สร้างคน สร้างงาน สร้างคุณภาพชีวิต
“ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง ภาคภูมิใจ ที่ทำเพื่อประเทศไทย” (รอหีม หาญทะเล)
“สร้างศรัทธา สร้างการมีส่วนร่วม และเป็นเจ้าของร่วมกัน” (วุฒิพงษ์ สุภัควนิช)
“อยู่ที่ไหนก็ทำแต่สิ่งที่ดีๆ ใช้ศักยภาพของตนเอง ทำงานกับผู้อื่นด้วยหัวใจ และสามารถสร้างสังคมที่อบอุ่น สังคมดีได้ด้วยมือของทุกคน” (สิริดนย์ น้าวิไลเจริญ)
การสร้างคน สร้างงาน สร้างคุณภาพชีวิต เป็นสิ่งที่ทุกคนเชื่อมโยง ร่วมมือกันจากทุกคนในพื้นที่จึงจะประสบผลสำเร็จ ไม่หาผลประโยชน์ให้ตัวเอง แต่ทำด้วยใจรัก ทำเพราะอยากให้สังคมดีขึ้นและมีความสุข
รอหีม หาญทะเล สร้างคน คือ การสร้างให้ “รอหีม หาญทะเล” ที่เป็นชาวเลคนแรกได้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการศึกษาตามอัธยาศัย ด้วยความรักการเรียนคุณครูจึงได้หาทุนการศึกษาต่อให้ จากนั้นได้รับทุนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เพื่อเรียนเป็นผู้ดูแลสุขภาพ 1 ปี (แค่ 1 ปี) โดยมีพี่เลี้ยงช่วยเหลือในเรื่องการสื่อสาร การเรียนทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และการฝึกปฏิบัติ สร้างงาน หลังเรียนจบได้กลับไปทำงานที่เกาะบุโหลน อำเภอละงู จังหวัดสตูล ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากพี่น้องชาวเล การทำงานที่เป็นทั้งผู้ให้การรักษาพยาบาล ผู้ส่งต่อผู้ป่วยทางเรือ ให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย ให้คำปรึกษาในทุกๆ ด้าน ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยว ทำทุกอย่างคนเดียว (มีหมอน้อยทั้งหมด 3 คน รวมรอหีม ทำภายใต้การดูแล และให้คำปรึกษาของแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลละงู โดยระบบสื่อสารทางเทเลเมดิซิน (Telemedicine) ปัจจุบันใช้ระบบไล (Line) ร่วมด้วย รู้สึกมีความภาคภูมิใจที่ได้ทำด้วยใจ เพื่อพี่น้องชาวเกาะ บุโหลน ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง แต่ทำเพื่อประเทศไทยที่ตนเองรัก สร้างคุณภาพชีวิต ได้ให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตประจำวัน เนื่องจากชาวเลบนเกาะบุโหลน รับประทานอาหารที่มีรสเค็ม รับประทานอาหารทะเล พบว่า พี่น้องชาวเลมีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงจึงได้แนะนำปรับเปลี่ยนวิถีการรับประทานอาหาร ทำให้ชาวเลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วุฒิพงษ์ สุภัควนิช บทบาทหน้าที่เป็นนายอำเภอ ที่ได้สัมผัสการทำงานของหมอครอบครัว ที่ทำงานอย่างโดดเดี่ยว ได้เชื่อมโยงทุกภาคีที่เกี่ยวข้องแต่ละภาคส่วนให้มีแรงจูงใจที่จะทำงานร่วมกัน อีกทั้งได้แรงบันดาลใจจากเจ้าอาวาสวัดตากฟ้าพระอารามหลวง จังหวัดนครสวรรค์ ได้ให้โอวาท คำสั่งสอนว่า ”อย่าลืมถิ่นเกิด อย่าลืมถิ่นที่ให้อาศัย อย่าลืมถิ่นที่ให้ความรู้” ซึ่งได้จุดประกายว่าการรับราชการนั้น อยู่ที่ไหนก็ต้องทำงานเพื่อให้ประชาชนมีความสุข การสร้างงานต้องเริ่มต้น จากการสร้างศรัทธา มุ่งมั่น ตั้งใจ สร้างการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของร่วมกัน สานต่อความต่อเนื่อง กับทุกๆ ภาคส่วน โดยการตั้งกองทุนที่ให้ทุกคนเป็นเจ้าของ เป็นสัญลักษณ์ของการเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน สร้างความเป็นเจ้าของ ทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน โดยยึดคติว่า “ทำงานโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
สิริดนย์ น้าวิไลเจริญ การดูแลประชาชนมีหลายมติ บนพื้นฐานของปัญหาของแต่ละพื้นที่ การสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่สามารถเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ประสบผลสำเร็จ ภายใต้ความร่วมมือของการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้าน การแก้ปัญหาของประชาชนคือต้องฟังเสียงประชาชนในแต่ละพื้นที่นำปัญหามาแก้ไขร่วมกัน จะทำให้คุณภาพชีวิต มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ การมีเครือข่ายตั้งแต่ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอและจังหวัด สามารถแก้ปัญหาของพื้นที่ สร้างกลไกให้ประชาชนไม่ป่วย ดูแลสุขภาพตนเองได้ คนอำเภอเดียวกันไม่ทอดทิ้งกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง คนไทยดูแลกันเองได้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่ากฎหมายบังคับใช้ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่กฎสังคมจะดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จได้ ด้วยคนอำเภอเดียวกัน มองปัญหาเดียวกัน จะเห็นความสามัคคีของคนในพื้นที่ช่วยกันแก้ปัญหานั้นๆ
ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี สร้างคน สร้างงาน สร้างคุณภาพชีวิต
ถอดบทเรียน สุนิดา แสงย้อย
ตำแหน่ง หัวหน้าพยาบาล (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ) โรงพยาบาลปทุมราชวงศา
ภาพโดย https://stocksnap.io/photo/KWVTIEAN3M