HA Quality Transformation Overview

0
4015
HA Quality Transformation Overview

HA Quality Transformation Overview

“ณ วันนี้ การอยู่ที่เดิม คือ การถอยหลัง!” นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล

การเปลี่ยนแปลงแบบ Transformation คือ การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานที่ต้องอาศัยการเปลี่ยน Mindset & Culture ขององค์กร HA Quality Transformation Overview มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือคุณภาพอย่างลึกซึ้งถึงแก่น และปัจจัยสำเร็จของเครื่องมือนั้นจะมีส่วนให้เกิด Transformation ในการพัฒนาคุณภาพขึ้นได้

เครื่องมือคุณภาพ (HA tools) เครื่องมือคุณภาพ (HA tools) คือ ตัวช่วยให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบ มีขั้นตอน มีหลักเกณฑ์ มีหลักคิด เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ดีขึ้นและง่ายขึ้น โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การใช้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์ต้องเข้าใจเป้าหมายว่าเราใช้เครื่องมือนั้นไปเพื่ออะไรและรู้วิธีการว่าเราจะใช้อย่างไรโดยไม่ติดรูปแบบ ในทางตรงกันข้ามหากเราใช้เครื่องมืออย่างไม่ถูกต้องจะทำให้ติดกรอบและทำงานยุ่งยากขึ้น

เครื่องมือคุณภาพกับ 3 คำถามพื้นฐาน เราสามารถนำ 3 คำถามพื้นฐาน มาช่วยให้เราใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ถ้าเรามีความเข้าใจในการใช้คำถามจะทำให้เรามีความแตกฉานในการใช้เครื่องมือ เป็นอิสระ และไม่ตกเป็นทาสของเครื่องมือ สามารถที่จะกุมบังเหียนว่าเมื่อไรเราจะเลือกใช้หรือไม่เลือกใช้เครื่องมือใด เพราะอะไร ยกตัวอย่างการใช้ 3 คำถามพื้นฐานกับเครื่องมือ Control Chart เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ดังนี้

3 คำถามพื้นฐาน

คำอธิบาย

ตัวอย่าง การใช้ 3 คำถาม กับ Control Chart

1) Know WHAT ทำให้รู้ว่าเครื่องมือนี้คืออะไร คำเรียกมีที่มาอย่างไร รู้ว่าเชื่อมโยงกับอะไรได้บ้าง มีเครื่องมืออะไรที่ใช้ทดแทนกันได้บ้าง – Control Chart เป็นเครื่องมือเพื่อทำความเข้าใจ Variation หรือพฤติกรรมของกระบวนการทำงาน/ระบบงาน

– ต้องเข้าใจต่อว่า Variation คืออะไร มีกี่ประเภท เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

(Variation คือ การแกว่ง มี 2 ประเภท คือ การแกว่งแบบปกติ (common cause variation) ซึ่งอาจไม่ต้องดำเนินการใดๆ และการแกว่งแบบมีสาเหตุพิเศษ (special cause variation) ซึ่งต้องหาสาเหตุให้เจอและจัดการกับสาเหตุนั้นให้ได้ หาก special caused variation ไม่ได้รับการจัดการจะทำให้มีโอกาสเกิดซ้ำขึ้นอีกได้)

2) Know WHY เป็นคำถามที่สำคัญที่สุด

รู้เหตุผลว่าเครื่องมือนี้    มีเป้าหมายอะไร พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาอะไร

Control Chart ใช้ในการติดตาม KPI ที่มี Variation หากไม่มี Variation ก็ไม่ต้องใช้
3) Know HOW รู้ขั้นตอนในการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องว่ามีวิธีการใช้อย่างไร สามารถพลิกแพลง หรือใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น หรือเลือกเครื่องมืออื่นมาทดแทนได้อย่างไร การนำ Control Chart ไปใช้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นข้อมูลรายเดือน

เสมอไป แต่ให้ซอยช่วงเวลาจนเห็น Variation ถ้าข้อมูลเป็น 0 ให้ขยายช่วงเวลา หรือใช้ตัววัดอื่นแทน

ปัญหาที่ผ่านมา พบว่า เรามักจะเรียนรู้การทำตามขั้นตอนต่างๆ ของเครื่องมือเป็นสำคัญ และบอกว่าเราทำครบถ้วนแล้วตามเครื่องมือ แต่ตอบไม่ได้ว่าใช้เครื่องมือแล้วทำให้งานของเราดีขึ้นหรือเกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไร และคนทำงานมักไม่กล้าใช้เครื่องมือคุณภาพ โดยเฉพาะเครื่องมือคุณภาพใหม่ๆ “อยากให้คิดว่าเครื่องมือคุณภาพเป็นเพื่อนเรา ทำความรู้จักแล้วก็ใช้ไป อย่าไปกลัวว่าทำแล้วผิด ใช้ไม่ถูกก็ใช้ไป เดี๋ยวก็รู้เองว่าทำไม่ถูก จะได้เรียนรู้ว่าที่ถูกต้องทำอย่างไร” ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้เครื่องมือคุณภาพให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงแก่น เนื่องจากผลสำเร็จของการใช้เครื่องมือนั้น จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบ Transformation ซึ่งต้องอาศัยการเปลี่ยน Mindset & Culture ขององค์กร

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี HA Quality Transformation Overview

ถอดบทเรียน รุ่งนภา ศรีดอกไม้

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (กง.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน) โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

Photo by Andy Beales on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here