต้องนำเข้า เช่น งานทำความสะอาด งานรักษาความปลอดภัย งานบริการอาหาร

การที่ต้องเพิ่มเติมเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทานเข้าไปในมาตรฐาน ก็เนื่องจากว่า ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลคงเพ่งความสนใจไปที่การจัดกระบวนงานภายในองค์กร (process) ให้ถูกหลักวิชาการและมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่เมื่อโรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพมาถึงระดับหนึ่งแล้ว การควบคุมผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นปัจจัยนำเข้า (input) ให้มีคุณภาพด้วย ก็จะเป็นตัวช่วยเสริมความมั่นใจว่าบริการสุขภาพที่โรงพยาบาลจะมอบให้ผู้ป่วย/ ผู้รับผลงาน จะมีคุณภาพดี

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here