Building a Smart Nursing in a Changing World

0
3966
Building a Smart Nursing in a Changing World
Building a Smart Nursing in a Changing World

Building a Smart Nursing in a Changing World

“การปฏิบัติการพยาบาลที่มีประสิทธิผลย่อมมาจากการบริหารการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ”              (จักษณา ปัญญาชีวิน)

“ทุกปัญหามีทางออกที่สามารถจัดการได้ ปัญหากับความท้าทายต่างกันที่ความคิด”                     (มธุรส ภาสน์พิพัฒน์กุล)  

ความเข้มแข็งองค์กรพยาบาล เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร จากสถานการณ์ที่มีภาระงานที่มีปริมาณมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นงานหลัก งานนโยบายใหม่ที่ต้องดำเนินการและในทุกระบบงานก็ต้องมีพยาบาลเข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งระบบบริหารความเสี่ยง หรือกระบวนการพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนและมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายในสถานการณ์ปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามและความตั้งใจที่ผู้บริหารทางการพยาบาลและบุคลากรทางการพยาบาลสามารถจัดบริการที่มีคุณภาพ โดยมุ่งเป้าให้ความปลอดภัยของผู้ป่วย

พัทธ์ธีรา อัมพรศรีสุภาพ                                                                                                มาตรฐานองค์กรพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดบริการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ การบริหารการพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาล แต่จากประสบการณ์การเยี่ยมสำรวจโรงพยาบาลพบสถานการณ์เกี่ยวกับ nursing process ที่พยาบาลไม่สามารถใช้ APIE ในการปฏิบัติการพยาบาลได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดจากภาระงานจนไม่สามารถเขียนบันทึกทางการพยาบาลที่สะท้อนตามมาตรฐานการพยาบาลได้ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการบริหารการพยาบาล ดังนั้นการบริหารการพยาบาลในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงจึงควรบริหารบุคลากรการพยาบาล เพื่อที่จะทำให้พยาบาลเป็น Smart Nurse จึงจะทำให้บรรลุภารกิจขององค์กรในยุคปัจจุบันได้

จักษณา ปัญญาชีวิน                                                                                                         Be C Suite Advocates ผู้บริหารการพยาบาลต้องมีระบบการบริหารการพยาบาลที่ประสานความร่วมมือ จากกรอบมาตรฐานการกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลจะเห็นว่า การปฏิบัติการพยาบาลที่มีประสิทธิผลย่อม มาจากการบริหารการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. มีผู้นำทีมการพยาบา 2. บุคลากรทางการพยาบาล 3. โครงสร้างและกลไกที่มีประสิทธิผล 4. การประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการระดับองค์กร 5. การบริหารความเสี่ยงความปลอดภัยคุณภาพ 6. การประเมินระบบการบริหารการพยาบาลตามผลลัพธ์ของปฏิบัติการพยาบาล                      ผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาล ประกอบด้วย ความปลอดภัยของผู้ป่วย การบรรเทาความทุกข์ทรมาน การได้รับข้อมูลและการเรียนรู้ ความสามารถในการดูแลตนเอง การเสริมพลังและความพึงพอใจ

มธุรส ภาสน์พิพัฒน์กุล                                                                                                        Be Proactive Leaders ตามความคาดหวัง คือ ต้องใช้ข้อมูลเป็น วิเคราะห์เป็น และคาดการณ์ได้ ดังนี้ Data and Information Analysis                                                                                                1. ถามตนเองก่อนว่าเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ใด? (ควร change โดยถามตนเองก่อน)                                  2. การจัดเก็บ รวบรวม และตรวจสอบข้อมูล (ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา)                                                 – ควรออกแบบวิธีจัดเก็บใหม่ในระดับหน่วยงาน/ระบบ/องค์กร พิจารณาข้อมูลใดที่มีการใช้ร่วมกัน และออกแบบโดยใช้มุมมองของ customer ในการเก็บข้อมูลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยพิจารณาจาก 1) มีคุณค่าต่อผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงาน 2) ไม่มีคุณค่าแต่จำเป็นต่อ process สำคัญของระบบ เช่น ตามแนวคิด Patient Safety Goal 3) ไม่มีคุณค่าและไม่จำเป็น (ใช้ lean process ได้)                                                                      – ตรวจสอบข้อมูลเพื่อความชัดเจน ความถูกต้อง และความเข้าใจเรื่องข้อมูลว่าตรงกันหรือไม่?                        3. การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ                                                                                   – การจัดแบ่งข้อมูลคือการแยกข้อมูลใหญ่เป็นข้อมูลย่อยตามบริบทเพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์การใช้หรือเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ได้แก่ สถิติ (แยกตามช่วงเวลา โรค สาขา) ระดับหน่วยงาน (ใช้พัฒนางานตามเป้าหมาย ตามระดับนโยบาย หรือความร่วมมือ) ผลการทบทวน การให้บริการ หรือ IND system เช่น Part IV, Risk, PCT, HR, INV อัตรากำลังพยาบาล (อายุ/generation gap/การศึกษา/จัดอัตรากำลังตามภาระงาน ตามช่วงเวลา) นำข้อมูลมาเปรียบเทียบ/คาดการณ์ ผลการทบทวนความเสี่ยง (IR, AE) การให้บริการ หรือ indicator ของระบบ เช่นใน Part IV ได้แก่ Risk, PCT, HR, ENV & EQIP/ME                                                                      – การจัดเรียงข้อมูล ควร set priority (เรียงลำดับ) เพื่อความ accuracy และทันเวลา                                – การสรุปผลข้อมูลโดยมีหลักคิดคือ 1) วิเคราะห์จากเป้าหมาย (เปรียบเทียบผล) 2) เปรียบเทียบกับ trend (เป็น QA) ควรมีการวิเคราะห์ตัวชี้วัดที่คร่อมระหว่างระบบงาน เช่น สถิติผู้ป่วยต้องสัมพันธ์กับอัตรากำลัง (เพื่อออกแบบการจัดอัตรากำลังใหม่) 3) การเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดที่เก็บ/เปรียบเทียบองค์กรอื่นๆที่มีระดับเดียวกัน/กับคนที่เก่งที่สุด

ดวงกมล นำประทีป                                                                                                  Empower your Nurse การบริหารบุคลากรทางการพยาบาลจะสามารถบริหารให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 1. Personal Data Management คือ การจัดการ data ให้เป็น information ทั้งข้อมูลผู้ใช้บริการและ ผู้ให้บริการ คือ บุคลากรทางการพยาบาลซึ่งได้แก่ข้อมูลด้าน generation gap ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านวิธีคิด วิธีการทำงาน เป้าหมายและความต้องการเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการ หรือความแตกต่างด้านความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ 2. Resource Advocate เพื่อนำข้อมูลมาเชื่อมโยง จัดอัตรากำลังแบบยืดหยุ่นสอดคล้องกับภาระงานและความต้องการของบุคลกร ซึ่งการบริหารจัดการสามารถจัดได้ในระดับหน่วยงาน (OPD, ward) หรือมีการเชื่อมโยงข้อมูลจัดการในภาพรวมขององค์กร 3. Skill Management การพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถและต้องมีการวางแผนการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการจัดบริการที่หลากหลายขององค์กร

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Building a Smart Nursing in a Changing World

ถอดบทเรียน วาศินี อ่อนท้วม

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์

ภาพโดย Peggy und Marco Lachmann-Anke จาก Pixabay

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here