Benchmarking for healthcare x THIP

0
3818
Benchmarking for healthcare x THIP
Benchmarking for healthcare x THIP

Benchmarking for healthcare x THIP

Cost กับ Quality มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด …. Quality ดี cost ต่ำ” (รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์)

Benchmarking คือ วิธีการในการวัดและเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบพัฒนามุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยกระบวนการ benchmarking นำไปสู่การค้นหาผู้ที่เป็นต้นแบบที่ผู้อื่นจะใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของตนเอง (benchmark) เรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือนำให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ

รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์                                                                                                  การติดตามตัววัด โดยเฉพาะในเรื่องของการเทียบเคียงเพื่อการพัฒนา หรือ benchmarking เป็นองค์ประกอบสำคัญและเป็นวิธีการสำคัญที่โรงพยาบาลที่พัฒนาคุณภาพต้องใช้เพื่อยกระดับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วยทิศทางของการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) ในอนาคตต้องสนใจผลลัพธ์หรือ outcome ว่าทำได้แค่ไหนอย่างไร การเทียบเคียงจึงมีความสำคัญมาก                                                                    Benchmarking เป็นกระบวนการที่นำเอาเรื่องของคุณภาพมาเทียบเคียงกันโดยผ่านระบบการวัด (measurement of the quality) เมื่อเทียบเคียงกับสิ่งที่เหมือนกันหรือคล้ายกันในกลุ่มพวกเดียวกันจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ตัวอย่างเช่น เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ กล่าวถึงระดับเทียบเคียงว่าเป็นเรื่องของการนำกระบวนการหรือผลลัพธ์มาเทียบเคียงกันเพื่อจะดูว่าใครมีผลงานที่ดีกว่า หรือมีผลงานที่เป็นเลิศ นำไปสู่การปรับปรุงการทำงานภายใต้บริบทของเราโดยเรียนรู้จากผู้ที่ทำได้ดีกว่า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการ benchmarking

รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์                                                                                                วิทยากรได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในมุมมองของผู้บริหารที่ใช้การ benchmark ในการยกระดับการพัฒนาคุณภาพ  โดยยกตัวอย่างเว็ปไซด์ Amerinet ซึ่งกล่าวถึง The burdens of benchmarking เป็นการวิเคราะห์ว่าทำไมคนถึงไม่อยากทำ benchmarking และได้อธิบายที่มาของคำว่า Benchmarking ว่ามีที่มาจากการวัดรองเท้า โดยใช้เครื่องมือวัดขนาดเท้าที่เรียกว่า “bench” เพื่อวัดขนาดรอยเท้า เรียกว่า “benchmarking” ทั้งนี้ Benchmarking ถูกใช้ในวงการอุตสาหกรรมอื่น มาตั้งแต่ปี 1970 แต่ใน healthcare เพิ่งถูกนำมาใช้ช่วงปี 2000 เมื่อนำมาใช้จริงพบว่าการเปรียบเทียบผลการดำเนินการขององค์กรเทียบกับองค์กรอื่นนั้นดูเหมือนจะง่าย    แต่อาจมีคำถามตามมามากมายจนอาจเป็นเหตุให้การ benchmark นั้น ไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น บางองค์กรมีตัวชี้วัดนับร้อยตัว แต่เราไม่รู้ว่าจะ benchmark อะไร ดังนั้นจึงควรเริ่มจากการที่ผู้นำต้องเห็นความสำคัญ และ Clinical lead team ต้องอยากที่จะพัฒนาตนเองก่อน  แล้วเลือกตัววัดจากกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่สำคัญ 1-2 ตัว เข้าสู่กระบวนการ benchmarking ทั้งนี้โครงการ THIP เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่หาคู่เทียบให้โรงพยาบาลต่างๆ แต่กระบวนการ benchmarking จะมี best practice นำเสนอให้ได้เรียนรู้ แต่จำเป็นต้องเจาะลึกในรายละเอียด      จึงจะสามารถนำมาปรับใช้ได้

นพ.ทรนง พิลาลัย                                                                                                              จากประสบการณ์ในการทำงานโครงการ THIP (โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเปรียบเทียบวัดระดับคุณภาพ      โรงพยาบาล: Thailand Hospital Indicator Project) และประสบการณ์ในการเยี่ยมสำรวจโรงพยาบาล พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมายังไม่ค่อยมีโรงพยาบาลที่มีการนำข้อมูลผลการดำเนินงานในรายงานการประเมินตนเองตอนที่ 4 ไปใช้เปรียบเทียบ จึงเป็นโอกาสพัฒนาว่าในมุมมองของการพัฒนาคุณภาพ จะบูรณาการเรื่องของการพัฒนาคุณภาพ กับการใช้มาตรฐาน และการการเรียนรู้อย่างไร                                                                            กระบวนการทำ Benchmarking นำไปสู่การค้นหาผู้ที่เป็น Benchmark ซึ่งโครงการ THIP จะช่วยให้เราทราบว่าจากผลลัพธ์การดำเนินงานในปัจจุบันเราอยู่ตรงไหน และใครคือผู้ที่ปฏิบัติได้ดีที่สุด เมื่อทราบแล้วจึงเกิดกระบวนการเรียนรู้จากวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practice) นั้น มีการสกัดเคล็ดลับของการปฏิบัติที่ดีที่สุดแล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กรเรา นอกจากนี้ยังพบว่าหลายโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ THIP แล้วมีผลลัพธ์การดำเนินงานที่ดี เป็น best in change นั้นมีการกำกับติดตาม มีการใช้ control chart ในการ monitor กำกับติดตามกระบวนการจนมั่นใจว่าผลลัพธ์การดำเนินงานที่ดีนั้นเป็นฝีมือของทีมงานจริงๆ

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Benchmarking for healthcare x THIP

ถอดบทเรียน ธนิตา พินิชกชกร

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐาน)                                                โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ภาพโดย ar130405 จาก Pixabay

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here