ถอดรหัสมัดใจไนติงเกล: THIP the Good in Change

0
4332

ถอดรหัสมัดใจไนติงเกล: THIP the Good in Change

“อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง ทุกคนต้องไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่จุดสุดท้ายของชีวิต เปลี่ยนแปลงแล้วถ้าไม่ดีก็ถอยกลับมาใหม่” (พว.สุดา วิไลเลิศ)

Thailand Hospital Indicator Program (THIP) เป็นระบบการเปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพของ      โรงพยาบาลที่ผู้รายงานจะได้ทราบค่าของตนเปรียบเทียบกับค่า Percentile ของกลุ่ม เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านต่างๆ กับโรงพยาบาลอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน และสามารถค้นหาองค์กรที่มี Good Practice และนำมาแลกเปลี่ยนกัน จากการเปรียบเทียบผลลัพธ์โครงการ THIP มีการคัดเลือกโรงพยาบาล good in Change คือ มีการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มดีขึ้น ในปี พ.ศ. 2560-2561 จากการเทียบเคียงตัวชี้วัด ได้แก่                    1. ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรในองค์กรพยาบาลในภาพรวมของพยาบาลวิชาชีพ (ระดับ 4-5)                  2. ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรในองค์กรในภาพรวมของพยาบาลวิชาชีพ (ค่าเฉลี่ย) ได้แก่ โรงพยาบาลชลบุรี (กลุ่มโรงพยาบาลภาครัฐมีการเรียนการสอน) และโรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร (กลุ่มโรงพยาบาลชุมชน) โดยตัวแทนทีมบริหารการพยาบาลของโรงพยาบาลทั้งสองแห่งได้มาแลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ตลอดจนแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์การใช้ประโยชน์จากการเทียบเคียงตัวชี้วัด เพื่อยกระดับการพัฒนาในบริบทที่แตกต่างกัน

พว.หอมจันทร์ หอมแก่นจันทร์ (โรงพยาบาลราชธานี)                                                                   ในปัจจุบันสังคมองค์กรพยาบาลต้องขับเคลื่อนองค์กรไปให้ถึงเป้าหมาย อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ ตรงประเด็น การจะขับเคลื่อนองค์กรให้ไปตามเป้าหมายได้จำเป็นต้องอาศัยวิชาชีพพยาบาลเนื่องจากเป็นคนหมู่มากในโรงพยาบาล และ เป็นวิชาชีพที่ส่งมอบบริการให้กับผู้ป่วย ครอบครัวและประชาชนโดยตรงด้วยตัววิชาชีพเอง โดยไม่ได้ส่งมอบผ่านวิชาชีพอื่น ดังนั้นจึงมีความกดดัน ความคาดหวังจากสังคมสูงมาก ในสังคมยุคดิจิตอล ยุค 4.0 หรือยุค 2020        มีความคาดหวังต่อการแสดงออกของวิชาชีพพยาบาลต่อผู้ป่วย ดังนั้นการเป็นพยาบาลจึงต้องมีองค์ความรู้ ใช้มาตรฐานในการปฏิบัติงานพยาบาล และดูแลผู้ป่วยด้วยความเต็มใจ ในขณะเดียวกันก็มีปัจจัยต่างๆ ที่จะเป็นปัจจัย เชิงบวกส่งผลให้พยาบาลทำงานได้ดีขึ้น หรือเป็นปัจจัยเชิงลบที่ส่งผลให้พยาบาลทำไม่ได้ตามเป้าหมายที่สังคม  คาดหวัง ในวันนี้จึงเป็นการถอดบทเรียนจากสองโรงพยาบาลที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในเรื่องการบริหาร  การพยาบาลว่า ทำอย่างไรจึงจะมัดใจให้น้องๆ พยาบาลยังเป็นไนติงเกลที่สังคมคาดหวัง และยังคงอยู่ในระบบมีพลังมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน และมีความสุขในงาน

พว.สุดา วิไลเลิศ (โรงพยาบาลชลบุรี)                                                                                  โรงพยาบาลชลบุรี เข้าร่วมโครงการ THIP มีตัวชี้วัดร้อยละความพึงพอใจของพยาบาลซึ่งผลลัพธ์ KPI Value เท่ากับร้อยละ 89.219 ใกล้เคียงกับ Percentile ที่ 75 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 82.378 สิ่งที่โรงพยาบาลชลบุรีให้ความสำคัญ คือ High Quality Nursing Service ซึ่งผลลัพธ์ของบริการที่ดี/เป็นเลิศ ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ 3 ประการคือ 1. Qualified Leadership (ความรู้ความสามารถของผู้นำทางการพยาบาล)                                            2. Effective Nursing Administration Function (การนิเทศและกำกับดูแลทางการพยาบาล) และ Adequate & Competent Nursing Staff (อัตรากำลังและความสามารถของพยาบาล)                                3. Good Nursing Teamwork (ความสามารถในการทำงานและการสื่อสารร่วมกันในทีมและระหว่าง         ทีมดูแลผู้ป่วย)

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี ถอดรหัสมัดใจไนติงเกล: THIP the Good in Change

ผู้ถอดบทเรียน ธนิตา พินิชกชกร

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐาน)                                                โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Photo by Graham Ruttan on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here