Nursing Role for Stroke Management in NAN
หัวใจสำคัญของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ Nursing process ประกอบด้วย การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis) การวางแผนการพยาบาล (Planning) การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation) และการประเมินผลการพยาบาล (Evaluation) พยาบาลจึงต้องพัฒนาทักษะและศักยภาพการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคโดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนตัวเองเป็น Smart nurse 4.0 เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับงานบริการพยาบาล พัฒนาตนเองให้ก้าวทันโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย พบว่ามีผู้ป่วย stroke รายใหม่และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ที่ไม่สามารถควบคุมได้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นทุกปี มีอัตราตายสูง หรือเกิดความพิการตามมาได้เป็นภาระของครอบครัว
จังหวัดน่าน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบสูงและภูเขาสูง เส้นทางเดินทางคดเคี้ยว ระยะทางจากที่อยู่อาศัยถึง โรงพยาบาลประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เนื่องจากพื้นที่กันดารและเป็นที่ราบสูงประชาชนที่อยู่อาศัยห่างไกลเข้าถึงบริการรักษาได้ยากทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะฉุกเฉินมีอัตราตายสูงโรงพยาบาลน่านจึงได้พัฒนาทักษะความรู้ความชำนาญของทีมสหวิชาชีพเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วย stroke ให้รวดเร็วและปลอดภัยที่สุดเชื่อมโยงการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วย stroke ด้วยความร่วมมือและการช่วยเหลือของกลุ่มงานเวชกรรมสังคมที่พัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบภายในชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงและลดความรุนแรงของโรคเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและประชาชน
พว.วรวรรณ ชำนาญช่าง โรงพยาบาลน่านเปิดให้บริการมาเป็นเวลา 63 ปี มีค่านิยมว่า “ดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มความรู้ความสามารถ ด้วยความระมัดระวังและความปรารถนาดี” มีการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ในจังหวัดเพื่อทบทวนค้นหาปัญหาและหาแนวทางแก้ไขมาโดยตลอด พ.ศ. 2552 พัฒนาศักยภาพของทีม ฝึกอบรมเพิ่มเติม ฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย stroke พ.ศ. 2555 เริ่มให้ยาละลายลิ่มเลือดในโรงพยาบาลน่านผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น ช่วยลดปัญหาความพิการ พ.ศ. 2558 ตั้งเป็นStroke unit ในโรงพยาบาลน่าน มีอายุรแพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยโดยปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญกว่า รับ admit ดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ประเมินอาการ ให้ยาละลายลิ่มเลือดและดูแลภายหลังการให้ยา
ในปี 2561 พบว่ามีผู้ป่วย stroke รายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 700 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วย stroke รายใหม่ มีอัตราส่วนระหว่าง Ischemic Stroke (ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ) กับ Hemorrhagic Stroke (ภาวะหลอดเลือดสมองแตก) เท่ากับ 80:20 มีอัตราเสียชีวิตสูงมากกว่าร้อยละ 7 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรค Hemorrhagic stroke เนื่องจากอุปสรรคเรื่องการเดินทางมารับบริการเกือบร้อยละ50อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ และประมาณร้อยละ 7 มีภาวะโรคหัวใจ AF (Atrial Fibrillation) ทำให้เกิด stroke ขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด stroke คือการสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เมื่อทีมสหวิชาชีพทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วย stroke พบว่าการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แผลกดทับ เป็นต้นทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและบุคลากรมาก จึงเกิดแรงผลักดันให้จัดตั้ง Stroke unit และจัดระบบ Stroke fast track เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยลดลง
ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Nursing Role for Stroke Management in NAN
ถอดบทเรียน กาญจนา เสนะเปรม
ตำแหน่ง หัวหน้างานพัฒนาระบบบริการพยาบาล (ฝ่ายการพยาบาล) โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ
Photo by jesse orrico on Unsplash