สรพ. ได้จัดประชุม The First Global Patient Safety Day เมื่อวันที่ 16 – 17 กันยายน 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศและแสดงเจตนารมณ์ขับเคลื่อนเรื่อง Patient Safety ร่วมกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
“Safety Concern in All Actions … ทำอย่างไรให้ทุกๆ วัน เป็นวันที่ผู้ป่วยปลอดภัย” มีเครื่องมือสำคัญ 2 อย่างที่จะช่วยให้ทำ RCA อย่างมีประสิทธิภาพ คือ 1) การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ โดยใช้ Driver Diagram เพื่อให้เข้าใจและหลุดจากกรอบคิดเดิม และ 2) การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ (New Technology) เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ในการแก้ปัญหา ดังเช่น Innovation for 2P Safety ที่โรงพยาบาลทั้ง 12 แห่งที่ได้พัฒนาขึ้นและจัดนิทรรศการในงานนี้ นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี ผอ.สรพ.
“Safety, A lot More to Learn” การปรับมุมมองความปลอดภัยในการดูแลสุขภาพแบบยืดหยุ่น จาก Safety I ที่มุ่งการลดจำนวนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ มุ่งเน้นเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด ไปสู่ Safety II ที่สามารถประสบความสำเร็จภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยมุ่งเน้นเรียนรู้จากสิ่งที่ถูกต้องและความสำเร็จ โดยใช้เครื่องมือ FRAM (Functional Resonance Analysis Method) นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สรพ
Patient Safety ต้องเป็นวาระแห่งชาติ” ขอเชิญชวน “Speak Up พูดเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้รับบริการ…พูดให้ดังพอที่จะได้ยิน โดยไม่ต้องกลัวหรือลังเลใดๆ” ช่วยกันพูดความจริง 10 ประการเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วย (10 Facts on Patient Safety WHO, 2019) ประเทศไทยพบอุบัติการณ์ที่ถึงตัวผู้ป่วย ร้อยละ 8.49 ของ รายงานทั้งหมด มากที่สุด คือหมวด Emergency Response, Infection and Prevention Control และ Safe Surgery ส่วนบุคลากรมีอันตรายถึงตัว ร้อยละ 4.62 ของรายงานทั้งหมด มากที่สุด ได้แก่ Infection ….ดังนั้นจงอย่ายอมแพ้ ร่วมกันสู้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ รอง ผอ.สรพ.
ภาพโดย Photo by Oleg Laptev on Unsplash